หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การรักษา เบาหวาน ด้วยยา
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


การรักษาเบาหวานด้วยยาประกอบด้วย

 
•
ยาควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด เช่น ยากินและยาฉีด (Insulin)
 
•
ยาที่รักษาโรคที่เกิดร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคเกาท์ เป็นต้น
 
•
ยาที่รักษาโรคแทรกซ้อน เช่น ยาป้องกันเส้นเลือดตีบ ยาขนายเส้นหัวใจ (โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ) ยารักษาโรคไตวาย (รวมถึงการฟอกเลือดถ้าจำเป็น) ยารักษาอาการอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ (หรือแตก) ยารักษาตาในกรณีที่โรคแทรกซ้อนทางตา, ยารักษาแผล, ขยายเส้นเลือดที่เท้า, ขา ในกรณีเกิดแผลติดเชื้อเรื้อรัง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าเป็นเบาหวาน 1 โรค มียาพ่วงมาอีกมากมาย ชวนให้ปวดหัวสับสน  แต่ไม่ต้องท้อแท้ ปล่อยให้เป็นเรื่องของพวกหมอๆ เค้าในการพิจารณาต่างๆ ส่วนตัวผู้ป่วยก็คอยปฏิบัติ ตามคำแนะนะของแพทย์ ถ้าสิ่งไหนไม่เข้าใจ ก็สามารถซักถามหมอ (ที่รู้ใจ) เพื่อจะทราบแนวทางอย่างแจ่มแจ้ง ในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเฉพาะยาที่ใช้ลดระดับน้ำตาลเท่านั้น

ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด  เป็นที่ทราบกันแน่นอนแล้วว่า การควบคุมเบาหวานให้ร่างกาย ดำเนินเหมือนคนปกติมากที่สุด ก็โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เอาง่ายๆ ว่าให้น้ำตาลหลังอดอาหาร 6 ชม. อยู่ในช่วง 100-120 (ม.ก. เปอร์เซนต์) ถ้าในคนอายุน้อยๆ, คนท้อง หรือในขณะเจ็บป่วยอย่างอื่นรวมด้วย (เช่น ติดเชื้อ, เส้นเลือดหัวใจหรือสมองตีบ) การควบคุมต้องเคร่งครัดมาก ส่วนในคนสูงอายุควรควบคุม อาจผ่อนคลายได้บ้าง (ไม่ตึงเกินไป) โดยเฉพาะที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ไตวาย เพราะจะทำให้น้ำตาลในบางช่วง ต่ำเกินไป เป็นอันตรายรุนแรงได้

เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง (ตลอดชีวิต) การบริหารยาในผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องสะดวก ดีที่สุดคือควบคุมยังไม่ได้ จึงจะต้องเพิ่มเป็นเช้า, เย็น หรือเช้า, เที่ยง, เย็น, หรือแม้กระทั่งก่อนนอนด้วย (ส่วนน้อย) ซึ่งการใช้ยาหลายๆ ครั้งต่อวัน มักจะเกิดในกรณีผู้ป่วย ต้องนอนรักษาตัวใน รพ. ที่จะต้องรีบลดน้ำตาลลงอย่างรวดเร็ว เช่นมีการติดเชื้อร่วมด้วย, ภาวะน้ำตาลสูงมาก, ก่อนผ่าตัด, ระหว่างผ่าตัด, หรือหลังผ่าตัด เป็นต้น

 
•
ยากิน (ยาเม็ดลดน้ำตาล) เป็นยาในอุดมคติ คือ ถ้าคนไข้สามารถใช้ยากินได้ทุกคนจะดีมาก คือ สะดวก ไม่แพง ทำให้สามารถใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดยา

ยาเม็ดลดน้ำตาลมีหลายแบบ บางตัวไม่ค่อยนิยมใช้ไปแล้ว มีทั้งแบบกินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และกินหลังอาหาร, กินพร้อมอาหารคำแรก วันละ 3 มื้อ ลักษณะการกินยาแบบนี้สำคัญมาก ควรจะอ่านวิธีกินยาให้เข้าใจชัดเจน ถ้าไม่แน่ใจควรสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรให้ชัดเจน เพราะการกินยาผิดวิธี ทำให้ผลของยาไม่เต็มที่ หรืออาจจะเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ ส่วนยากิน แพทย์ก็จะเริ่ม ครึ่งเม็ด – 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า ครึ่งชั่วโมง ขึ้นกับระดับน้ำตาลในเลือด และลักษณะของคนไข้ (เช่น อ้วน, ผอม, ทำงานมาก, น้อย เป็นต้น) จากนั้น ก็จะนัดตรวจเลือด ครึ่ง – 1 เดือน เพื่อปรับยา ถ้าระดับน้ำตาลค่อนข้างคงที่แล้ว ก็จะนัดห่างออกไปเป็น 1-2 เดือน ขนาดยาที่ใช้แต่ละครั้ง อาจจะไม่เท่าเดิม ขึ้นกับระดับน้ำตาลที่วัดได้  และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ในเรื่องการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

ดังนั้น  อาจจะต้องปรับยาอยู่บ่อยๆ จึงจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเลือดและปรับยา เราจะไม่มีทางรู้ระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยทางอื่น นอกจากตรวจเลือด จะใช้อาการเป็นตัวตัดสินได้ยาก เพราอาการเริ่มมี ก็ต่อเมื่อโรคเป็นมากแล้ว  ขนาดของยาในแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะครึ่ง –1 เม็ดตลอด บางคนอาจจะต้องเพิ่มขนาดยา, เพิ่มชนิดไปเรื่อยๆ ระดับหนึ่ง เพื่อให้ควบคุมน้ำตาลได้ ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยว่าตัวยาของเรา ไม่เหมือนคนอื่นทั้งชนิดและปริมาณ  ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ พบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจน้ำตาลและปรับยา หรือคำแนะนำเพิ่มเติมอื่น  แต่ถ้ามีอาการแทรกซ้อน หรือเจ็บป่วยอื่นร่วม, มีอาการไม่สบายขึ้นมา ก็สามารถไปพบแพทย์ก่อนนัดได้
     
 
•
ยาฉีด (Insulin) ยาฉีดมีหลายชนิด (ยี่ห้อ) แต่แบ่งง่ายๆ เป็นออกฤทธิ์สั้น ต้องให้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งขึ้นไป (อาจจะ 3 หรือ 4 ครั้ง) มักใช้เมื่อผู้ป่วยนอนใน รพ. หรือใช้ในกรณีเสริมยาอื่นๆ เป็นครั้งคราว เพื่อให้น้ำตาลลดลงอย่างรวดเร็ว แบบที่ 2 คือ ออกฤทธิ์นาน คือให้วันละครั้ง (เช้า) เป็นส่วนใหญ่ ยกเวนในรายที่ต้องใช้ขนาดยาต่อวันมาก (เช่น เกิน 40 – 50 ยูนิตต่อวัน) อาจจะแยกเป็น เช้า เย็น

ยาฉีด ควรให้ไม่มากกว่าครึ่งชั่วโมง ก่อนอาหาร ปัจจุบันมีการเอายา 2 แบบ ผสมในอัตราส่วนที่พอเหมาะ (70/30) เพื่อให้การควบคุมน้ำตาล ในแต่ละวันคงที่มากที่สุด สรุปแล้วว่า เมื่อแพทย์แนะนำว่า มีข้อบ่งชี้ว่าจะต้องฉีดยาแล้ว ก็จะกะขนาดยาฉีดให้และต้องฉีดยาทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตามสั่ง และนัดมาตรวจเลือดเป็นระยะ เพื่อปรับยา เหมือนการกินยา แต่ในรายที่ดูว่าต้องฉีดยาตลอดชีวิตแน่ๆ แล้ว แพทย์มักจะสอนผู้ป่วยฉีดยาเอง เพราะถ้าฉีดยาเองได้จะสะดวกมาก ในกรณีที่ฉีดยาเอง ตำแหน่งฉีดควรจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากบริเวณหน้าท้องรอบสะดือ, ต้นขาขวา+ต้นขาซ้าย เป็นการฉีดใต้ผิวหนังตื้นไปหรือลึกไปไม่ได้ ไม่ควรฉีดซ้ำที่เดิม ฉีดแล้วไม่นวดหรือคลึงบริเวณที่ฉีด ไม่ออกกำลังกายทันที เพราะจะทำให้การดูดซึมยาเร็วไป หรือช้าไปได้ ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถฉีดยาเอง ญาติก็ควรจะฝึกการฉีด จะทำให้สะดวกมาก ถ้าฉีดเองไม่ได้ จึงจำเป็นต้องไปฉีดที่โรงพยาบาลทุกวัน ยาฉีดทุกชนิดต้องแช่ในตู้เย็น (ช่องธรรมดา) ไว้ตลอด

ข้อ 2 และ 3 ยาที่ใช้ในกรณีที่มีโรคอื่นร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง, ไขมันสูง, โรคตับ และยาที่ใช้เมื่อมีโรคแทรกซ้อน เช่น อัมพาต, ไตวาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีหลายขนานมาก ดังนั้น การที่จะใช้ยาหลายๆ อย่างร่วมกัน และร่วมกับยาเบาหวาน ต้องคำนึงถึงปฏิกิริยาระหว่างกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น ยาลดความดัน บางครั้งมีผลต่อระดับน้ำตาล ทำให้สูงควบคุมยาก, หรือลดลง, หรือกลบอาการน้ำตาลต่ำ, ยาลดความดันบางตัว ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง ยาเบาหวานบางตัว ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว ตีบตันเร็วขึ้น, เมื่อมีโรคบางอย่างเช่น ไตบกพร่อง ไตวาย, ตับแข็ง ยากินลดน้ำตาลเกือบทั้งหมด, (ยกเว้นบางตัว) ไม่ควรใช้ อาจจะทำให้สะสมและน้ำตาลต่ำรุนแรง ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ฯลฯ แต่ไม่ต้องตกใจ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณ์ สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อคนไข้อยู่แล้ว

               

                                   นพ.เชวง  ลิขสิทธิ์

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงเรียนนครพิงค์อภิบาลกิจ - www.popcare.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
เบาหวาน ... น่ารู้
 
สาระ่น่ารู้ - เบาหวาน
 
เบาหวาน เรื่องไม่เบาที่เด็กและวัยรุ่นควรใส่ใจ
 
โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.