หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เบาหวาน - อาการ อาการแทรกซ้อน และการรักษา
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


อาการ


ในรายที่เป็นไม่มาก (ระดับน้ำตาลในเลือด 140-200 มก.ต่อเลือด 100 มล.) อาจไม่มีอาการผิดปกติอย่างชัดเจน และตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือด ขณะที่ไปหาหมอด้วยโรคอื่น ในรายที่มีอาการชัดเจน จะมีอาการปัสสาวะบ่อย (และออกครั้งละมากๆ) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยหิวบ่อย หรือกินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางคนอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น

ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็ว ร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงฮวบฮาบ กินเวลาเป็นสัปดาห์ หรือเดือน เด็กบางคนอาจมีอาการ ปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อาการมักค่อยเป็นค่อยไปเรื้อรัง น้ำหนักตัวอาจลดบ้างเล็กน้อย บางคนอาจมีน้ำหนักขึ้นหรือรูปร่างอ้วน ผู้หญิงบางคนอาจมาหาหมอ ด้วยอาการคันตามช่องคลอด หรือตกขาว บางคนอาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายยาก ผู้หญิงอาจคลอดทารกที่มีตัวโต (น้ำหนักมากกว่าธรรมดา) หรืออาจเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ หรือคลอดทารกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ในรายที่เป็นมานาน โดยไม่ได้รับการรักษา อาจมาหาหมอด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อน ตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยๆ เป็นต้น

สิ่งตรวจพบ

 
•
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มักมีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมันกล้ามเนื้อ ฝ่อลีบ 
 
•
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักมีรูปร่างอ้วน  อาจพบอาการชาตามมือและเท้า  ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก  หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ บางรายอาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย การตรวจปัสสาวะ มักจะพบน้ำตาลในปัสสาวะ ขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป

อาการแทรกซ้อน

มักจะเกิด เมื่อเป็นเบาหวานมานาน อย่างน้อย 5 ปี โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือปล่อยปละละเลย โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น

 
1.
ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตา (retina) เสื่อม หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) ทำให้มีอาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
 
2.
ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อน ตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้มีแผลเกิดขึ้น ที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลาม จนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการวิงเวียน เนื่องจากมีภาวะะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดินตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ) 
 
3.
ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตาย ของผู้ป่วยเบาหวาน ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
 
4.
ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ)
 
5.
เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอับเสบ, กรวยไตอักเสบ, กลาก, โรคเชื้อราแคนดิดา, ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและคันในช่องคลอด, เป็นฝี หรือพุพองบ่อย, เท้าเป็นแผล ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
 
6.
ภาวะคีโตซิส (Ketosis) พบเฉพาะในผู้ป่วย ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ ร่างกายจะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้

การรักษา

หากสงสัยหรือตรวจพบ น้ำตาลในปัสสาวะ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยอดอาหาร (รวมทั้งเครื่องดื่มทุกชนิด) ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือด ที่โรงพยาบาลในตอนเช้า เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด ที่เรียกว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (fasting blood sugar) ซึ่งในคนปกติ จะมีค่า 60-120 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล. ถ้าพบว่ามีค่ามากกว่า 140 มก. ต่อเลือด 100 มล. ในการเจาะตรวจ 2 ครั้ง ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

การรักษา มักจะเริ่มด้วยการแนะนำเรื่อง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตัวอื่นๆ ถ้าคุมอาหารอย่างเดียวไม่ได้ผล อาจต้องให้ยารักษาเบาหวาน

ควรตรวจดู ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ตรวจเลือด (หาระดับไขมันในเลือด, ครีอะตินีน,บียูเอ็น), ตรวจปัสสาวะ, คลื่นหัวใจ เป็นครั้งคราว และตรวจตาโดยจักษุแพทย์ (ปีละครั้ง)

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thailabonline.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
รู้ทันเบาหวาน
 
สาระ่น่ารู้ - เบาหวาน
 
เบาหวานกับไขมันในเลือด
 
เบาหวาน ทำให้ไตวาย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.