เป็นยาหรือสารเคมีที่ใข้ในการรักษามะเร็ง อาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ยาเคมีบำบัดเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลมะเร็ง เเละทำลายเซลปกติบางส่วนด้วย ทำให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้น
ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวาง ขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ ทำให้เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกันในการรักษา บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลายชนิดที่ให้ร่วมกัน
อาการข้างเคียง ยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เส้นผม, เม็ดเลือด ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการ ให้ยาแต่ละชุด เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาสร้างเซลล์ปกติขึ้นมาทดแทน
อาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องปรึกษาแพทย์
|
1. |
มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก |
|
|
มีผื่นหรืออาการแพ้ |
|
3. |
มีไข้ หนาวสั่น |
|
4. |
ปวดมากบริเวณที่ฉีด |
|
5. |
หายใจลำบาก |
|
6. |
ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง |
|
7. |
ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน |
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย
|
1. |
คลื่นไส้อาเจียน |
|
|
ผมร่วง |
|
3. |
แผลในปาก |
|
4. |
ปริมาณเม็ดเลือดลดลง |
อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์จะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาของร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบำบัดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิดขึ้นจากการได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลง หรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา ถ้าเกิดมีอาการรุนแรง อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดไม่ได้หมายความว่า อาการของโรคมะเร็งเป็นมากขึ้น และความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบำบัดต่อเซลล์มะเร็ง
สารกัมมันตรังสี คือ ธาตุที่มีการสลายตัวปล่อยรังสี ซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่งออกจากตัวเองตลอดเวลา จนกว่าจะหมดอายุ โดยมีครึ่งอายุเฉพาะตัวต่างๆ กัน ตัวอย่างเช่น ไอโอดีน-131 มีครึ่งอายุ 8 วัน เมื่อนำมาเก็บเป็นเวลา 40วัน จะเหลือพลังงานเพียง 3 % เท่านั้น สารบางตัวมีครึ่งอายุค่อนข้างนาน เช่น โคบอลท์-60 มีครึ่งอายุ 5.2 ปี, ถ้าต้องการให้เหลือพลังงาน 3% ต้องเก็บนานถึง 25 ปี ส่วนแร่ซีเซียม-137 มีครึ่งอายุ 30 ปี ต้องใช้เวลานานถึง 150 ปี จึงจะเหลือพลังงาน 3% สารกัมมันตรังสีบางชนิดมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แร่เรเดียม-226,ยูเรเนียม-238 ฯลฯ แต่ที่มีใช้ในวงการแพทย์ปัจจุบันเป็นสารที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น โคบอลท์-60, ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 เป็นต้น
ผลกระทบของรังสีต่อสุขภาพ
ถ้าร่างกายได้รับรังสี เนื้อเยื่อของอวัยวะที่เซลล์แบ่งตัวเร็ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือถูกทำลายขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ เช่น ที่ผิวหนัง เยื่อบุในช่องปาก โดยเฉพาะที่ไขกระดูก
อาการที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับกัมมันตรังสีโดยไม่มีการควบคุม
|
|
คลื่นไส้ อาเจียน |
|
|
อ่อนเพลีย |
|
|
เม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรุนแรง |
|
|
ระบบการสร้างโลหิตจากที่ไขกระดูกบกพร่อง |
|
|
ร่างกายความต้านทานโรคต่ำ |
|
|
เกิดความผิดปกติบริเวณที่ถูกรังสี เช่น ผิวหนังไหม้พุพอง ผมร่วง ปากเปื่อย เป็นต้น |
การป้องกันอันตรายจากสารกัมมันตรังสี
|
|
ใช้ตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือกำแพงคอนกรีตหนา ทำเป็นฉากกั้น |
|
|
ใช้ระยะทาง ยิ่งอยู่ห่างจากสารกัมมันตรังสีมาก ก็จะได้รับรังสีน้อยลง |
|
|
ใช้เวลาน้อยที่สุด ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี |
|