หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


จุดประสงค์ของการทดสอบ


มุ่งเน้นการตรวจหา ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วย ที่มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี หลักการ คือ ให้ผู้ป่วย (หรือผู้ที่ต้องการตรวจ) ออกกำลังกาย โดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน) เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และมีการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้ ยังช่วยบอกแพทย์ด้วยว่า ผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และใช้ในการติดตามผู้ป่วย ภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือ การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด

วิธีการทดสอบ

โดยการให้ผู้รับการทดสอบเดินบนสายพาน ต่อขั้ว และสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computer ในขณะที่เดินอยู่ เครื่อง Computer จะบันทึก และแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้า ภายในหัวใจ พร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลา ในขณะทดสอบ จะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชันของเครื่องเป็นระยะๆ ตามโปรแกรมที่จะเลือก ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบ โดยเฉพาะเป็นรายๆ ไป เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบสามารถทราบผลการทดสอบจากแพทย์ ซึ่งจะเฝ้าสังเกตอาการอยู่ ด้วยตลอดการทดสอบได้ทันที

การเตรียมตัวก่อนการทดสอบ

 
1.
ควรงดการรับประทานมื้อหนักๆ หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ประมาณ 2 - 4 ชม. ก่อนการทดสอบ อนุญาตให้รับประทาน อาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำผลไม้ได้
 
2.
ควรสอบถามแพทย์ ถึงยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำว่า ควรหยุดก่อนการทดสอบหรือไม่ เช่น ยา รักษาโรคหัวใจ ยารักษา ความดันโลหิตสูง หรือยา ขับปัสสาวะ เป็นต้น ยาบางชนิด อาจจำเป็นต้องหยุด ก่อนตรวจล่วงหน้า
 
3.
ควรสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมต่อการทดสอบ เสื้อควรเป็นเสื้อที่มีกระดุมเปิดด้านหน้า เพื่อสะดวกในการเตรียมต่อขั้ว และสายนำ ไฟฟ้า ถ้าเป็นรองเท้า ผ้าใบจะช่วยให้การเดินทดสอบสะดวกยิ่งขึ้น
 
4.
ผู้ทดสอบทุกราย จะต้องลงชื่อในใบยินยอมเพื่อรับการทดสอบ ก่อนการทดสอบทุกครั้ง

บุคคลที่ไม่เหมาะต่อการทดสอบชนิดนี้

 
•
ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หรือมีปัญหาปวดเข่า ปวดขาเป็นประจำ เนื่องจากปัญหาทางกระดูก ฯลฯ
 
•
ผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้ หรือมีร่างกายอ่อนเพลีย เพราะจะทำการทดสอบได้ไม่เต็มที่
 
•
ผู้ที่กำลังมีปัญหาท้องเสีย ถ่ายเหลวบ่อย หรือกำลังได้รับยาระบาย เพื่อเตรียมการตรวจชนิดอื่นอยู่

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ขณะออกกำลังกายมีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรงขึ้นได้ แต่พบน้อยมาก

 

 

นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thaiheartweb.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
การตรวจสำหรับโรคหัวใจ
 
อาการโรคหัวใจ
 
ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ
 
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
 
โรคหัวใจขาดเลือด
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.