นอนไม่หลับ |
---|
เราสามารถป้องกันไม่ให้การนอนไม่หลับชั่วคราว กลายเป็นการนอนไม่หลับเรื้อรัง หรือแก้ไขการนอนไม่หลับเรื้อรังที่เกิดขึ้นแล้ว ได้โดย
ข้อแรก คือ การตื่นนอนให้ตรงเวลาไม่ได้หมายความว่าจะต้องตื่นแต่เช้าแต่หมายความว่าให้ตื่นนอนใน เวลาเดิมทุกวันทั้งวันหยุดและวันที่ไม่หยุด บวกลบให้ไม่เกิน ครึ่ง ชั่วโมง ข้อที่สอง คือช่วงกลางวันห้ามนอน (ในที่นี้เราหมายถึงคนที่นอนกลางคืนตื่นกลางวัน) เราคงเคยได้ยิน มาว่าการนอนกลางวันจะช่วยให้การทำงานตอนบ่ายดีขึ้น เรื่องนี้ยังจริงอยู่แต่ใช้ได้เฉพาะคนที่ไม่มีปัญหา ในการนอนตอนกลางคืนเท่านั้น คนที่มีปัญหานอนไม่หลับห้ามใช้วิธีนี้ เพราะจะทำให้ตอนกลางคืนยิ่ง ไม่หลับมากขึ้น การปฏิบัติตามหลักข้อ 1 และ 2 ให้สม่ำเสมอจะทำให้ "นาฬิกา" ในสมองเดินตรงเวลาตอนเช้าเราจะตื่น ก่อนหรือพร้อมนาฬิกาปลุก กลางวันเราจะง่วงน้อยลงเรื่อยๆ ข้อที่สาม เป็นข้อที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่ายากที่สุดนั่นคือ ให้เข้านอนเฉพาะ เมื่อง่วง เท่านั้นไม่ใช่เข้านอน เมื่อถึง "เวลานอน" เมื่อใกล้เวลาที่เราคิดว่าควรจะเข้านอนได้แล้ว ให้พยายามทำตัวให้ง่วง วิธีทำตัวให้ง่วง ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกันเช่น บางคนอ่านหนังสือแล้วจะง่วงนอน (โดยเฉพาะหนังสือเรียน!) บางคนดูทีวีแล้วง่วงนอน บางคนฟังเพลงแล้วง่วงนอน ใครรู้ตัวว่าทำอะไรแล้วจะง่วงก็ให้ทำอย่างนั้น หลังจากนั้นก็รอจนกว่าจะง่วงแล้วค่อยเข้านอน ถ้าเข้านอนแล้ว ครึ่งชั่วโมง ก็ยังไม่หลับให้ลุกขึ้นมาใหม่ อย่าฝืนนอน เพราะการฝืนนอนจะทำให้ที่ๆ นอนประจำกลายเป็นที่ๆ ปลุกความรู้สึกให้นอนไม่หลับ นอนไม่หลับให้ลุกขึ้นมาใหม่ แล้วรอจนง่วงแล้วค่อยเข้านอนใหม่ สำหรับผู้ที่อยู่บนที่นอนแล้วนอนไม่หลับ แต่นอนที่อื่นเช่นบนโซฟาแล้วหลับได้ในระยะแรกๆ ให้นอนที่โซฟาไปเลย เมื่อการนอนดีขึ้นค่อยลองกลับมา นอนบนที่นอนทีหลังไม่ว่าในที่สุด เราจะได้นอนกี่ชั่วโมงก็ตาม เมื่อถึงเวลาตื่นให้ตื่นตรงเวลา กลางวันให้ อดนอน คืนต่อมาเราจะง่วงเร็วขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอการนอนของเราควรจะ "เข้าที่" ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เราอาจใช้ยานอนหลับช่วยเป็นครั้งคราวก็ได้ แต่ต้องระวังการติดยา ซึ่งจะทำให้ปัญหาการนอนไม่หลับ ยืดเยื้อต่อไปอีก ถ้าเรานอนไม่หลับเป็นประจำเราอาจใช้ยานอนหลับได้ คืนเว้นสองคืนโดยเลือก ใช้ยานอนหลับที่ปลอดภัย ซึ่งก็คงต้องมาปรึกษาแพทย์จะดีกว่า ในกรณีที่นอนไม่หลับร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอารมณ์เศร้าหมอง เบื่อหน่ายชีวิต คิดวนเวียนแต่เรื่องร้ายๆ และลองปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผล ท่านอาจจะต้องมาปรึกษาแพทย์เพราะ การนอนไม่หลันนั้นอาจเกิดจาก โรคซึมเศร้าหรือโรคอื่นที่รักษาได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |