หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ไตรกลีเซอไรด์ คือ สารอาหารประเภทไขมัน ที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย โดยตับและลำไส้เล็ก เป็นตัวสร้างไตรกลีเซอไรด์ 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลรี่ ไตรกลีเซอไรด์ละลายอยู่ในเลือดได ้โดยรวมตัวกับโปรตีน ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน

ไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดมีอันตรายหรือไม่

ปัญหาและอันตราย จากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด ทำให้

 
1.
หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต
 
2.
ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ


สาเหตของการเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง

 
1.
กินอาหารไม่ถูกส่วน โดยเฉพาะกินอาหารที่มีไขมันมาก กินน้ำตาลทราย หรือขนมหวานเป็นปริมาณมากเกินไป
 
2.
เกิดจากโรคภัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติ ของระดับไขมันในร่างกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต การดื่มเหล้าเป็นประจำ และขาดการออกกำลังกาย
 
3.
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับไลโปโปรตีน เช่น ร่างกายขาดเอนไซด์ ที่จะย่อยไตรกลีเซอไรด์

ทราบได้อย่างไรว่าจะเป็นโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดหรือไม่
โดยทำการเจาะเลือดตรวจวัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง

การตรวจ

 
1.
งดอาหารทุกชนิด ก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 12 ช.ม.
 
2.
ในคนปกติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ไม่เกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร

แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

 
1.
อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์
 
2.
น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถ นำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์

การป้องกันและบำบัดรักษา

 
1.
ลดปริมาณอาหารไขมัน ที่รับประทานให้น้อยลง โดยโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
 
2.
ลดปริมาณการกินข้าว แป้ง น้ำตาลทราย หรือขนมของหวานต่าง ๆ ให้น้อยลง กินในปริมาณที่พอควร แก่ความต้องการของร่างกายเท่านั้น
 
3.
ควรลดน้ำหนักตัวในรายที่อ้วนมากเกินไป
 
4.
หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
 
5.
งดดื่มเหล้า เนื่องจากเหล้าจะกระตุ้น ให้มีการสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น
 
6.
แพทย์จะให้ยาลดไตรกลีเซอไรด์ รับประทานในรายที่จำเป็น ควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
 
       
    แหล่งข้อมูล : web.ku.ac.th  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
Cholesterol - Triglycerides and Healthy Heart
 
ภาวะไขมันในเลือดสูง
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
ลดระดับโคเลสเตอรอลด้วยอาหาร
 
ปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.