ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
ยาบำบัดมะเร็ง ทำให้ระคายเคืองต่อเซลล์บุทางด้านอาหาร แล้วยังมีผลต่อสมอง ส่วนที่ควบคุมการอาเจียน ดังนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่แพทย์สามารถให้ยาอื่น เพื่อลดอาการดังกล่าว และผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนนิสัย การรับประทานอาหารเพื่อลดอาการ เหล่านั้นจึงรวมถึง การรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อไม่ให้อิ่มเกินไป อย่ารับประทานอาหารที่จืดหรือร้อนจัด ให้ลดของเหลว ระหว่างรับประทานอาหารที่หวานจัด อาหารทอด อาหารที่มัน และอาหารที่มีกลิ่นแรง ควรหลีกเลี่ยง ให้อยู่ห่างจากห้องครัว เวลามีการปรุงอาหาร เพื่อหลีกกลิ่นอาหาร ถ้าต้องการทำอาหารเอง ให้ทำในวันที่คุณรู้สึกแข็งแรง และทำทีเดียว สำหรับหลายมื้อเก็บเอาไว้
ท้องร่วงและท้องผูก อาจมีสาเหตุมาจาก ยาบำบัดมะเร็ง ถ้าท้องร่วงนานเกิน 24 ชั่วโมง ให้แจ้งแพทย์ทราบ ถ้าท้องร่วง ให้รับประทานอาหาร ที่เป็นของเหลวใส เพื่อย่อยง่าย ดื่มของเหลวที่ใช้แทนอาหารมากๆ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสีย หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิด อาการท้องเสีย เป็นตะคริว เช่น กาแฟ, ถั่ว, ถั่วเปลือกแข็ง, กระหล่ำปลี, ผ้าคะน้า, ดอกกะหล่ำ ของหวานและอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงนม และอาหารที่ทำมาจากนม เพราะทำให้อาการท้องร่วมเลวลง เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือน้ำเกลือแร่ เพื่อช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวง่ายขึ้น และรับประทานอาหาร ที่มีกากใยอาหารสูง เช่น รำข้าว, ผักและผลไม้สด ขนมปังที่ทำจากข้าว หรือข้าวสาลีที่ไม่ได้เอารำออก ให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปกติ
ยาบำบัดมะเร็ง อาจเป็นสาเหตุของปาก และคอแห้ง หรือมีแผลเปื่อยในปากและคอ ของเหลว และอาหารที่มีน้ำผสม จะช่วยไม่ให้ปากแห้ง ถ้ามีแผลเปื่อยในปาก ให้ปรึกษาแพทย์
ปัญหาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง
เคมีบำบัด จากระบบเซลล์ปกติและไขกระดูก ไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่ออยู่ในกระดูก ซึ่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด เซลล์เม็ดเลือดแดง นำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากเคมีบำบัด ทำให้อวัยวะต่างๆ และกล้ามเนื้อ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ สภาวะนี้เรียกว่าโรคโลหิตจาง จะมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง มีความเหนื่อยอ่อน เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ ความสามารถของร่างกาย ในการต่อสู้กับแบคทีเรือ และไวรัสจะลดลง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ให้ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงคนหนาแน่น หรือคนที่มีโรคติดต่อ พยายามอย่าทำให้เกิดบาดแผล หรือรอยถลอกที่ผิวหนัง เช่น ใช้ที่โกนหนวดไฟฟ้าชนิดใบมีดโกน ห้ามบีบแกะสิว ห้ามใช้แปรงสีฟันชนิดแข็ง หรือไหมขัดฟัน ถ้ามีบาดแผลหรือถลอกที่ผิวหนัง ให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่นทันที
เกร็ดเลือดช่วยทำให้เลือดหยุดไหล หลังจากได้รับบาดเจ็บ จำนวนเกร็ดเลือดอาจจะลดลง เนื่องจากเคมีบำบัด ในกรณีนี้ แผลบาดหรือแผลฟกซ้ำ อาจเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับ จำนวนเกร็ดเลือดต่ำ ห้ามใช้ยา โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
ผมร่วง
ปกติอาการผมร่วง จะเป็นชั่วคราว ผมอาจเริ่มขึ้นระหว่างการรักษา บางครั้งผมที่ขึ้นใหม่มีสี และสภาพของเส้นผมต่างไปจากเดิม การทำให้หนังศีรษะเย็นลงก่อน หรือหลังการให้เคมีบำบัด ช่วยป้องกัน หรือลดอาการผมร่วงของผู้ป่วยบางคน ปรึกษาแพทย์ว่า การทำให้หนังศีรษะเย็นเหมาะสมหรือไม่
อาการข้างเคียงอื่นๆ
ผุ้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างสม่ำเสมอ ถึงการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้น เช่น รอบประจำเดือนเปลี่ยนไป ความรู้สึกเฉพาะแห่ง คล้ายมีของเหลวคั่ง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ ที่แสดงว่ามีอาการติดเชื้อ หรือมีเลือดไหล
|
|
อุณหภูมิร่างกายเกิน 100 องศาฟาเรนไฮต์ |
|
|
หนาวสั่น สั่น มีเหงื่อออกเวลากลางคืน |
|
|
อาการไออย่างรุนแรง หรือคออักเสบ |
|
|
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นระยะเวลานานและควบคุมไม่ได้ |
|
|
เวลาปัสสาวะมีอาการปวดแสบ |
|
|
ปัสสาวะมีเลือดปน |
|
|
เลือดออกที่เหงือก หรือจมูก หรือมีอาการเขียวช้ำ |
ห้ามใช้ยาทุกชนิดรวมทั้งแอสไพริน เพื่อบรรเทาอาการไข้ และให้ปรึกษาแพทย์
น.อ. ประโพธ เกาสายพันธ์ ร.น.
รองผอ.กวภ.พร.กรมแพทย์ทหารเรือ
|