หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ทำไมเป็นโรคเบาหวาน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน และ/หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

 
•
มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
 
•
เป็นโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมีค่าตั้งแต่ 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป)
 
•
ไม่ออกกำลังกาย
 
•
เชื้อชาติบางเชื้อชาติ เช่น แอฟริกัน-อเมริกัน
 
•
เคยตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หรือเคยตรวจพบความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จัดเป็นเบาหวาน
 
•
เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตมีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป)
 
•
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลมีค่าน้อยกว่า หรือเท่ากับ 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ/หรือไตรกลีเซอไรด์มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
 
•
เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
 
•
เป็นโรคที่รังไข่มีถุงน้ำหลายถุง (Polycystic ovarian syndrome)

หลักการรักษาโรคเบาหวาน

 
•
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
 
1. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
 
2. การออกกำลังกาย
 
•
การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
 
1. ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
 
2. อินซูลิน

การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีทั้งชนิด และปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงาน และยาที่แพทย์กำหนดให้ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดที่มักพบว่ามีความผิดปกติ ร่วมกันกับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรให้ความสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกชนิด และปริมาณอาหารที่เหมาะสม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ และให้มีความสุขในการรับประทานอาหารมากขึ้น โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนในอาหารหมู่เดียวกัน ในปริมาณที่มีพลังงานเทียบเท่ากัน เช่น

  1. อาหารหมู่ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ พบว่าการรับประทานข้างต้ม 2 ทัพพี จะให้พลังงานเทียบเท่ากับข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้างเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ
  2. ีอาหารหมู่ผัก พบว่าการรับประทานผักสด 1 ถ้วยตวงจะให้พลังงานเทียบเท่ากับผักสุกครึ่งถ้วยตวง
  3. อาหารหมู่ผลไม้ พบว่าการรับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผล จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเงาะ 6 ผล ชมพู่ 4 ผล ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มะม่วงครึ่งผล เป็นต้น
  4. อาหารหมู่เนื้อสัตว์ ไข่ และนม พบว่าการรับประทานเนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง ลูกชิ้น 5-6 ลูก เป็นต้น
  5. หมวดไขมัน พบว่าการรับประทานน้ำมันหมู 1 ช้อนชา จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเนยสด 1 ช้อนชา มายองเนส 1 ช้อนชา น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ

  หมายเหตุ
 
•
ควรเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
 
•
ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม
 
•
ควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสทุกชนิด และเครื่องดื่มประเภทโอวัลติน ไมโล และโกโก้ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
 
•
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักได้ดี ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดอัตราการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ และยังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับไขมันเส้นเลือด โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ได้อีกด้วย

ความผิดปกติของไตในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคไตเป็นสาเหตุความเจ็บป่วย และสาเหตุการตายที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน โดย 30-35 % ของผู้ป่วย จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องทำการรักษาต่อด้วยวิธีไตเทียมหรือด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เรียกเป็นทางการว่าการปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของไตในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เมื่อมีการเสื่อมของไตมากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 4-7 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงจนไตเสียหน้าที่ มีการสะสมการคั่งของของเสียภายในร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมร่วมด้วย หลังจากระยะนี้อีกประมาณ 1-2 ปี จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังขึ้น

สำหรับหลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือไม่ให้ไตเสื่อมเร็วเกินไป สรุปได้ดังนี้

  1. เมื่อทราบว่าเป็นเบาหวาน ต้องพยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อทำให้ไตยังทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม
  2. ี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
  3.
ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4.
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารโปรตีนสูง
  5.
ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  6. เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีผลทำให้ไตเสื่อม
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
เบาหวานกับไขมันในเลือด
 
เบาหวานกับโรคหัวใจ
 
ความผิดปกติของไตในผู้ป่วยเบาหวาน
 
เลือกรับประทานอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.