โรคหัวใจขาดเลือด |
---|
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แต่ก็อาจจะเป็นอาการของโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้ คนทั่วไปมักจะคิดว่า อาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเจ็บหน้าอกด้านซ้าย เกิดจากโรคหัวใจ จึงเกิดความกังวล ความกลัวว่า จะมีอันตรายถึงชีวิตจากหัวใจวาย โดยทั่วไป อาการเจ็บหน้าอกพบได้บ่อย ในชีวิตประจำวัน ของคนทั่วๆ ไป อาการเจ็บหน้าอก เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการเจ็บในหลอดอาหาร ปอด เยื่อหุ้มปอด หรือในกล้ามเนื้อ และพังผืดผนังหน้าอก โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการตีบ ทำให้เลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดออกซิเจนชั่วขณะ เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาการจะทุเลาเมื่อพัก และถ้าเส้นเลือดที่ตีบ เกิดอุดตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้เกิด อาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง อาจมีอาการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน ก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาลได้ อาการเจ็บหน้าอกจากหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการเสียสมดุลย์ ของการใช้ออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ ในคนปกติ หรือผู้ที่มี หลอดเลือดหัวใจตีบเล็กน้อย การไหลเวียนของเลือด เพียงพอที่จะส่งออกซิเจน ให้กล้ามเนื้อหัวใจ แม้ว่าจะทำงานอย่างหนักก็ตาม ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น จะมีอาการเจ็บหน้าอก เมื่อมีการออกกำลัง เพราะกล้ามเนื้อหัวใจ ต้องการออกซิเจนมากขึ้น แต่ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีจำกัด เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อาการจะดีขึ้นเมื่อพัก ความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง อาการเจ็บหน้าอกมักจะเป็นไม่เกิน 10 นาที เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ระยะเวลาที่ออกกำลังจะน้อยลง อาการเจ็บหน้าอก จะเกิดเร็วขึ้นตามลำดับ และถ้ามีอาการอุดตัน ของหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ กล้ามเนื้อหัวใจที่หลอดเลือดตันไปเลี้ยง จะตาย อาการเจ็บหน้าอก จะเป็นอยู่นาน และต่อเนื่องมากกว่า 15 นาทีขึ้นไป และอาการจะไม่ทุเลา แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ เลย ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก จากโรคหัวใจขาดเลือด เป็นอาการเจ็บปวดเหมือนถูกกดดัน ผู้ป่วยมักจะบรรยายว่า มีอาการแน่นหน้าอก เหมือนถูกกด ถูกบีบ หรือรู้สึกแน่น กลางหน้าอก อาการเหล่านี้ อาจร้าวไปยังหัวไหล่ แขน คอ ขากรรไกร หรือหลังก็เป็นได้ บางคนอาจมีความรู้สึกเหมือนมีเชือดรัด หรือมัดรอบหน้าอก อาจมีอาการเหงื่อออกอย่างมาก ตัวเย็น วิงเวียน คลื่นไส้ และอ่อนแรง ระยะเวลาของการเจ็บหน้าอก และความรุนแรงของอาการเจ็บ ขึ้นอยู่กับสภาพหลอดหัวใจว่าตีบน้อย ตีบมาก หรืออุดตันโดยสิ้นเชิง และความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าออกกำลัง หัวใจต้องทำงานหนัก ต้องการออกซิเจนมากขึ้น อาการเจ็บหน้าอกก็จะเป็นมาก และนานกว่า ในขณะพักการทำงานของหัวใจลดลง ความต้องการออกซิเจนก็จะลดลง อาการเจ็บหน้าอกจะลดลง ใครบ้างที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด มักจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อ ก็จะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ได้เร็วกว่าผู้อื่น และมักจะมีความรุนแรงของโรค มากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดการวินิจฉัยเบื้องต้น ที่สำคัญที่สุด คือ อาการเจ็บหน้าอก ดัง ได้กล่าวแล้วข้างต้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หลายข้อ มีอาการเจ็บหน้าอก เหมือนถูกกดทับ หรือเหมือนถูกบีบรัด เป็นมากเวลาออกกำลัง ทุเลาลงเวลาพัก อาการมักจะหายไป ใน 10-15 นาที ในกรณีที่มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีเหงื่อออกมาก วิงเวียน คลื่นไส้ มือเท้าเย็น เขียว หรือมีอาการหมดสติ พักแล้วไม่ดีขึ้น มักเกิดจาก หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ต้องรีบนำผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตโดยกระทันหันได้ ในกรณีที่หลอดเลือด หัวใจตีบเล็กน้อย อาจจะไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเลย หรือเจ็บเล็กน้ อย เมื่อเวลาออกกำลังกายหนักเท่านั้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบน้อย คลื่นไฟฟ้าหัวใจมักจะปกติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่สามารถนำเลือด และออกซิเจน ให้กล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น จึงช่วยในการวินิจฉัย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ นอกจากนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย ยังช่วยบอกความรุนแรง ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และสมรรถภาพของหัวใจได้อีกด้วย ปัจจุบันการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังกาย ทำโดยให้เดินบนสายพาน และมีการบันทึกกร๊าฟของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความดันโลหิตตลอดเวลา ที่ออกกำลังกาย และในระยะพัก หลังออกกำลังกาย เพื่อเปรียบเทียบกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในขณะที่ยังไม่ได้ออกกำลังกาย การตรวจพิเศษอย่างอื่น ที่ช่วยในการวินิจฉัย โรคหัวใจขาดเลือด เช่น การฉีดสารกัมมันตภาพรังสี และใช้เครื่องมือตรวจจับสารเหล่านี้ ซึ่งจะปรากฏที่กล้ามเนื้อหัวใจ และนำภาพเหล่านี้มาเปรียบเทียบกัน ระหว่างในขณะพัก กับในขณะออกกำลังกาย ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาพที่ได้ขณะออกกำลังกาย จะมีการขาดหายไปของสารกัมมันตภาพรังสี ในบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดไปเลี้ยง การวินิจฉัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น สำหรับวิธีการตรวจเพื่อยืนยัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ การฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ โดยการใช้สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดแดง เข้าสู่เส้นเลือดหัวใจ และมีการบันทึกภาพขณะฉีดสารทึบรังสี ผ่านเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ นอกจากจะเห็นลักษณะการตีบของเส้นเลือดหัวใจแล้ว ยังช่วยในการวางแผน การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในขั้นตอนต่อไปด้วย การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดโรคหัวใจขาดเลือดเนื่องจาก เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เกิดตีบหรืออุดตัน โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทางที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้น โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น จะชะลอการเกิดโรคนี้ ก่อนวัยอันควรจะเป็น หรืออาจจะไม่เป็นเลยก็ได้ ในผู้ที่มีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดเป็นครั้งแรก คือมีอาการเจ็บหน้าอก เวลาออกกำลังกาย หรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ควรพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง พร้อมทั้งจะได้รับการรักษา และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ยังดีอยู่ จะได้ทำงานเป็นปกติต่อไปได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดประกอบไปด้วย
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่มาพบแพทย์ ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ต้องการการรักษาต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่จะตามมาซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้
นายแพทย์ภาณุ สมุทรสาคร |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 11 - www.ram-hosp.co.th/books | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |