ชนิดของการตรวจ |
ข้อเด่น |
|
ข้อด้อย |
ตรวจร่างกายทั่วไป |
เป็นการตรวจร่างกายทั้งตัว ไม่เฉพาะระบบหัวใจ ทำให้ ทราบว่ามีปัญหาอื่นๆ ด้วยไหม ได้ทราบความดันโลหิต มีอะไรที่บ่งชี้ว่ามี ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ เป็นต้น |
|
ในบางโรค จะตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ เลยก็ได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หรือ ความผิดปกติใน การนำไฟฟ้า ในหัวใจ สำหรับโรคของลิ้นหัวใจ การตรวจร่างกาย ให้ประโยชน์ระดับหนึ่ง แต่บ่อยครั้ง ที่ไม่เพียงพอ ในการวินิจฉัย หรือ ให้ คำแนะนำผู้ป่วย
|
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
EKG |
ไม่เจ็บตัว สามารถบอกจังหวะ การเต้นของหัวใจในขณะนั้น บอกขนาดหัวใจได้บ้าง บอกการนำไฟฟ้าในหัวใจ และบอก ว่าเคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนไหม |
|
คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ไม่ได้หมายความว่า หัวใจปกติ ในขณะเดียวกัน คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ดู ผิดปกติ ก็ไม่ได้ แปลว่าหัวใจผิดปกติเสมอไป มีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อ การแปลผลด้วย เช่น น้ำหนัก อายุ อาการขณะตรวจ เป็นต้น
|
เอกซเรย์ปอด |
ไม่เจ็บตัว เห็นทั้งปอดและขนาดหัวใจ ปอดและหัวใจมี ความสัมพันธ์กันอย่างมาก ภาวะหัวใจล้มเหลว จะทำให้เกิด น้ำคั่งในปอด ซึ่งเห็นได้จากเอกซเรย์ ซึ่งเป็นการตรวจที่ดี สำหรับภาวะนี้ และ ช่วยแยกสาเหตุต่างๆ ในกรณีที ่ผู้ป่วยมีอาการหอบ เหนื่อย ว่าเกิดจากปอดหรือหัวใจ |
|
การตรวจขึ้นกับ คุณภาพฟิล์ม และเทคนิคด้วย รวมทั้งขนาดตัวผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ขนาดหัวใจ ดูโตจากเอกซเรย์ แต่ความจริงแล้วปกติ การตรวจนี้ไม่ได้ มองเห็นทุกอย่าง ตามที่เข้าใจกัน ในความเป็นจริง แล้วเห็นเพียง "เงา" เท่านั้น จึงต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ด้วย
|
ตรวจเลือด |
สามารถบอกได้ในกรณีที่ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายขึ้นแล้วเท่านั้น (เฉียบพลัน) และเป็นการตรวจดูปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหัวใจ
เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
|
|
ไม่มีการตรวจเลือดใดๆ ที่มีความจำเพาะต่อหัวใจ เช่น ตรวจแล้วรู้ว่าเป็นโรคหัวใจ ต่างจากเบาหวาน ที่เราทราบจากการตรวจเลือด
|
อัลตราซาวน์หัวใจ
หรือ เอคโค่
Echocardiogram |
ไม่เจ็บตัว สามารถเห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจได้ดี บอกความสามารถในการบีบตัว ของกล้ามเนื้อหัวใจได้ดี เห็นช่องเยื่อหุ้มหัวใจ |
|
ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนในทุกราย โดยเฉพาะ ในคนอ้วน หรือ โรคปอด อาจมองไม่เห็นหัวใจ จากการตรวจผ่านทางหน้าอกเลย อาจจำเป็นต้องสอด เครื่องมือ (ท่อ) ลงทางหลอดอาหาร เพื่อให้ เครื่องมืออยู่ใกล้ หัวใจมากที่สุด ซึ่งเจ็บตัว และอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ (แต่พบน้อย) ที่สำคัญ คือ การตรวจชนิดนี้ ไม่เห็นหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
|
เดินสายพาน
Exercise Stress Test |
ไม่เจ็บตัวแต่เหนื่อย ต้องออกแรง โดยการเดินบนสายพาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของ EKG ขณะออกกำลังกาย การตรวจนี้ ใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด |
|
มีข้อจำกัดมาก เช่น เดินไม่ดี เพราะปวดเข่า หรือ อายุมาก บ่อยครั้งที่ตรวจเสร็จแล้ว ก็ไม่สามารถ สรุปได้ว่าปกติ หรือ ผิดปกติ แม้ว่าการตรวจจะ ให้ผลปกติ แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ 100 % ว่าไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด ในขณะเดียวกันบางราย (เช่น ผู้หญิง หรือ มีความดันโลหิตสูง) ผลการตรวจ ผิดปกติ แต่ความจริง ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด ก็เป็นได้
|
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. |
ไม่เจ็บตัว ให้การวินิจฉัยอาการใจสั่น ใจเต้นผิดปกติ
ว่าเป็นชนิดใด สามารถช่วยในการวินิจฉัย โรคหัวใจขาดเลือด หรือ ช่วยในการพยากรณ์โรคในบางราย
|
|
หากไม่มีอาการใจสั่น ในรอบ 24 ชม. ที่ติดเครื่อง ก็ไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ |
เตียงปรับระดับ
Tilt Table Test |
ใช้ในการวินิจฉัยอาการเป็นลม หรือ วูบ ที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ
|
|
บางครั้งให้ผลไม่แน่นอน (ไม่ 100%) |
สวนหัวใจ และฉีดสีดู
หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
Cath & Angiogram |
สามารถมองเห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ยังดูการทำงานของหัวใจได้ด้วย สามารถวัดความดันในห้องต่างๆ ของหัวใจ |
|
เจ็บตัว (แต่น้อย) มีผลแทรกซ้อนได้ ตั้งแต่เล็กน้อย จน ถึงเสียชีวิต (พบ1/10,000 ราย) ราคาแพง |