การตรวจวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าหัวใจ |
---|
วิธีการตรวจ แพทย์จะใส่สายสวนหัวใจขนาดเล็ก เข้าไปยังตำแหน่งต่างๆ ภายในหัวใจ ผ่านทางหลอดเลือดดำที่ขาหนีบ หรือที่ใต้ไหปลาร้า โดยอาจใช้สายสวนหลายสายร่วมกัน และใช้เครื่องเอกซ์เรย์ในการเลือกตำแหน่งที่ถูกต้อง ที่ปลายของแต่ละสาย จะมีความสามารถในการบันทึกไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ ทำให้ทราบว่า มีไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นในหัวใจหรือไม่ และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ ไปกระตุ้น ให้เกิดการเต้นผิดจังหวะที่เป็นอยู่ มาปรากฏต่อแพทย์ได้ หากพบว่ามีวงจรที่ผิดปกติ หรือ มีทางลัดเกิดขึ้นในหัวใจ แพทย์อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ ทำลายวงจรที่ผิดปกติ โดยผ่านทางสายดังกล่าวได้ ซึ่งนับเป็นการตรวจ วิเคราะห์และการรักษาการเต้นผิดจังหวะ ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน การเตรียมตัวก่อนตรวจ การเตรียมตัวเช่นเดียวกันกับ การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ แต่จำเป็นต้องอาศัยแพทย์โรคหัวใจ ที่ผ่านการฝึกอบรม เกี่ยวกับการวิเคราะห์ ระบบไฟฟ้าหัวใจเป็นพิเศษ ผู้รับการตรวจต้องงดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นการตรวจที่ใช้เวลานาน 1-4 ชั่วโมง (แล้วแต่ความยากง่าย และมีการจี้ด้วยคลื่นวิทยุหรือไม่) ในบางราย แพทย์อาจให้ยานอนหลับ หรือยาสลบร่วมด้วย แต่โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะรู้ตัวดีขณะทำการตรวจ อย่างไรก็ตามแม้ว่า การตรวจนี้จะได้ประโยชน์มาก ในการวินิจฉัยโรค แต่ก็มีผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่เลือดออกจากบริเวณใส่สายสวน หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง (ที่แก้ไขได้) ลมรั่วจากปอด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลแทรกซ้อนส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้
นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
อายุรแพทย์โรคหัวใจ |
|||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.thaiheartweb.com | |||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |