หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เมื่อผู้สูงอายุเป็นไข้
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ร่างกายคนเรามีอุณหภูมิปกติอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ อย่างที่ว่าเป็นค่าเฉลี่ย ดังนั้นแต่ละคนอาจมีอุณภูมิร่างกายสูงหรือต่ำกว่านี้ได้เล็กน้อย ในแต่ละวันอุณหภูมิของเราอาจขึ้นๆ ลงๆ ได้เล็กน้อยตามแต่ช่วงเวลา อย่างเช่น หากวัดปรอทตอนเช้าๆ อาจวัดได้สัก 97.5 F มาวัดอีกทีตอนบ่ายอาจวัดได้เป็น 99.5 F ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด แต่สำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้น จะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

แต่เมื่อเกิดอาการไข้ขึ้น อุณหภูมิของร่างกายมักจะขึ้นสูงเกินกว่า 99.5 F เป็นสัญญาณว่าร่างกายของเรากำลังต่อสู้กับการติดเชื้ออะไรบางอย่างอยู่ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบเบาๆ และหนักหนาอย่างเช่น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ โดยทั่วไปหากอุณหภูมิยังไม่สูงเกิน 101 F แพทย์ก็มักจะไม่วิตกมากนัก ต้องรีบวินิจฉัยและหาทางเยียวยารักษาโดยด่วน

แต่ธรรมดาในผู้สูงอายุนั้น เวลาเจ็บป่วยมักจะไม่ค่อยแสดงออกด้วยการมีไข้ขึ้นสูงมากแบบสมัยเป็นหนุ่มสาว สมมติว่าเป็นไข้หวัดหนักหนาประมาณเดียวกัน แต่ในเด็กหรือหนุ่มสาวอาจแสดงออกด้วยอาการไข้ขึ้นสูงมาก ขณะที่ผู้สูงอายุมีอุณหภูมิเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาการไข้จึงคล้ายสัญญาณไซเรนเตือนภัยเวลาเราเจ็บป่วย ผู้สูงอายุจึงไม่ควรชะล่าใจเมื่อเกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย แต่ไม่ได้มีไข้ หากเมื่อไหร่ที่รู้สึกผิดปกติ อย่างเช่น มีอาการปวดหัว มึนงง นอนไม่หลับ ร้อนๆ หนาวๆ ท้องอืด กินอาหารไม่ลง หอบมากกว่าปกติ หรือรู้สึกสับสนแม้จะไม่มีไข้ ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ให้วินิจฉัยโดยเร็ว

หากท่านไหนมีโรคประจำตัว คือโรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับปอดก็ต้องเพิ่มความระมัดระวัง และสังเกตอาการไข้ของตัวเอง เพราะ หากไข้ขึ้นสูงกว่า 101 F ก็อาจทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งค่อนข้างอันตราย นำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้

ข้อแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุเมื่อมีไข้

 
•
หากไข้ขึ้นสูงน้อยกว่า 101 F น้อยกว่า 3 วันติดกันโดยไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย ก็อาจรักษาตัวเองได้โดยการเช็ดตัว และให้รับประทานยาแอสไพริน หรือ พาราเซตามอล (โดยปรึกษาแพทย์เสียก่อนเกี่ยวกับการใช้ยาเหล่านี้ที่เหมาะสมกับแต่ละคน)
 
•
ดื่นน้ำเปล่ามากๆ ประมาณวันละ 10 แก้ว ไม่ควรดื่มเหล้าหรือแอลกอฮอล์ เพราะการเป็นไข้ทำให้ร่างกายเสียเหงื่อ จึงอาจเกิดอาการขาดน้ำได้ จึงควรดื่มน้ำมากๆ ทดแทน
 
•
หากมีอาการไข้ ร่วมกับการเจ็บคอ ปวดในหู ไอบ่อยๆ หรือ เป็นไข้แล้วมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์
 
•
หากเป็นไข้พร้อมกับอาการหวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ แต่เมื่อวัดปรอทแล้วยังต่ำกว่า 101 F ก็อาจรักษาตัวเองโดยวิธีบรรเทาหวัดแบบทั่วไป แต่หากเป็นไข้ติดต่อกันนานเกิน 3 วันไม่หายสักทีควรปรึกษาแพทย์

แต่หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 
•
หากเป็นไข้ พร้อมกับอาการสั่นเทิ้ม รู้สึกหนาว หรือเป็นไข้พร้อมกับปวดหลัง หรือปวดเวลาขับปัสสาวะ และมีอาการปัสสาวะไม่สุด (อันอาจเกิดมาจากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ)
 
•
หากมีไข้สูงมากกว่า 101 F
 
•
เป็นไข้ ร่วมกับภาวะสับสน งุนงง อย่างฉับพลันทันด่วน
 
•
เป็นไข้ ร่วมกับอาการคอแข็ง
 
•
มีอาการปวดที่ท้องน้อย และเป็นไข้นานติดต่อกันเกินกว่า 2 ชั่วโมง

อาการไข้ร่วมกับภาวะผิดปกติต่างๆ ในผู้สูงอายุเหล่านี้ หากสังเกตและตระหนักรู้ได้เร็ว รีบไปพบแพทย์ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการและหาทางเยียวยารักษาได้แต่เนิ่นๆ ดังนั้นท่านผู้สูงอายุเอง หรือผู้ดูแลก็ควรคอยสังเกตอาการให้ดี เมื่อไรที่มีไข้ก็อย่าลืมใช้ปรอทคอยวัดอุณหภูมิของร่างกายเป็นระยะๆ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกาย

 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
วิธีป้องกันสมองเสื่อม
 
อาหาร...ยาวิเศษเพิ่มพลังสมอง
 
อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ
 
เมื่อผู้สูงอายุอาเจียน
 
บาดแผลเรื้อรัง...เรื้องเรื้อรังที่ควรแก้ไข
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.