|
1. |
การควบคุมปริมาณน้ำที่รับประทาน ให้รับประทานน้ำตามปกติ ไม่ให้ทานมากเกินไป เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ในกรณีที่ผู้ป่วยทานยาขับปัสสาวะอยู่นั้น อาจให้ปรับเวลาทานยาขับปัสสาวะใหม่ให้เหมาะสม รวมทั้งควบคุมอาหารปริมาณน้ำ และสารบางอย่าง ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะด้วย เช่น ชา, กาแฟ |
|
|
|
|
|
|
ใช้ยาควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ยาที่เป็นยาหลักในการรักษาคือ ยาในกลุ่ม Anticholinergic จะออกฤทธิ์คลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ลดการบีบตัวที่ไวเกินปกติ ของกระเพาะปัสสาวะ การใช้ยาจะต้องมีการปรับขนาดยา ให้เหมาะต่อผู้ป่วยแต่ละราย ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ต่างกันที่ราคา และผลข้างเคียงของยา |
|
|
|
|
3. |
การฝึกกระเพาะปัสสาวะ โดยการฝึกควบคุมระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัว ของกระเพาะปัสสาวะ เป็นการฝึกเพิ่มช่วงระยะเวลา ของการเข้าห้องน้ำให้ห่างออกไป เช่น จากเดิมต้องเข้าทุกๆ 1 ชั่วโมงให้เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงครึ่งและ เพิ่มเป็น 2 ชั่วโมงตามลำดับ เป็นการฝึกให้กระเพาะปัสสาวะ เก็บปัสสาวะให้มากพอ โดยไม่มีอาการบีบตัวไวกว่าปกติ เป็นการฝึกกกลั้นปัสสาวะ โดยฝึกที่ระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) ซึ่งส่งสัญญาณควบคุม ความรู้สึกปวดปัสสาวะ ให้ยืดยาวออกไป ผู้ป่วยควรขมิบช่องคลอดร่วมด้วย ซึ่งจะลดอาการอยากถ่ายปัสสาวะลง |
|
|
|
|
|
4. |
การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (Sacral nerve stimulation) การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น ที่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ จะช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ลงการรักษาโดดยวิธีนี้ ต้องมีการผ่าตัดฝังตัว กระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าที่หน้าท้อง และกระดูกก้นกบด้วย (Sacral bone) และต้องมีการทดสอบในช่วงแรกว่าได้ผล จึงผ่าตัดฝังเครื่องชนิดถาวร (อยู่ได้ 5 ปี) การรักษาวิธีนี้ มีราคาแพง และยังอยู่ในระหว่างการวิจัย |
|
|
|
|
5. |
การผ่าตัด มีการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ บางส่วน หรืออาจนำลำไส้เล็กบางส่วน มาเย็บต่อกับกระเพาะปัสสาวะ เพื่อทำให้การบีบตัวไม่มีผลทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย การผ่าตัดมีผลแทรกซ้อนมาก และนิยมทำในรายที่รักษา โดยการใช้ยาแล้วไม่ได้ผล |
|
|
|
|
|
6. |
วิธีการอื่นๆ เช่นการใช้ยาหรือสารบางชนิด เช่น Capsaicin ใส่ไปในกระเพาะปัสสาวะซึ่งยัง อยู่ในระหว่างทดลอง |
|