|
|
มะเร็งปอด
มะเร็งปอด เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของหลอดลมและปอด แต่เป็นชนิดที่ร้ายแรง เริ่มแรกมะเร็งปอดจะเป็นก้อนขนาดเล็ก หากปล่อยไว้ก้อนจะโตขึ้นลุกลามเข้าแทนที่เนื้อปอดปกติ และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ สมอง กระดูก เป็นต้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
|
1. |
บุหรี่ จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ทั่วโลกยืนยันว่า มะเร็งปอดเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสูบบุหรี่ ทั้งผู้สูบเอง และผู้ได้รับควันบุหรี่ |
|
|
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด |
|
|
ผู้สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 12 เท่า |
|
|
ผู้ที่สูบบุหรี่นานไม่เกิน 20 ปี จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 9 เท่า |
|
|
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 21-40 ปี มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 30 เท่า |
|
|
ผู้ที่สูบบุหรี่นานระหว่าง 41-60 ปี มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 47 เท่า |
|
|
ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี |
|
|
ผู้ที่ต้องดูดควันบุหรี่ของคนอื่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งด้วย |
|
ประโยชน์ของการหยุดบุหรี่ |
|
|
ถ้าผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดบุหรี่ได้ทัน ก่อนที่ปอดจะได้รับความเสียหายอย่างถาวร โอกาสของการเกิดโรคมะเร็งปอดจะลดลงทันที |
|
|
ผู้สูบบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้นาน 10-15 ปี จะลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ครึ่งหนึ่ง |
|
|
สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งปอดแล้ว การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้อาการดีขึ้น และอยู่ได้นานขึ้นกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป |
|
|
แอสเบสตอส (Asbestos = สารใยหิน) |
|
|
เป็นแร่ธาตุที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ครัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอเหมืองแร่ |
|
|
ผู้ที่เสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ |
|
|
ระยะเวลาที่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี |
|
|
ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส เสี่ยงต่อมะเร็งปอด มากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า |
|
3. |
เรดอน เป็นก๊าซกัมมันรังสีไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนี่ยมในหินและดิน กระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ๆ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น ในเหมืองใต้ดิน อาจมีปริมาณมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ |
|
4. |
มลภาวะในอากาศ ได้แก่ ควันพิษจากรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น |
อาการ : ระยะแรกของโรค จะไม่มีอาการใดๆ บ่งชี้อย่างแน่ชัด เมื่อโรคลุกลามมากแล้วอาการที่อาจพบ ได้แก่
|
|
ไอเรื้อรัง \ ไอเป็นเลือด |
|
|
หอบเหนื่อย \ เจ็บแน่นหน้าอก |
|
|
น้ำหนักลดรวดเร็ว \ เบื่ออาหาร |
|
|
กลืนอาหารลำบาก |
|
|
เสียงแหบ |
|
|
มีก้อนที่คอ (มะเร็งกระจายมาตามต่อมน้ำเหลืองที่คอ) |
|
|
ปวดกระดูกซี่โครง ไหปลาร้า ปวดกระดูกสันหลัง (มะเร็งกระจายมากระดูก) |
|
|
แขน ขา อ่อนแรง (มะเร็งกระจายไปสมอง) |
|
|
ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้ |
|
โดยอาการดังกล่าวมักเป็นอาการร่วมของโรคต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป |
การวินิจฉัย
|
1. |
ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ |
|
|
ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง (Sputum Cytology) |
|
3. |
ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม (Bronchoscopy) |
|
4. |
ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า ไปตรวจเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา (Biopsy, Scalene node biopsy) |
การรักษา
|
1. |
การผ่าตัด |
|
|
รังสีรักษา |
|
3. |
เคมีบำบัด |
|
4. |
การรักษาแบบผสมผสานวิธีดังกล่าวข้างต้น |
|
5. |
การรักษาแบบประคับประคอง |
การป้องกัน
|
1. |
เลิกสูบบุหรี่ |
|
|
หลีกเลี่ยงการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม |
|
3. |
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น และอาหารที่มีวตามินซี วิตามินอี รวมทั้งเซเลเนียม เช่น ข้าวซ้อมมือ รำข้าว และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด |
|
4. |
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มสุรา อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ |
|
|