โรคกลิ่นตัวเหม็น (Primary Trimethylaminuria) |
---|
โรคกลิ่นตัวเหม็นนั้น มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อประมาณ 700 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ไม่มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตามหลักวิทยาศาสตร์ในแถบยุโรปมีอุบัติการณ์เกิดโรคนี้ไม่น้อยกว่า 1% และผู้ที่เป็นโรคนี้ มักจะประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกือบทุกราย สำหรับในประเทศไทยยังไม่ทราบอุบัติการณ์เกิดโรคนี้แน่นอน แต่ก็มีผู้ที่เป็นโรคนี้มาพบแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ อยู่เรื่อยๆ บางรายแพทย์ต้องให้ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียดและยาแก้ความซึมเศร้าไปรับประทาน ซึ่งยาประเภทนี้นอกจากจะไม่ทำให้อาการของโรคทุเลาลงแล้ว กลิ่นตัวยังจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย ในวงการแพทย์เองก็ยังไม่ทราบว่าจะบำบัดรักษาโรคนี้อย่างไรดี มีคนที่เป็นโรคกลิ่นตัวเหม็นหลายราย ต้องหันไปพึ่งไสยศาสตร์ หมอพระ หมอผี แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ปัจจุบันทราบว่าอาการกลิ่นตัวเหม็นของผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากสารเคมีที่ชื่อว่า TMA (Trimethylamine) ซึ่งได้มาจากอาหารบางชนิด สารตัวนี้จะระเหยได้ง่าย มีจุดเดือดเพียง 3 องศา และสามารถส่งกลิ่นแพร่ไปได้ในปริมาณ และความเข้มข้นซึ่งถึงแม้ว่าจะน้อยมาก แต่จมูกของคนเราก็สามารถรับกลิ่นได้ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป อาหารก็จะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ (Bacteria) ที่มีอยู่มากบริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ แล้วเปลี่ยนไปเป็น TMA จากนั้น TMA ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เข้าสู่ร่างกายไปถูกทำลายที่ตับ ในคนปกติตับก็จะใช้เอนไซม์ ชื่อ FMO3 เปลี่ยน TMA ให้เป็น TMA-O ซึ่งละลายน้ำได้ดีและไม่มีกลิ่นเหม็น และถูกกำจัดออกจากร่างกายทาง Body Secretions เช่น เหงื่อ น้ำลาย ปัสสาวะ เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นโรคกลิ่นตัวเหม็น FMO3 จะไม่ทำงานหรือทำงานไม่ได้ อันเป็นเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม TMA ก็จะไม่ถูกทำลาย แล้วมันก็จะถูกขับออกมาทางเหงื่อ และปัสสาวะ ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว โรคกลิ่นตัวเหม็นนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ ทางพันธุกรรมโดยวิธี autosomal recessive transmission สำหรับการบำบัดรักษาในขณะนี้ทำได้ 3 วิธี คือ
กล่าวโดยสรุป โรคกลิ่นตัวเหม็น เป็นโรคทางพันธุกรรม (genetic disease) เกิดจากการที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลง TMA ให้เป็น TMA-O ได้ ดังนั้น TMA จึงถูกขับออกมาจากร่างกายทุกๆ ทาง เช่น น้ำลาย เหงื่อ และปัสสาวะ เป็นต้น ส่วนการดูแลรักษานั้น ในขั้นต้นก็ต้องดูแลเรื่องสุขอนามัยของตนเองให้ดี ควบคุมอาหารโดยหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม ถั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องพยายามหลีกเลี่ยงยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวของผู้ป่วยโรคนี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะยาประเภทนี้จะไปยับยั้งการทำงานของ FMO3 ซึ่งการทำงานของมันในผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว |
|||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com | |||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |