เมื่อพูดถึง โรคไต คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งหมายถึง การสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างถาวร และถ้าเข้าสู่ ระยะสุดท้าย ก็ต้องได้รับการฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ จริงๆ แล้ว โรคไต มีอยู่หลายชนิด แต่ก่อนที่เราจะรู้จักโรคไตนั้น ควรทำความรู้จักกับไตก่อน
ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว หน้าที่สำคัญของไต คือ
|
1. |
ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย |
|
|
รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรอและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ |
|
3. |
ควบคุมความดันโลหิต |
|
4. |
สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก |
ไต เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ
โรคไตและระบบปัสสาวะ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
|
1. |
โรคที่เกิดจากการอักเสบ ในส่วนของไตที่มีหน้าที่กรอง (โกสเมอรูรัส - GLOMERULUS) หรือเกิดจากภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ กลุ่มอาการเนฟโฟติค (NEPHROTIC) และไตอักเสบ (NEPHRITIS) |
|
|
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ที่เป็นท่อเล็กๆ (TUBULE) และเซลล์ที่ผยุงไตให้เป็นรูปร่าง (INTERSTIJIUM) ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่า โรคของ TUBULO INTERSTITIUM โรคที่พบบ่อย คือ การตายของเนื้อเยื่อที่ท่อไต (ACUTETUBULAR NECROSIS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ไตวายเฉียบพลัน |
|
3. |
โรคติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อจากบคทีเรีย ของทางเดินปัสสาวะ |
|
4. |
โรคที่เกิดจากการอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว เป็ฯต้น |
|
5. |
โรคไตที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต |
|
6. |
เนื้องอกในไต |
|
7. |
โรคทางด้านร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะทำให้ การทำงานของไตเสื่อมลง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง |
ภาวะไตวายคือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
|
1. |
ไตวายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันทำให้เกิดการคั่งของ ของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และ การควบคุม ปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรัดษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติ ของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ช๊อกจากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึง ช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้ |
|
|
ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE OF RENAL FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษา แบบทดแทน (เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไต) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ |
อาการและสัญญาณบอกเหตุ ของผู้ป่วยโรคไต
|
1. |
ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ |
|
|
มีโปรตีนหรือไขขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะที่ออกมามีฟองมาก และฟองไม่สลายตัวไปง่ายๆ (การมีฟองในปัสสาวะเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ) |
|
3. |
อาการบวมรอบๆ ตาและข้อเท้า |
|
4. |
อาการปวดหลัง จะปวดบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวที่ขาหนีบ และลูกอัณฑะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้น เหนือกระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้น พร้อมกับอาการไข้และหนาวสั่น แสดงว่ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนบน คืแท่อไตและกรวยไต สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ คือ อาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับไตเสมอไป เนื่องจจากส่วนหลังของร่างกาย ยังมีกระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ความเป็นจริงที่พบคือ โรคไตส่วนใหญ่ที่พบ ก็ไม่ได้มีอาการปวดหลัง |
|
5. |
ปัสสาวะลำบาก สาเตุจากนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต |
|
6. |
อาการของไตวาย ผู้ป่วยที่ไตวายไม่มากนักจะไม่ปรากฎอาการให้เห็น แต่จะทราบโดยการเจาะเลือด ตรวจดูการทำงานของไต ที่สำคัญ คือ ระดับยูเรียไนโตรเจน (BLOOD UREA NITROGEN - BUN) และระดับเครียตินิน (SERUM CREATININE) เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการที่เราเรียกว่า "กลุ่มอาการยูรีเมีย" ซึ่งเกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติ ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั้งตัว บวมที่ส่วนหน้าและส่วนขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืน และเกิดหัวใจล้มเหลว |
การล้างไต
ที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เนื่องจากการล้างไต เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้น กรณีผู้ป่วยยังไม่มีอาการทางยูรีเมีย เช่น ยังรู้สึกสบายดี ไม่เพลีย ไม่คลื่นไส้ สมรรถภาพหัวใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และไม่มี ภาวะทุโภชนาการ แพทย์จึงดูแลแบบประคับประคองไปก่อน บางครั้งแพทย์ที่ดูแลจะใช้ผลเลือด เป็นเกณฑ์ในการแนะนำ ให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมล้างไต คือ ค่าซีรัม BUN ควรจะเกิน 100 mg/d หรือค่าซีรัมเครียตินิน ควรเกิน 9 mg/d ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรมีกาอารยูรีเมียร่วมด้วย
ข้อบ่งชี้ที่แน่นอนและชัดเจนของผู้ป่วยที่ควรเริ่มทำการล้างไต
|
1. |
ผู้ป่วยที่มีการทำงานของสมองผิดปกติ ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว |
|
|
มีการอักเสบของเยื้อหุ้มปอด และเยื้อหุ้มหัวใจจากยูรีเมีย |
|
3. |
มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย เ่นมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง |
|
4. |
มีภาวะน้ำเกินหรือหัวใจล้มเหลวบ่อยๆ |
|
5. |
มีโพแทสเซียมในเลือดสูงบ่อย ๆ และไมาสามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยา |
|
6. |
มีภาวะเป็นกรดในเลือด และไม่สามารถควบคุมโดยการให้ยารักษา |
|