สมอง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญยิ่งของเรา ว่ากันว่าการทำงานของสมองนั้น มีความสลับซับซ้อนและสมบูรณ์แบบ ยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์เสียอีก และหน้าที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ก็คือการบันทึกความจำ
ความจำ เริ่มต้นด้วยกระบวนการ ที่สมองรับรู้ข้อมูลจากสิ่งเร้าทั้งหลาย และกลั่นกรองส่วนสำคัญ เพื่อเก็บบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ ซึ่งความทรงจำแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
|
1. |
ความจำทันที (immediate memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที |
|
|
ความจำระยะสั้น (short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน |
|
3. |
ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้น มาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ |
เมื่ออายุมากขึ้น สมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น เช่น อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว ซึ่งเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า กระบวนการความจำในร่างกายมนุษย์ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง
อย่างไรก็ตาม ความเครียด ถือได้ว่าเป็นศัตรูร้ายของอาการหลงลืมเช่นกัน เพราะยิ่งเครียดมากเท่าไหร่ อาการหลงลืมก็จะทวีคูณขึ้นเท่านั้น ส่วนภาวะสมองเสื่อมนั้น ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม นึกคำพูดไม่ออก หลงทาง และบุคลิกภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิม จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม ซี่งสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมก็คือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายสมองเสื่อม
|
1. |
รับประทานยาหลายๆ ชนิดพร้อมกัน และยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อสมอง |
|
|
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน |
|
3. |
ได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ |
|
4. |
มีอาการเครียดเป็นประจำ และมีอาการซึมเศร้า |
|
5. |
มีอาการของโรคต่อมไธรอยด์ |
|
6. |
เป็นโรคหลอดเลือดสมอง |
หลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมทำได้ ดังนี้
|
1. |
งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด |
|
|
ระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำ ไปให้แพทย์ดูด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน |
|
3. |
ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ |
|
4. |
สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการหกล้มในห้องน้ำได้ |
|
5. |
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือด เพื่อตรวจหาเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง |
|
6. |
หมั่นไปตรวจความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้ |
|
7. |
หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ จะต้องระมัดระวังไม่ให้หักโหมจนเกินไป แต่เพราะแทนที่จะเกิดประโยชน์อาจทำให้เกิดโทษได้ |
|
8. |
หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร |
|
9. |
เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที |
เทคนิคและวิธีพัฒนาความจำ
|
1. |
พยายามตั้งสมาธิเมื่อปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ |
|
|
พยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งหนึ่งสิ่งใด และถ้าภาพประทับใจ ก็ยิ่งทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น |
|
3. |
เลือกจำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเท่าที่จำเป็นเท่านั้น |
|
4. |
ควรมีสมุดบันทึกพกติดตัวตลอดเวลา เพื่อใช้จดข้อมูลต่างๆ กันลืม |
|
5. |
พยายามจัดหมวดหมู่สิ่งของไว้เป็นพวกๆ เก็บเป็นที่เป็นทาง เพื่อความสะดวกในการใช้งานและไม่สับสน |
|
6. |
ทำทุกเรื่องด้วยสติ และรอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจก็ตรวจทานอีกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด |
|
7. |
พยายามลดความตึงเครียด เช่น หางานอดิเรกทำในยามว่าง, ออกกำลังกาย, นั่งสมาธิ เป็นต้น |
สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมเป็นประจำ ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะอาการหลงลืมเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ และท่านอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมก็ได้ ส่วนผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อม หรือสงสัยว่ากำลังจะมีอาการ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุด เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที
ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ
|