หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
สารพันสงสัยยามวัยทอง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ผู้หญิงเราเมื่ออายุมากขึ้นจนถึงจุดๆ หนึ่ง ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายครั้งยิ่งใหญ่ นั่นคือ การหมดประจำเดือนหรือ
เข้าสู่วัยทอง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษาในปัจจุบัน เอื้อให้ผู้หญิงวัยทอง มีสุขภาพและจิตใจที่ดีขึ้น แต่หลายคนยังเผชิญกับข้อสงสัยหลายอย่าง เกี่ยวกับวัยทองหรือแนวทางการรักษา ซึ่งได้รวบรวมคำถามและคำตอบ ที่หลายคนสงสัยไว้เพื่อไขข้อข้องใจดังนี้

ถาม : หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถรับประทานฮอร์โมนทดแทนได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อยาลดความดันที่รับประทานอยู่
ตอบ : ที่จริงแล้วความดันโลหิตของคุณ น่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำเมื่อใช้ฮอร์โมน แต่ไม่มีอะไรที่จะรับประกันได้แน่นอน แต่ที่แน่ๆ คือความดันโลหิตของคุณจะไม่แย่ลง และฮอร์โมนจะไม่มีปฏิกริยาใดๆ กับยาลดความดันโลหิตของคุณ
ถาม : ผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องรับประทานยาฮอร์โมนทดแทน เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนหลังเข้าสู่วัยทอง
ตอบ : การพิจารณาใช้ฮอร์โมนทดแทน ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่า แต่ละคนจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาจากสุขภาพพื้นฐาน และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยสังเกตอาการหลังวัยทอง ว่าบั่นทอนคุณภาพชีวิตมากน้อยแค่ไหน ส่วนการใช้ฮอร์โมนทดแทนเมื่อเข้าสู่วัยทอง ก็เพื่อชะลอโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองอุดตัน สมองเสื่อม และผิวไม่ให้โรยราก่อนวัย รวมถึงความเสื่อมอื่นๆ ของร่างกาย แต่คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือหลอดเลือดอุดตัน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทน

สำหรับผู้หญิงที่มีกระดูกเล็ก และมีประวัติการเป็นโรคกระดูกพรุนในครอบครัว มักมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนได้มาก การได้รับฮอร์โมนทดแทนเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยชะลอปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งไม่พึงประสงค์ของการใช้ฮอร์โทนทดแทน คือ การมีประจำเดือนต่อเนื่อง แม้ว่าจะเข้าสู่วัยที่ต้องหมดประจำเดือนไปแล้วก็ตาม ปริมาณประจำเดือนที่มาจะเป็นรอบๆ จะน้อยกว่าเดิมที่เคยมี เมื่อใช้ออร์โมนไปนานๆ เข้าก็จะไม่มีไปเอง นอกจากนี้ ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ี่อาจเป็นผลมาจากการใช้ฮอร์โมนทดแทน ในขนาดที่ไม่เหมาะสม เช่น อาการปวดศีรษะ ซึมเศร้า ร้อนวูบวาบหรือปวดบริเวณเชิงกราน เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นใครควรใช้ฮอร์โมนแบบไหน ขนาดเท่าไร และใช้อย่างไร จึงจะเหมาะสมกับตัวเองนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ว่าคุณจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือไม่
ถาม : การมีเลือดออกจากช่องคลอด เมื่อรับประทานฮฮร์โมนทดแทน ถือเป็นเรื่องปกติ
ตอบ : ที่จริงการมีเลือดออกจากช่องคลอด ในขณะรับฮฮร์โมนทดแทนป็นเรื่องที่ควรปรึกษา โดยปกติถ้ากินฮอร์โมนในลักษณะเป็นรอบ มักจะมีเลือดออกหลังจากรับประทาน ฮฮร์โมนทดแทนหมดในแต่ละรอบ แต่ถ้าใช้ฮอร์โมนในลักษณะต่อเนื่องโดยไม่หยุด ในแต่ละรอบก็มักจะไม่มีประจำเดือนออกมา ดังนั้นการมีเลือดออก ขณะที่รับประทานฮอร์โมนทดแทนหมดในแต่ละรอบ จึงค่อนข้างน่าเป็นห่วง โอกาสที่จะเป็นเรื่องของมะเร็ง หรือโรคร้ายอื่นๆ แม้จะเป็นได้น้อย แต่หากได้รับการตรวจหามะเร็ง และรักษาตั้งแต่แรก ก็จะมีโอกาสหายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรีบไปพบสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะแนะนำให้ตรวจหาความผิดปกติ โดยการขูดเนื้อเยื่อผนังมดลูก เพื่อนำไปวินิจฉัยหาสาเหตุความผิดปกติ และในระหว่างนี้ให้หยุดรับประทานยา จนกว่าผลการตรวจวินิจฉัยจะออกมา หากผลตรวจออกมาว่าไม่มีปัญหาเรื่องมะเร็ง จึงกลับไปพิจารณารับประทานอีกครั้ง เพื่อควบคุมอาการที่เกิดจากวัยทอง
ถาม : ถ้าคุณได้รับการผ่าตัดเอามดลูกออก ยังมีช่วงเวลาที่เข้าสู่วัยทองหรือไม่
ตอบ : โดยปกติการผ่าตัดเอามดลูกออก มักตัดเอาปากมดลูก ตัวมดลูก ท่อทางเดิน ไข่ทั้ง 2 ข้าง การตัดรังไข่ออกนั้น อาจจะตัดเพียงข้างเดียว เพื่อที่จะให้รังไข่ที่เหลืออยู่อีกหนึ่งข้าง ยังคงทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนให้เพียงพอแก่ร่างกาย เพื่อคงให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานเป็นปกติ และป้องกันการเข้าสู่ภาวะการหมดประจำเดือน ก่อนเวลาอันควร และเมื่อรังไข่ที่เหลือหยุดผลิตฮอร์โมนตามอายุ ก็อาจจะเกิดอาการของการเข้าสู่ วัยหมดประจำเดือนได้เช่นกันคือ ร้อนวูบวาบ เศร้าหมอง หดหู่ อารมณ์แปรปรวน แต่ไม่มีภาวะประจำเดือนหยุดให้เห็น เพราะตัดมดลูกออกไปก่อนแล้ว หรือในกรณีของหญิงที่อายุไม่มาก ทำการตัดมดลูกแล้ว จำเป็นต้องตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง ด้วยสาเหตุของโรค คนๆ นั้นก็จะขาดฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเฉียบพลัน และก็จะเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยโดยทันที กรณีนี้ก็จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน จนกว่าร่างกายจะปรับตัวได้ และอาการเหล่านี้ลดลง และอาจช่วยปกป้องการเกิด ภาวะกระดูกเปราะบาง ผิวหย่อนยาน มีขนขึ้นบนใบหน้าก่อนวัย แต่สำหรับหญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง เพราะเป็นมะเร็งที่รังไข่ จะไม่สามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนได้ ทางที่ดีคุณควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ และขอคำแนะนำในการรักษาต่อไป
ถาม : หากเป็นมะเร็งเต้านม และผ่าตัดเอามดลูกตั้งแต่อายุยังไม่มาก สภาวะร่างกายตอนนี้ ไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทน
ตอบ : กรณีนี้นับว่ายากที่จะลงความเห็นว่า ควรจะให้ฮอร์โมนทดแทนดีหรือไม่ ปกติหญิงผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูก และรังไข่ทั้งสองข้างออกตั้งแต่อายุยังน้อย แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อป้องกันอาการที่จะเกิดจากการขาดฮอร์โมน แต่ในกรณีที่เป็นมะเร็งเต้านม แพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรให้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมซ้ำอีก แต่เมื่อไม่นานมานี้ แพทย์บางคนก็ให้ฮอร์โมนทดแทน กับคนที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รักษาแล้ว ด้วยข้อถกเถียงว่าฮอร์โมน ไม่ได้เป็นตัวสาเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านม ทางที่ดีที่สุดคือหากไม่จำเป็นจริงๆ ก็หลีกเลี่ยงฮอร์โมนทดแทนดีกว่า วิธีป้องกันกระดูกพรุน ที่เป็นทางเลือกของคนกลุ่มนี้คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรือให้แคลเซียมเม็ดเสริม และหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมากเท่าที่จะเป็นได้
 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
อัมพฤกษ์อัมพาต ในผู้สูงอายุ
 
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการป้องกัน
 
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
 
หลายคำถามผู้สูงวัยอยากรู้
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.