หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ลดระดับ โคเลสเตอรอล ด้วย อาหาร
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ดังนั้น ทุกท่านควรเข้าใจถึงแนวทาง ในการบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริง ที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีภาวะโคเลสเตอรอลสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด

หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญเพื่อป้องกันและลดระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด

 
1.
รับประทานโคเลสเตอรอล ไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม
    โคเลสเตอรอล มีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น มีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด (ดูรายละเอียดในตาราง) จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ ในปริมาณมาก
 
2.
รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอ ต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    โดยผู้ใหญ่ ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20.0-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจาก น้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง หน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง เช่น ถ้าใครมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.5 เมตร จะได้ดัชนีความหนาของร่างกาย = 50/(1.5)2 = 22.2 กก./ตารางเมตร แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
3.
หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
    เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัว ส่วนใหญ่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น (ดูรายละเอียดในแผ่นพับ “ไขมันอิ่มตัวกับภาวะโคเลสเตอรอลสูง ในเลือด” : รศ.ดร. ปรียา ลีฬหกุล )
 
4.
รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก (linoleic acid) โดยสม่ำเสมอ
    ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด การรับประทานอาหาร ที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ (เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000  กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิก ประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลือง ประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ) จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ เพราะมีการเปลี่ยนโคเลสเตอรอลอิสระ เป็นโคเลสเตอรอลไลโนเลเอทเพิ่มขึ้น ทำให้มีการเผาผลาญโคเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านมีโคเลสเตอรอลสูงในเลือด จากสาเหตุอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด ท่านต้องรับประทานยาลดโคเลสเตอรอล และรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้มีโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง โภชนบำบัด จะช่วยเสริมผลการรักษา ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และลดปริมาณการรับประทานยาลงได้

ปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร

 

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.heartandcholesterol.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
Cholesterol - Triglycerides and Healthy Heart
 
ภาวะไขมันในเลือดสูง
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
อาหาร เกี่ยวข้องกับโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างไร
 
การเลือกใช้น้ำมัน สำหรับปรุงอาหาร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.