หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 

ผู้สูงอายุ จัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยา ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เพราะอายุที่มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมลง ดังนั้นการใช้ยา จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ ปัจจัยที่อาจมีผลทำให้ผู้สูงอายุ มีโอกาสที่จะได้รับอันตราย จากการใช้ยาเพิ่มขึ้น

 
1.
การทำงานของไต เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของไตจะลดลง ดังนั้น การขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ยา จะถูกขับถ่ายออกทางไตย่อมลดน้อยลง ทำให้มีโอกาสที่ยาจะสะสมในร่างกายสูงขึ้น จนเกิดเกิดอาการพิษได้
 
2.
การทำงานของตับ ยาที่ให้โดยการรับประทาน มักจะผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกที่ตับ ถ้าขบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เสื่อมประสิทธิภาพ จะทำให้มีระดับยาในเลือดสูง จนอาจเกิดอันตรายได้
 
3.
ความไวต่อยาที่ออกฤทธิ์ ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบการทำงานของ หลอดเลือดและหัวใจ ผู้สูงอายุมักจะมีความไว ต่อยาที่ออกฤทธิ์บริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดอาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น
 
4.
ความจำของผู้สูงอายเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจจะมีอาการหลงลืมได้ง่าย อาจเกิดปัญหาการใช้ยาไม่ครบตามที่กำหนด หรือการใช้ยาซ้ำซ้อน อาจทำให้เชื้อดื้อยา รักษาไม่หาย หรือเกิดอาการเป็นพิษ เนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดได้
 
5.
น้ำหนักผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักน้อย หรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ จำเป็นต้องพิจารณาขนาดยาให้เหมาะสม
 
6.
โรคในผู้สูงอายุ ซึ่งมักเป็นหลายโรค ถ้าต้องพบแพทย์หลายคน มีโอกาสได้รับยาซ้ำซ้อน จึงอาจได้รับยาเกินขนาดได้


ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาของผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้สูงอายุและผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุควรปฏิบัติดังนี้

 
1.
แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ ยิ่งถ้าผู้สูงอายุนั้นไม่มีแพทย์ประจำตัว หรือเปลี่ยนแพทย์บ่อยๆ จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์แต่ละคน ทราบถึงยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือนำยาที่รับประทานอยู่ประจำไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาการจ่ายยาของแพทย์
 
2.
แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะอาการนั้น อาจจะเป็นอาการที่เกิดจากยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ เช่น ใช้ยาไปแล้วมีอาการหูตึง ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน เป็นต้น
 
3.
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะได้เลือกชนิดยาที่เหมาะสม เช่น ให้ยาน้ำแทนยาเม็ด เป็นต้น
 
4.
สอบถามแพทย์เกี่ยวกับข้อบ่งชี้ และผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิดให้ชัดเจน เช่น จะหยุดยานี้ได้เมื่อใด ขณะทำงานจะรับประทานยานี้ได้หรือไม่
 
5.
สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับอาหารที่รับประทานว่า มีผลต่อการใช้ยาหรือไม่ อย่างไร
 
6.
อ่านฉลากยา และปฏิบัติตามคำแนะนำทุกขั้นตอน ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
 
7.
รับประทานยาตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด ในรายที่มีอาการหลงลืม ควรใช้สิ่งช่วยจดจำ เช่น ปฏิทิน หรือกล่องใส่ยาชนิดที่รับประทานช่องละหนึ่งครั้ง หรือให้ผู้ดูแลคอยจดจำแทน เพื่อจะได้ไม่ลืมรับประทานยา และป้องกันการรับประทานยาซ้ำซ้อน

         

ปัญหาสำหรับการใช้ยาในผู้สูงอายุนั้น นอกจากจะมาจากตัวยาแต่ละชนิดเองแล้ว ยังมาจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในตัวผู้สูงอายุเองด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการดูดซึมยา เป็นต้น ดังนั้นควรให้ความสนใจ ในการใช้ยาของผู้สูงอายุเป็นพิเศษ โดยตัวผู้สูงอายุก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับ ยาที่ใช้ให้มากเช่นกัน เพื่อจะได้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยมากที่สุด

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม
 
ชะลออัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
 
อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ
 
หลายคำถามผู้สูงวัยอยากรู้
 
คุมเบาหวานให้อยู่หมัดในผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.