การรักษาที่บ้าน
การให้เคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยนอก ไม่จำเป็นต้องพักที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาเองได้ สำหรับยาฉีด ต้องให้แพทย์หรือพยาบาล เป็นผู้ให้ที่คลีนิกหรือที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปฉีดที่โรงพยาบาล
เคมีบำบัดชนิดรับประทาน สะดวกที่สุด เพราะผู้ป่วยรับประทานเองได้ เมื่อรับประทานยาเองที่บ้าน คำแนะนำของแพทย์ เกี่ยวกับใช้ยาและเวลา ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ยารับประทาน อาจจะผสมน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่ม เพื่อให้รสชาติดีขึ้น ถ้ามีข้อสงสัย เกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์
อาหารและกิจวัตรประจำวัน
อาหาร
การรักษาสมดุลของอาหารเป็นสิ่งสำคัญ การบำรุงด้วยอาหารที่ดี ช่วยให้ผู้ป่วยต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ อธิบายอาหารประจำวันแก่แพทย์ ซึ่งแพทย์อาจมีข้อแนะนำ ให้ปรับปรุงเกี่ยวกับอาหารประจำวัน เพื่อให้ได้สารอาหารแบบสมบูรณ์
ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด อาจมีความอยากรับประทานอาหาร น้อยกว่าปกติ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารแต่น้อย วันละ 5-6 ครั้ง แทนที่จะรับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อละมากๆ ยาต้านมะเร็งบางครั้ง มีผลทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนแปลง มีรายงานว่าผู้ป่วยจำนวนมาก ความอยากรับประทานอาหาร เนื้อสัตว์สีแดงหายไป เพราะว่าเคมีบำบัด ทำให้รสชาติของอาหารขม เราอาจทำให้รสชาติของอาหารดีขึ้น โดยใช้ซอสถั่วเหลือง หรือน้ำผลไม้ช่วย ในการปรุงอาหาร ภาชนะโลหะ ซึ่งสามารถทำให้รสชาติของอาหารขม ใช้ภาชนะพลาสติก สามารถลดความขมลงได้
ยาต้านมะเร็งบางชนิด มีผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะ และไต อาจต้องรับประทานน้ำ หรือของเหลวเพิ่ม ขึ้นอยู่กับ คำแนะนำของแพทย์ ควรตระหนักว่า แอลกอฮอล์เป็นยาชนิดหนึ่ง ปรึกษาแพทย์ว่า แอลกอฮอล์ แทรกแซงยาต้านมะเร็งหรือไม่ อาจต้องจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ ระหว่างได้รับเคมีบำบัดอยู่ ปรึกษากับแพทย์ถึงการเปลี่ยนแปลง ความอยากอาหาร หรือนิสัยของการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยและแพทย์ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ได้รายการอาหาร ที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ และผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้
กิจวัตรประจำวัน
ให้ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ นอกจากแพทย์แนะนำเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจำเป็นต้องพัก 1 ถึง 2 วัน หลังจากได้รับเคมีบำบัดแต่ละครั้ง ถ้าผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีอาการมึนงง รู้สึกหนาวสั่น หรือมีอาการหายใจไม่ออก แจ้งให้แพทย์ทราบทันที อาจเป็นสัญญาณบอกถึง อาการโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นสภาพที่ จำนวนเม็ดเลือดแดงแต่ำกว่าปกติ ถ้าแพทย์บอกว่า มีอาการโลหิตจาง ให้พักผ่อนให้มาก รับประทานผักใบเขียว เนื้อสัตว์ และตับเพิ่ม เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารมึนงง ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้ว ยังคงมีอาการมึนงง ให้ปรึกษาแพทย์และพยาบาล
น.อ. ประโพธ เกาสายพันธ์ ร.น.
รองผอ.กวภ.พร.กรมแพทย์ทหารเรือ
|