ปัญหาโรคหัวใจของคนไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง คือ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โรคหัวใจชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมาก คือ โรคหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง
ผู้มีอาการเจ็บหน้าอก ใจเต้นสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นผู้ที่มีอาการน่าสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ การจะทราบว่าเป็นจริงหรือไม่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือเกี่ยวกับโรคหัวใจโดยเฉพาะ เช่น เครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงชนิดสี เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พกติดตัวได้ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ
สาเหตุ และอาการ
เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอุดกั้น หรืออุตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม ถ้าเป็นมากจะเพลียมาก เหงื่อออก เป็นลม ใจสั่น จนถึงเสียชีวิตแบบกระทันหันได้ เพราะคราบไขมันมาเกาะทำให้ผนังภายในหลอดเลือดพอกหนาขึ้นทิ้งไว้นาน ๆ จะอุดตันเข้ามาภายในหลอดเลือด ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการมาก เจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาล เพราะแพทย์จะได้ช่วยชีวิตไว้ได้ทันท่วงที
ปัจจัยเสี่ยง
ตัวเร่งการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น
|
1. |
โรคความดันโลหิตสูง |
|
2. |
ีไขมันในเลือดสูง |
|
3. |
การสูบบุหรี่ |
|
4. |
โรคเบาหวาน |
|
5. |
โรคอ้วน |
|
6. |
ความเครียด |
|
7. |
การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ |
|
8. |
ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป |
|
9. |
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นโรคนี้มีโอกาสมากกว่า |
การรักษา
หลังจากที่ได้ตรวจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคหัวใจ การรักษาก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาเสมอไป แต่แพทย์อาจจะแนะนำวิธีปฏิบัติตัว และนัดให้มาตรวจเพิ่มเติมอีกในระยะเวลาที่เหมาะสมท่านที่เป็นโรคหัวใจจะต้องปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เช่น
|
1. |
งดสูบบุหรี่ |
|
2. |
งดรับประทานอาหารเค็ม |
|
3. |
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ |
|
4. |
ลดความเครียด |
|
5. |
พักผ่อน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ |
|
6. |
รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างต่อเนื่องตลอดไป |
เมื่อเริ่มรักษาด้วยยา ท่านควรมาตรวจตามที่นัดอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจต้องเพิ่ม หรือลดขนาดยาตามความจำเป็น ถ้าใช้การรักษาทางยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรืออาการของโรคทรุดลง ก็จะปรึกษาศัลยแพทย์โรคหัวใจเพื่อรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป
ในกรณีที่รักษาทุกวิธีแล้วยังไม่หายขาด หรือไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา เช่น ในกรณีที่มีการอุดตันของหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัดโรคหัวใจในประเทศไทย มีความปลอดภัย และได้ผลดีทัดเทียมกับต่างประเทศ
การผ่าตัดหัวใจทำได้ 2 วิธี คือ ผ่าตัดภายนอกหัวใจวิธีนี้ไม่ต้องให้หัวใจหยุดทำงาน อีกวิธีหนึ่งคือ การผ่าตัดเปิดหัวใจ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เย็บปิดรูภายในหัวใจ ต่อหลอดเลือดเข้าหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องหัวใจ และปอดเทียม ทำหน้าที่แทนหัวใจ และปอดของผู้ป่วย ขณะแพทย์เปิดหัวใจทำการผ่าตัด แพทย์ และพยาบาลต้องได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ ให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นระยะเวลานาน ทำให้ไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงจะปลอดภัยในการผ่าตัด
|