หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ไขมันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ/หัวใจกับไขมันในกระแสเลือด
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
 
•
ไขมันในกระแสเลือด อาจแบ่งได้ง่ายๆ เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ
 
 
1.
โคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ซึ่งเป็นผลรวมของโคเลสเตอรอล 2 ชนิด
 




แอล-ดี-แอล (LDL Cholesterol : Low density lipoprotein) เป็นส่วนสำคัญของโคเลสเตอรอลรวม ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป หรือได้มากจากไขมันสัตว์โดยตรง และเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมีมากในไขมันสัตว์ทุกชนิด ไข่แดง และเครื่องในสัตว์
 


เอช-ดี-แอล (HDL-C : High density lipoprotein) เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง มีหน้าที่จับโคเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายไปทำลายที่ตับ ถ้าระดับ HDL-C นี้สูง จะมีผลทำให้โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคหลอดเลือดเสื่อมต่างๆ ลดลง ระดับ HDL-C จะเพิ่มได้ด้วยการออกกำลังกาย
 
2.
ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) : ไขมันนี้อาจเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และอีกส่วนเกิดจากการสังเคราะห์ในร่างกายจากน้ำตาลและแป้ง ในคนอ้วนระดับ Triglyceride มักจะสูง แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าไขมันตัวนี้ เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ ถ้าพบว่ามีระดับสูงมากหรือสูงในคนที่มีโคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้วจะเป็นอันตรายได้
 

•

การที่มีระดับ LDL-C ในเลือดสูง ทำให้การซึมผ่านของโคเลสเตอรอลเข้ามาอยู่ใต้ชั้นผนังหลอดเลือดแดงยิ่งมีปริมาณมากขึ้น และทำให้เกิด foam cell ขึ้นจำนวนมากมาย foam cell เหล่านี้ เมื่อกินโคเลสเตอรอลเข้าไปในตัวมากก็จะแตกตัวและปล่อยสารพิษต่อผนังหลอดเลือดออกมา ทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อนานขึ้นผนังหลอดเลือดก็จะหนาตัว จนทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงมา และหากมีจำนวน foam cell อยู่ภายในเป็นปริมาณมาก จะทำให้ผนังหลอดเลือดปริแตกได้ง่าย จากนั้นเกล็ดเลือดซึ่งอยู่ภายในกระแสเลือดจะมาเกาะรวมตัวกันบริเวณผนังหลอดเลือดที่ปริแตกจนเกิดลิ่มเลือดขึ้น ซึ่งลิ่มเลือดนี้เองจะไปอุดตันหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งนำไปสู่การเต้นผิดจังหวะของหัวใจที่เป็นอันตรายและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตกะทันหันได้
 
•
การควบคุมระดับ LDL-C ให้ลดลง
 
 
1.
การควบคุมอาหาร
 
•
หลีกเลี่ยงอาหารพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ส่วนที่ติดมันทุกชนิด สมองสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เช่น หอยนางรม ปลาหมึก
   
•
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน หากเป็นอาหารประเภททอด เจียว ควรใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์ เช่น เนย หรือ น้ำมันหมู ที่สกัดจากเมล็ดพืชเนื่องจากจะมีกรด Linoleic acid ที่เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญได้ดี
   
•
หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว กะทิ
   
•
ควรดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมที่มีไขมันเต็มส่วน
   
•
พยายามเปลี่ยนแปลงการปรุงอาหารเป็น นึ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการทอดหรือผัด
   
•
พยายามลดน้ำหนักตัวในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน
   
•
ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่มีกากใย เช่น ผักคะน้ำ ผักกาด ฝรั่ง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันน้อยลง
 
2.
การออกกำลังกาย : จะทำให้ระดับ LDL-C ในเลือดลดลง ขณะเดียวกันระดับ HDL-C จะสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมช้าลงและป้องกันการอุดตันอย่างเฉียบพลันได้ด้วย
 
3.
การใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด
 
       
    แหล่งข้อมูล : หนังสือ - เป็นโรคหัวใจทำอย่างไรดี  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว
 
รักหัวใจ ใส่ใจโคเลสเตอรอล
 
คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ
 
เมื่อหัวใจต้องไปเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง
 
ความดันโลหิตสูง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.