|
|
เหงือกที่สุขภาพดีไม่ควรมีเลือดออกเอง หรือเลือดออกขณะแปรงฟัน ดังนั้น เมื่อมีเลือดออกตามไรฟันย่อมหมายความว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว
สาเหตุ
|
|
เชื้อแบคทีเรียและคราบฟันที่เกิดบริเวณร่องเหงือก ไรฟัน |
|
|
โรคของเหงือก เหงือกที่อักเสบและมีการติดเชื้อ มักมีเลือดออกง่าย เพราะการอักเสบทำให้เหงือกมีเลือดมาเลี้ยงมากเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันมากำจัดแบคทีเรีย |
|
|
บาดเจ็บจากแปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งหรือเยิน หรือใช้ไหมขัดฟันไม่ระมัดระวัง |
|
|
ขาดวิตามินซี |
|
|
ไข้เลือดออกเดงกี่ |
|
|
กลไกของการเกิดลิ่มเลือดผิดปกติ |
การดูแลตนเอง
|
|
รีบไปโรงพยาบาล หากมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือด มีเลือดออกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย |
|
|
พบทันตแพทย์หากเหงือกบวม คัน นุ่มนิ่ม อันเป็นอาการของโรคเหงือก |
|
|
พบแพทย์หากมีเลือดออกง่ายตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น รอยช้ำจ้ำเขียวที่ผิวหนัง หรือมีเลือดออกง่ายตามส่วนอื่นของร่างกาย อันเป็นอาการของเลือดหยุดยาก กลไกห้ามเลือดผิดปกติ |
การวินิจฉัยและรักษา
|
|
หาสาเหตุของเลือดออกแล้วรักษาตามสาเหตุ |
|
|
รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ สืบค้นหาสาเหตุตามความเหมาะสม |
การดูแลรักษาโดยทันตแพทย์
|
|
ทำความสะอาดล้างคราบแบคทีเรียที่อยู่ตามซอกฟัน |
|
|
ขูดหินปูน ขัดคราบบุหรี่ |
|
|
รักษาโรคเหงือก |
|
|
สอนการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี |
|
|
ส่งพบแพทย์ หากเลือดออกตามไรฟันไม่ได้เกิดจากโรคเหงือก |
การป้องกัน
|
|
ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่ม เปลี่ยนแปรงสีฟันทันทีที่ขนแปรงเยิน |
|
|
แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี ดูแลรักษาไรฟันให้สะอาด |
|
|
พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน |
|
|
กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ได้แก่ผลไม้ชนิดต่างๆ |
|
|