หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจด้วยบอลลูน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 

ก่อนหน้านี้ การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบ หรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า มักจะเกิดจาก การอุดตันของไขมันนั้น มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่ค่อนข้างได้ผล นั่นคือ การผ่าตัดหัวใจ หรือการตัดต่อทำทางเดินของหลอดเลือดใหม่ หรือ ที่เรามักจะได้ยินว่า การทำ CABG หรือการทำ "Bypass" นั่นเอง

แต่ปัจจุบันวงการแพทย์ ค้นพบวิธีการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาแก้ไข ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างได้ผล และ ช่วยชลอ หรือไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้วิธีผ่าตัดอีกต่อไป วิธีนี้เรียกว่าการทำ PTCA หรือ " การขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ด้วยสายสวนพิเศษชนิดบอลลูน "

P = Percutaneous หมายถึง การรักษาที่ใช้วิธีแทงเข็มเล็กๆ ผ่านผิวหนัง (ไม่ใช่การผ่าตัด) ซึ่งอาจจะเป็นขาหนีบหรือแขน แล้วใส่สายสวนหัวใจเข้าไปฉีด สารละลายทึบรังสีเอ็กซเรย์ ตรวจวิเคราะห์ดูสภาพของหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงหัวใจ
T = Transluminal หมายถึง การรักษาที่ถูกกระทำภายในท่อ (หลอดเลือด) ของเส้นเลือดแดงที่เกิดโรค
C = Coronary หมายถึง การรักษานี้เป็นการกระทำสำหรับเส้นเลือดโคโรนารี่
A = Angioplasty หมายถึง การรักษาโดยใช้สายสวนที่มีลูกโป่ง (Balloon) เล็กๆ อยู่บริเวณส่วนปลายของสายสวน แพทย์จะพยายามใส่สายสวนนี้เข้าไป ให้ถึงบริเวณหลอดเลือดที่ตีบแคบ (โดยมีลวดนำ) จากนั้นจะใส่ลมเข้าไปให้ลูกโป่งนั้นพองออก ตรงตำแหน่งของหลอดเลือด ที่ตีบแคบพอดี แรงกด ของลูกโป่งจะดัน ผนังของหลอดเลือดที่ตีบแคบ ให้ขยายออก ทำให้เลือดที่มี ออกซิเจนไหลผ่านหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น อาการเจ็บจุก หรือแน่น หน้าอกก็จะหายไป

การรักษาด้วยวิธีนี้ จะกระทำภายในห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์พิเศษโดยเฉพาะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ความสำเร็จในการขยายหลอดเลือด มากกว่าร้อยละ 90 หลังการรักษาท่าน จะได้รับคำแนะนำให้พักในโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 วัน เท่านั้น ก็จะสามารถกลับบ้านได้ การขยายหลอดเลือด ด้วยบอลลูนนี้มีเสี่ยง (ต่อการเสียชีวิต) บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม อัตราเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 2 (น้อยกว่าการที่ไม่รักษา) ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย (ประมาณร้อยละ 5) คือ เลือดออก หรือ อันตรายต่อหลอดเลือดที่ขา (ตำแหน่งที่แทงเข็ม) ซึ่งสามารถแก้ไขได้

หากท่านได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ถึงการรักษาชนิดนี้ ท่านจะได้รับคำแนะนำการเตียมตัวล่วงหน้า จากแพทย์ของท่าน โดยละเอียด เช่น ท่านต้อง งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ เป็นต้น

สิ่งที่ท่านควรทราบอีกประการหนึ่ง คือ การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะด้วยยา การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด ไม่ได้ช่วยให้ท่าน "หายขาด" จากโรค เพียงแต่ช่วยลดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในบางรายช่วยลดอัตราตายในระยะยาวลง


นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thaiheartweb.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
การตรวจสำหรับโรคหัวใจ
 
อาการโรคหัวใจ
 
ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ
 
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
 
โรคหัวใจขาดเลือด
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.