หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคหลอดเลือดหัวใจ

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุปนิสัยการบริโภคและการปฏิบัติตนของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พบว่าอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของเมืองไทย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

 
•
สูบบุหรี่
•
เครียด
 
•
มีความดันโลหิตสูง
•
ไม่ออกกำลังกาย
 
•
มีไขมันในเลือดสูง
•
สตรีหลังหมดประจำเดือน
 
•
เป็นโรคเบาหวาน
•
สตรีที่กินยาคุมกำเนิด
 
•
มีน้ำหนักตัวเกินปกติ อ้วน
•
กินอาหารเค็ม

ผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบ อาจมีอาการแสดงได้หลายแบบ ได้แก่

 
1.
เจ็บแน่นหน้าอก เป็นๆ หายๆ คล้ายช้างเหยียบ
 
2.
เหนื่อยง่าย
 
3.
ไม่มีอาการใดๆ แต่ทราบจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
 
4.
จุก แน่นท้อง คล้ายโรคกระเพาะ

อาการเจ็บแน่นหน้าอก จากหัวใจ

เจ็บแน่นหน้าอกมีลักษณะจำเพาะ เจ็บตื้อๆ แน่นๆ หรือ หนักๆ ตำแหน่งที่เจ็บเป็นที่กลางอกใต้กระดูกหรือเยื้องมาทางซ้าย อาจร้าวไปที่ข้อศอก หรือแขน คอ กราม ระยะเวลาที่เจ็บนานประมาณ 3-5 นาที ถ้าหากเจ็บนานเกิน 30 นาที อาจเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ ซึ่งจะมีอาการ

 
1.
เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามือคล้ายจะเป็นลม
 
2.
เหนื่อย หายใจลำบาก
 
3.
หัวใจวาย หมดสติถึงแก่ชีวิต

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 
•
ใช้ยา เช่น ยาลดการบีบตัวของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมความดันโลหิตสูง ยายับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ยาลดไขมันในเลือด
 
•
การเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง ปัจจุบันมี 2 วิธี
 
1. การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด
 
2. การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ/การผ่าตัด Bypass หลอดเลือดหัวใจ

การปฏิบัิติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

 
1.
รับประทานอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกายให้ครบ 5 หมู่ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารไขมันสูง อาหารที่เค็มจัด หวานจัด ควรรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ให้มากๆ
 
2.
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรทำวันละ 20-30 นาที และ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
 
3.
ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
4.
ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสอยู่เสมอ อย่าเครียดนานๆ
 
5.
ควรตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยง และสามารถบอกแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
 
6.
ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
7.
งดบุหรี่ เหล้า และสารเสพติดทุกชนิด
 
8.
อย่าให้อ้วย โดยเฉพาะอ้วนลงพุง

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของทุกชีวิต คุณจะไม่เสียเวลาและจะไม่เสียใจเลย ถ้าใส่ใจกับการดูแลสุขภาพของหัวใจเสียบ้าง อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ

 
       
    แหล่งข้อมูล : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว
 
อาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจ
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
ไขมันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ/หัวใจกับไขมันในกระแสเลือด
 
คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.