ป้องกันไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกให้ทันการณ์ |
---|
หลายคนอาจสงสัยว่าไข้หวัดธรรมดา ที่เป็นปีละหลายครั้ง แตกต่างกับไข้หวัดใหญ่อย่างไร ไข้หวัดธรรมดาจะเกิดจากไวรัสชื่อว่า Rhinovirus ส่วนไข้หวัดใหญ่เกิดจากไวรัสชื่อว่า Influenza virus อาการของไข้หวัดทั้งสองในช่วงแรก จะมีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ ไอ และมีไข้ แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่ 1-2 วันต่อมา อาการจะรุนแรงขึ้น โดยมีไข้สูงฉับพลันประมาณ 38-40 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก ไม่สามารถไปทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และที่สำคัญมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งจะมีตั้งแต่น้อยจนถึงรุนแรงมาก โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือเดิมมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคไต เป็นต้น โดยจะเกิดการอักเสบของหลอดลมและหลอดคอ หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดบวม ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ สาเหตุหลัก ที่ทำให้ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่แพร่กระจาย มาจากการหายใจเอาเชื้อไวรัส ที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จามของคนที่เป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ หรือติดจากการอยู่ใกล้ชิด คลุกคลีกับคนป่วย มีการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยนำเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และเยื่อบุต่างๆ จากการสัมผัสหน้า ปาก ขยี้ตาหรือจมูก โดย พญ. สุเนตร ชื่นกิจมงคล ได้แนะนำวิธีป้องกันพื้นฐาน ของการติดเชื้อไข้หวัด ที่สามารถทำได้ง่าย และได้ผลที่สุด ดังนี้
วิธีเหล่านี้ยังใช้ได้กับการป้องกันไข้หวัดนก ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ แม้อาการเริ่มต้นของไข้หวัดนก จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว แต่ว่าหากเป็นไข้หวัดนก จะมีอาการปอดติดเชื้อ เกิดอาการปอดล้มเหลวทันที ทำให้สุขภาพทรุดลงเร็วอย่างมาก ดังนั้น ต้องมีวิธีป้องกันระมัดระวังเพิ่ม โดยเฉพาะผู้ที่คลุกคลีกับสัตว์ปีก ต้องสวมผ้าปิดปาก-จมูก และถุงมือ เช่น สถานเพาะเลี้ยงสัตว์ปีก หรือ อุตสาหกรรมชำแหละไก่และเป็ด ต้องไม่สัมผัสสัตว์ปีกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือถ้าหากจำเป็นต้องจับ ให้ใส่ถุงมือ สวมผ้าปิดปาก-จมูก และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ควรรับประทานอาหารจากสัตว์ปีก ที่ปรุงสุกเท่านั้น ในกรณีที่ต้องประกอบอาหารจากไก่ เป็ด หรือไข่ ให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และสุดท้ายหากสังเกตว่า มีสัตว์ปีกตายโดยไม่ทราบสาเหตุ บริเวณบ้านพักอาศัย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที หรือหากมีอาการไข้หวัด ประกอบกับมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีวัคซีนแก้ไข้หวัดนก แต่ก็สามารถรักษาได้ หากรับการรักษาทันท่วงที ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก นอกจากนี้ ยังมีวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อีกวิธี ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการลดความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ ในกรณีที่ติดเชื้อ และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ เช่น โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ รวมถึงไข้หวัดธรรมดา และที่สำคัญการฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์ ของเชื้อไข้หัวดนกในคน ในกรณีที่เดิดที่มีเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเกิดติดเชื้อไข้หวัดนกซ้ำ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการค้นคว้าทดลอง การผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดนก แต่ขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนใดๆ ที่ฉีดแล้ว สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกได้ สำหรับคนที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน คนที่เข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ หรือเดินทางบ่อย ซึ่งภายหลังรับการฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกัน จะเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน และจะอยู่นาน 1 ปี สำหรับข้อยกเว้นของการฉีดวัคซีน ไม่ควรฉีดให้คนที่แพ้โปรตีนอาบูมินในไข่ไก่ เพราะการผลิตวัคซีนต้านไวรัส ได้มาจากไข่เป็ดบริสุทธิ์ จึงทำให้มีส่วนประกอบของโปรตีนจากไข่ ที่อาจเป็นอันตรายแก่คนแพ้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงหญิงตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก ส่วนผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน จะปวดบริเวณที่ฉีดประมาณ 1 วัน ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ คนที่เป็นมักต้องทรมานจากอาการปวดหัว เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัวไปหลายวัน เสียเวลาทำงานและค่าใช้จ่ายในการรักษา ดังนั้น การป้องกันด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งยังเป็นพื้นฐานป้องกันการเกิดสารพัดโรคด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |