การรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับโคเลสเตอรอลให้สุขภาพหัวใจดีนั้นไม่ใช่เรื่องยากเพียงจำให้ขึ้นใจแล้วก็ตั้งใจทำด้วย คือ หรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากๆโดยเฉพาะมีกรดไขมันอิ่มตัว และ โคเลสเตอรอลมากๆ ส่วนสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่จำเป็น วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และใยอาหารก็ต้องรับประทานให้ได้สัดส่วนตามหลักโภชนาการและปรับให้เหมาะสมสำหรับสุขภาพคุณ
สิ่งที่ควรรู้...ในการปรุงอาหารเพื่อลดโคเลสเตอรอล
การรู้จักเลือกวิธีประกอบอาหารและส่วนผสมที่เหมาะสม นอกจากจะทำส่วนผสมที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้เมนูโปรดของคุณอร่อยเด็ดแล้วยังมีส่วนช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย ลองอ่านเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการประกอบอาหารข้างล่างนี้ อาจช่วยคุณได้
เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา
ก่อนประกอบอาหาร ควรตัดส่วนที่เป็นหนังและไขมันออกจากเนื้อสัตว์ควรเลือกบริโภคปลาทูน่าประป๋องชนิดในน้ำเกลือ ถ้าเป็นปลาทูน่าในน้ำมันควรเทน้ำมันทิ้งออกให้หมด
หลีกเลี่ยง การประกอบอาหารด้วยการชุบแป้งทอด ซึ่งจะทำให้อมน้ำมัน
ควรใช้ การอบ ต้ม นึ่ง หรือ ย่างแทน และการย่างเนื้อสัตว์ควรย่างบนตะแกรงเพื่อให้น้ำมันหยดออกได้ หลีกเลี่ยงการทาด้วย เนย กะทิ ระหว่างย่าง
แต่ถ้าจำเป็นต้องทอด ควรเลือกใช้กระทะที่ไม่ติดอาหารโดยใช้น้ำมันให้น้อยที่สุด และใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไลโนเลอิก เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว
ส่วนการหมักอาหารควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาล เกลือ กะทิ เนย ในปริมาณมาก แต่อาจไปเพิ่มรสชาติด้วยเครื่องเทศ หรือใช้ ซอสมะเขือเทศน้ำสับปะรดหมักเพื่อเพิ่มรสชาติ
ถ้าจะทำแกงกะทิให้เปลี่ยนมาเป็นแกงป่าแทนซึ่งไม่ใส่กะทิ หรืออาจใช้นมพร่องไขมันแทนกะทิ
ซุป
ซุปใส นำไปใส่ในตู้เย็น หลังทิ้งให้เย็นแล้วตักส่วนที่เป็นไขมันข้างบนออก
ซุปข้น ที่ต้องใช้ไขมันเป็นส่วนประกอบ ให้เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทไขมันต่ำแทน ใช้แป้งข้าวโพด เมื่อต้องการให้ซุปข้น
อาหารประเภทอบ
ให้ใช้เนย นม ที่มีไขมันต่ำ หรือลดปริมาณ เนย นม ที่ต้องใช้ลงจากปกติ ใช้ใข่แดงเป็นส่วนผสมให้น้อยที่สุด
เครื่องปรุงรส
เพิ่มรสชาติอาหารด้วยการเลือกใช้เครื่องปรุงอาหารประเภทสมุนไพร เช่น รากผักชี กระเทียม พริกไทย ขิง ข่า ใบมะกรูด กระชาย ใช้เครื่องปรุงที่มีรสเค็มแต่น้อย งดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานผัก ผลไม้ดอง น้ำจิ้มต่างๆในปริมาณมาก
จะทราบได้อย่างไรรับประทานอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการ
สมาคมแพทย์โรคหัวใจของอเมริกาได้สรุปเป็นคำแนะนำออกมาสำหรับประชาชนวัยผู้ใหญ่ๆทั่วไป ให้เลือกรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนประมาณในตารางนี้ ก็จะทำให้ได้สารอาหารครบถ้วนทุกหมู่ และเหมาะสมกับร่างกายเป็นผลดีต่อสุขภาพ
ประเภทอาหาร |
ปริมาณที่พอเหมาะ |
เนื้อสัตว์ทุกชนิดรวมกันที่ปรุงสุกแล้ว |
ไม่เกิน 170 กรัม/วัน (100 กรัม = 1 ขีด) |
ไข่ไก่ หรือไข่ เป็ด |
ไข่แดงไม่ควรรับประทานมากกว่า 4 ฟอง / สัปดาห์
ไข่ขาวรับประทานได้ไม่จำกัด ถ้าการทำงานของตับ และไตปกติ |
ผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด |
ประมาณ 3 ถ้วยตวง / วัน |
นม และผลิตภัณฑ์จากนมต้องเป็นชนิดไขมันต่ำ |
2-4 กล่อง (กล่องละ 250 มล.)/วัน |
อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน |
ถ้าเป็นข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน รวมแล้วประมาณ 3 ถ้วยตวง/วัน ถ้าเป็นขนมปังปอนด์ ประมาร 7 แผ่น / วัน |
ไขมัน ถั่วเมล็ดแห้ง ขนมหวาน |
เลือกที่มีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลน้อยที่สุด |
โคเลสเตอรอลของคุณสูงหรือเปล่า
ค่า แอล ดี แอล |
|
|
เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคเบาหวาน |
|
ควรน้อยกว่า 100 มก./ดล. |
ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวานและมีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ |
|
ควรน้อยกว่า130มก./ดล. |
ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวานและมีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ |
|
ควรน้อยกว่า160 มก./ดล. |
|
|
|
ค่าไตรกลีเซอไรด์ |
|
ควรน้อยกว่า 150 มก./ดล. |
|
|
|
ค่าเอชดีแอล |
|
ควรมากกว่า 40 มก./ดล. |
ปัจจัยเสี่ยงมี 5 ข้อ
|
1. |
อายุ : ชายเกิน 45 ปี หญิงเกิน 55 ปี |
|
|
มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร (ชายก่อนอายุ 55 ปี ; หญิงก่อนอายุ 65 ปี) |
|
3. |
เป็นความดันโลหิตสูง |
|
4. |
สูบบุหรี่ |
|
5. |
ค่าเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 มก./ดล. |
|