หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ฟาสต์ฟูด โรคอ้วน โรคเบาหวาน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ปัจจุบัน โรคเบาหวาน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันหาทางป้องกัน และแก้ไข ขณะนี้ มีผู้เป็นโรคเบาหวานประมาณ 1,700,000 คนในประเทศไทย หรือประมาณเกือบร้อยละ 3 ของประชากร และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกกลุ่มอายุ

โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรก ที่ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคของหลอดเลือดตีบตันได้ ในทุกส่วนของร่างกาย เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตจากเส้นโลหิตสมองตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้าอุดตัน และยังเป็นสาเหตุของตาบอด จากทั้งเบาหวานขึ้นตา และต้อกระจกอีกด้วย

อาหารประเภทฟาสต์ฟูดจากตะวันตก ก็มีส่วนทำให้เกิดความอ้วนได้ง่าย และจะนำมา ซึ่งสาเหตุการเพิ่มจำนวนของเบาหวาน ที่เกิดขึ้นกับเด็ก เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รายงานว่า จากจำนวนเด็ก 200 คน ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 15 ปี ตรวจพบว่าเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานที่เกิดขึ้นฉับพลัน และต้องใช้อินซูลิน) เพิ่มทุกปี

จากการสำรวจยังพบว่า เด็กอายุระหว่าง 8 – 12 ปี จำนวนมาก เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานที่เกิดช้า ไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน) ซึ่งเบาหวานประเภทนี้ น่าจะเกิดกับผู้ใหญ่มากกว่า และที่น่าวิตกมาก คือ อายุเฉลี่ยของผู้เริ่มต้น เป็นโรคเบาหวานน้อยลงเรื่อยๆ จากข้อมูลที่พบล่าสุดมีผู้ป่วยอายุไม่ถึง 30 ปี ดังนั้น โรคเบาหวาน จึงไม่ใช่เฉพาะโรคของคนสูงวัยอีกต่อไป

เด็กที่เป็นโรคเบาหวาน อาจจะทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวานขึ้นตา, ไตวาย รวมถึงหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเป็นเหมือนกับที่ผู้ใหญ่เป็น ดังนั้น ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการรับประทานอาหาร ควรรับประทานผัก ผลไม้ และออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ควรไปพบแพทย์อย่างน้อยที่สุดทุกๆ 3 เดือน

ดร.สุนาฏ เดชางาม ประธานชมรมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย (โรงพยาบาลรามาธิบดี) ให้ข้อมูลว่า จากสถิติตัวเลขมีการคาดการณ์ว่า ประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งไทยก็รวมอยู่ด้วย จะมีจำนวนผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานที่เกิดอย่างช้า ไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 72% ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก และเบาหวานประเภทนี้ น่าจะเกิดกับผู้ใหญ่มากกว่า โดยจำนวนเด็กและวัยรุ่น ที่เป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้นนี้ มีผลมาจาก วิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรม การรับประทานอาหารฟาสต์ฟูดจากตะวันตก ซึ่งมีระดับของแคลลอรี่ที่สูงมาก ไม่เหมาะกับคนเอเชีย อีกทั้ง ยังขาดการอออกกำลังกายที่เพียงพอ จนทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคเบาหวานในที่สุด

ไม่เฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวานเท่านั้น ที่ต้องให้ความใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน บุคคลที่ต้องระวัง หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ก็ควรให้ความสำคัญ และมีความรู้ ในการควบคุมอาหารด้วยเช่นกัน กลุ่มคนเหล่านั้น ได้แก่ คนที่มีกรรมพันธุ์ หรือมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน คนอ้วน ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ผู้ที่มีไขมัน HDL ต่ำ และคนที่มีความดันโลหิตสูง

การควบคุมอาหาร สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานให้ได้ผลดีนั้น ต้องควบคุมอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ ตั้งแต่ในระยะต้น เพราะจะมีผลอย่างมาก ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในภายหลัง โดยผู้ป่วยต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งก่อนอาหารและหลังอาหารให้สมดุล ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการกินอาหาร การควบคุมปริมาณและสารอาหาร รับประทานอาหารตรงตามเวลา ไม่รับประทานจุกจิก และที่สำคัญต้องลดอาหารประเภทไขมัน น้ำตาล ของหวานทุกชนิดให้เหลือน้อยที่สุด งดรับประทานน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมไปถึงบุหรี่ ซึ่งเป็นต้นเหตุร้ายของโรคแทรกซ้อน และหันมาบริโภคอาหารประเภทโปรตีน (ไข่ นม ถั่วต่างๆ) และผักผลไม้ที่ไม่หวานมากขึ้น ประกอบกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถช่วยป้องกัน หรือลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้

ดร. สุนาฏ อธิบายเพิ่มเติมถึง การควบคุมอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องควบคุมอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือดว่า ปัจจุบันมีการผลิตอาหารทดแทน สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งแพทย์จำนวนมาก นิยมให้ผู้เป็นเบาหวานรับประทาน

เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน คือ การรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด ให้ใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาหารทดแทนสำหรับผู้เป็นเบาหวานที่ดี จะต้องเป็นอาหารทดแทน หรืออาหารระหว่างมื้อ สูตรครบถ้วน มีไขมันที่เหมาะสม สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ที่ต้องการควบคุมระดับไขมันในเลือด

นอกจากนี้ ในส่วนผสมจะต้องประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในการชะลอการดูดซึมน้ำตามเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย สูงอย่างรวดเร็วภายหลังรับประทานอาหาร และยังต้องมีส่วนผสมของใยอาหาร และ FOS ที่ช่วยให้การทำงานของระบบขับถ่ายดีขึ้น และเสริมสร้างให้ทางเดินอาหารมีสุขภาพดี และควรจะมี MUFAโดยรับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากรับประทานอาหาร และทำให้ระดับไขมัน HDL เพิ่มขึ้น และไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง

ดร.สุนาฏสรุปทิ้งท้ายว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต คนเป็นเบาหวาน จะมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้น เพื่อรักษาอาการของโรค และป้องกันอันตรายจากโรคแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นจะต้องรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ควรรู้และเข้าใจวิธีปฏิบัติตัว การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เพราะเป็นที่รู้กันแล้วว่า เบาหวานกับอาหารมีความสัมพันธ์กัน

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.manager.co.th และ www.sanook.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน ... น่ารู้
 
สาระ่น่ารู้ - เบาหวาน
 
ทำไมเป็นโรคเบาหวาน
 
เบาหวาน เรื่องไม่เบาที่เด็กและวัยรุ่นควรใส่ใจ
 
เลือกรับประทานอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.