|
|
ว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการทำลายเชื้อโรค และสลายพิษ (Neutralization) ของเชื้อโรค โดยหั่นว่านหางจระเข้เป็นชิ้นๆ ความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เหน็บไว้ที่ซอกฟัน ใช้ฟันขบให้อยู่บริเวณที่ปวด หรือใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำวุ้นว่านหางจระเข้ ป้ายตรงบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว |
|
|
น้ำมันละหุ่ง ทาน้ำมันละหุ่งบริเวณแก้มข้างที่ปวดฟัน และใช้พลาสเตอร์ยาปิดไว้ แล้วใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ หรือแผ่นประคบบริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นนอนพักอย่างน้อย 20 นาที น้ำมันละหุ่งมีสรรพคุณในการระงับปวดได้ดี โดยจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ที่ไปคั่งอยู่กับเชื้อจุลินทรีย์ ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ หรือกับสารที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น ไซโตไคเนส (cytokines) ในกรณีที่ปวดรากฟัน |
|
|
น้ำมันกานพลู มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดฟันได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง บางครั้งหมอฟันจะใช้น้ำมันกานพลูแทนยาที่มีฤทธิ์แรงกว่า เช่น Novocain โดยทาน้ำมันกานพลูบริเวณที่ปวดในช่องปากได้โดยตรง (หากน้ำมันกานพลูเข้มข้นเกินไป อาจทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำมันมะกอก) นอกจากนี้ อาจใช้วิธีอมกานพลูทั้งชิ้นไว้ในปากบริเวณที่ปวดก็ได้ จะทำให้รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว และอยู่นานกว่า 90 นาที หรือนำดอกกานพลูมาทุบแช่น้ำเหล้าขาว แล้วใช้สำลีอุดฟันซี่ที่ปวด |
|
|
น้ำมันกระเทียม ใช้สำลีชุบน้ำมันกระเทียมทาบริเวณที่ปวดฟัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้เหมือนกัน |
|
|
ดาวเรือง ใช้ดอกแห้งประมาณ 7-8 ดอก ต้มกับน้ำสะอาดในประมาณที่พอเหมาะ ดื่มเป็นน้ำสมุนไพรทั้งวัน เพื่อแก้อาการปวดฟัน |
|
|
ผักบุ้งนา นำรากสดของผักบุ้งนาประมาณ 10 กรัม ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำส้มสายชู อมไว้ประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนออกด้วยน้ำสะอาด |
|
|
มะระ นำรากสดของมะระมาตำพอแหลก แล้วพอกฟันซี่ที่ปวด โดยใช้ลิ้นกดไว้สักครู่ใหญ่ๆ |
|
|
กุยช่าย ในกรณีที่ปวดฟันเพราะแมงกิน ฟัน ให้นำเมล็ดกุยช่ายมาคั่วให้เกรียมดำ จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำมันยางแล้วชุบสำลี ยัดในฟันที่เป็นรูโพรง ทิ้งไว้ 1 คืน จะสามารถฆ่าตัวแมงที่กินฟันได้ |