แผล หรือปัญหาของเท้าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยพิการ และอาจถึงเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีปัญหาเรื่องเส้นประสาทที่ปลายเท้าเสื่อม
ซึ่งหากมีอาการบาดเจ็บที่เท้า อาจไม่ทราบความรู้สึก นอกจากมีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายเท้าในผู้ป่วยตัน ทำให้สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณ เท้าลดน้อยลง ดังนั้นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจึงอาจเป็นผลร้ายแรงที่รักษาได้อาการ หากขาดการดุแลรักษาจากแพทย์ แผลนั้นอาจรุนแรงจึงถึงขั้นต้องตัดเท้า
โดยมีลักษณะของอาการดังต่อไปนี้
|
|
เท้ามีแผล ผิวเปลี่ยนสี มีตาปลาหรือรอยหนาด้านปูดโปนมากบวม มีตุ่มพอง หรือมีร่องรอยการบาดเจ็บอื่นๆ |
|
|
เกิดเชื้อราที่เท้า |
|
|
เล็บขบ เท้ามีรอยแดง หรือผิวแห้งแตก |
|
|
ปวดเท้า รู้สึกชา หรือเจ็บแปลม และรู้สึกแสบร้อนในเท้า |
ข้อพึงระวังและปฏิบัติในการดูแลเท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
|
|
สำรวจเท้าด้วยตนเองทุกวัน ถ้ามีบาดแผล รอยซ้ำ ผิวเปลี่ยนสี หรือตุ่มพอง แม้นเพียงเล็กน้อย ต้องรีปรึกษาแพทย์ทันที |
|
|
รักษาเท้าให้สะอาด ล้างทุกวัน และเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะที่ซอกนิ้วเท้า |
|
|
ถ้าผิวแห้งเกินไปให้ทาวาสลีน หรือครีมบางๆ เนื่องจากผิวแห้ง อาจทำให้เกิดอาการคัน มีการเกิดรอยแตกได้ง่าย |
การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมดังนี้
|
|
ควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงบ่าย เพราะเป็นเวลาที่เท้าขยายตัวมากที่สุด |
|
|
ขนาดความยาว ของรองเท้าขณะยืน ควรจะยาวกว่านิ้วเท้าที่ยาวที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว |
|
|
ส่วนกว้างของรองเท้าควรจะอยู่บริเวณโคนของหัวแม่เท้า |
|
|
ไม่หลวมหรือคับเกินไป และควรเป็นรองเท้าหุ้มสัน |
|
|
วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าควรมีลักษณะนิ่ม ควรเป็นชนิดที่มีเชือกผูก เพื่อให้ปรับได้ง่ายเวลาที่เท้าขยายตัว |
|
|
ถ้ารองเท้าใหม่อย่าสวมนานเกินวันละครึ่งถึง 1 ชั่วโมง หากใส่รองเท้าคู่ใดเกิดรอยแดงรอยด้าน หรือตุ่มพองที่เท้า นั่นเป็นสัญญาณเตือนของรองเท้าที่ไม่เหมาะสม |
|
|
ไม่ควรใช้รองเท้าแตะชนิดที่มีคีบง่ามนิ้วเท้า |
|
|
ถ้ามีหูดหรือตาปลาควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตัดบางๆ ทุก 6-7 สัปดาห์ |
|
|
งดสูบบุหรี่ |
เมื่อเกิดแผลที่เท้า
ถ้าเป็นแผลขนาดเล็ก หรือตุ่มพอง รักษาบาดแผลให้สะอาดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นและสบู่อ่อน วับแผลให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่นน้ำยาเบตาดีน หรือยาปฏิชีวนะที่เป็นครีม หลีกเลี่ยงการใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด ถ้ามีแผลและไม่ดีขึ้น อักเสบบวมแดงควรไปพบแพทย์
การรักษาควรจะตรวจเท้าอย่างสม่ำเสมอ
|
|
ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการไหลเลือดเวียนเลือด |
|
|
ตรวจดูว่ามีอาการแสดงของเส้นประสาทเสื่อมหรือไม่ |
|
|
ตรวจแผล รอยแตก หูด ตาปลา และลักษณะเล็บ |
ซึ่งนี่อาจเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญของการดูแลเท้าของคุณ
|