เป็นเวลามากกว่า 50 ปี ที่วงการแพทย์ทราบว่า เยื้อบุช่องท้อง สามารถทำหน้าที่เป็นตัว กรองของเสียแทนไตได้ โดยการใช้น้ำยาที่คล้ายเลือด เป็นตัวพาเอาของเสียออก จึงมีการรักษาโรคไตวาย ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ด้วยการล้างช่องท้องมานานแล้ว แต่ต้องทำเป็นครั้งคราว แต่ละครั้งต้องใส่สายเข้าช่องท้องด้วย Trocath ทิ้งไว้ 2-3 วัน เมื่ออาการดีขึ้น ก็เอาออก เรียกว่า Intermitteut Peritoneal Dialysis
วิธีนี้มีอันตรายจากการใส่ Trocath เข้าช่องท้อง อาจแทงทะลุลำไส้ มีเลือดออก และทิ้งไว้นาน จะติดเชื้อในช่องท้อง อันตรายจากการติดเชื้อ จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทำ ต้องใช้แรงงานพยาบาลมาก ในการเปลี่ยนน้ำยา ในประเทศที่เจริญแล้ว จะไม่ทำวิธีนี้แล้ว แต่ในประเทศไทยยังนิยมทำ เพราะสามารถทำโดยแพทย์ทั่วไป แพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษ น้ำยามีขายทั่วไป ทำได้ในโรงพยาบาลทุกขนาด แต่เนื่องจากมีผลแทรกซ้อน ดังกล่าวข้างต้น ใช้กำลังคนในการเฝ้าดูแล เปลี่ยนน้ำยา ใช้น้ำยาจำนวนมาก และการรักษาไม่มีประสิทธิภาพ เพราะอัตราการขจัดของเสียต่ำ เมื่อหยุดทำ ของเสียก็เพิ่มกลับดังเดิม
ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ยังมีการรักษาที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ คือ การล้างช่องท้องถาวร หรือ CAPD ย่อมาจาก Continuous Ambulatory Peritaneal Dialysis เป็นวิธีการรักษาที่พัฒนามาจาก การล้างช่องท้องชั่วคราว โดยการใส่ท่อถาวร เข้าช่องท้อง ท่อนี้จะฝัง โดยมีปลายหนึ่งเข้าช่องท้อง อีกปลายหนึ่งต่อกับถุงน้ำยาด้านนอก โดยยึดติดไว้กับผนังหน้าท้องอย่างถาวร เราจะฝึกให้ตัวผู้ป่วยเองหรือญาติ เปลี่ยนน้ำยาเองโดยวิธีดังนี้ ต่อถุงน้ำยาเข้ากับสายถาวร ที่ผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง ปล่อยน้ำยาเข้าจนน้ำยาหมดถุงปิดไว้ ระหว่างนี้จะมีการขับของเสีย และน้ำที่เกินออกโดยเยื้อบุช่องท้อง ของเสียและน้ำที่เกินจะเข้าไปอยู่ในน้ำยา ตลอดเวลาผู้ป่วยสามารถทำงานได้ เมื่อครบเวลา 4-6 ชั่วโมง จะปล่อยน้ำยาออก และเปลี่ยนเอาถุงน้ำยาใหม่ใส่เข้าไปในช่องท้อง วันหนึ่งจะใช้น้ำยา 6-8 ลิตร โดยวิธีนี้ของเสียและน้ำที่เกิน จะถูกขับออกตลอดเวลา มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เหมือนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แต่มีข้อดีกว่า ดังต่อไปนี้
|
1. |
ผู้ป่วยทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางมาหน่วยไตเทียม และเสียเวลาฟอกเลือด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4-6 ชั่วโมง |
|
|
ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และไม่ต้องอาศัยพยาบาลผู้เชียวชาญไตเทียม |
|
3. |
รับประทานอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะผัก ผลไม้ เพราะมีการล้างของเสียออกตลอดเวลา ไม่เกิดภาวะโปแตสเซียมเกิน จนเป็นพิษต่อหัวใจ |
|
4. |
ผู้ป่วยสูงอายุ ที่หัวใจทำงานไม่ดี การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แต่ละครั้งมีผลต่อหัวใจ อาจมีความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นผิดปกติ |
|
5. |
ผู้ป่วยสูงอายุ หรือเส้นเลือดแข็ง หรือเด็กเล็กที่มีหลอดเลือดขนาดเล็ก จะมีปัญหาเรื่อง Vascular access ที่ใช้ฟอกเลือด การล้างช่องท้องถาวร ไม่ต้องใช้เส้นเลือดจึงเหมาะสมกว่า |
พลตรีแพทย์หญิงอุษณา ลุวีระ
แพทย์อายุรกรรมโรคไต
|