หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ฟันมีความสัมพันธ์กับโรคในระบบอื่นของร่างกายหรือไม่
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


มีความสัมพันธ์โดยตรงกับหลายโรค ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดเพราะการติดเชื้อ กล่าวคือ เมื่อเกิดโรคฟันและโรคเหงือกนั้น สภาวะในช่องปากจะสกปรก และมีเชื้อโรคเพิ่มขึ้นมากมาย บางชนิดเป็นเชื้อที่อันตราย ซึ่งจะถูกกลืนเข้าสู่ร่างกายได้โดยไม่รู้ตัว เชื้อที่ว่านี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ก็แพร่สะพัดไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ลำไส้ ตับ ไต ข้อต่อของกระดูก เป็นต้น ก่อให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบเป็นโรคของอวัยวะเหล่านี้ ต้องไปพบแพทย์เพื่อการรักษา ต้องเสียทรัพย์เสียเวลา บางครั้ง บางรายแม้จะรักษาก็ไม่หายขาด นอกจากนี้ โรคตามระบบบางชนิด ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อฟันและเหงือกด้วย เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคเลือดบางชนิด โรคเหล่านี้มีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ สุขภาพไม่สมบูรณ์ ปัญหาที่เกิดกับฟัน และเหงือกจะรุนแรงขึ้น รักษาให้หายได้ยากขึ้น สรุปได้ว่า โรคฟันและเหงือก เป็นตัวนำปัญหาให้เกิดโรคตามระบบของร่างกาย และโรคทางระบบร่างกายบางชนิด ก็ทำให้โรคฟันและโรคเหงือก มีปัญหาและอาการรุนแรงมากขึ้น

ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารจำพวกใดบ้าง เพื่อช่วยในการถนอมรักษาสุขภาพปากและฟัน  อาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย ทั้งในวันเติบโต และวัยสูงอายุ จำเป็นต้องได้รับอาหารให้ครบทุกหมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันผักและผลไม้ เพื่อใช้อาหารเหล่านี้ เป็นพลังงาน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะในร่างกาย และเพื่อต่อสู้กับโรคประจำตัวด้วย เพราะผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวกันแทบทุกคน รุนแรงบ้างไม่รุนแรงบ้าง อาหารจำพวกผักและผลไม้ เป็นสิ่งจำเป็นมีประโยชน์ ทั้งต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพในช่องปากเหงือกและฟัน

ในด้านสุขภาพร่างกาย จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี เพราะมีกากให้ขับถ่าย ไม่เกิดปัญหาโรคกระเพาะอาหาร หรือโรคลำไส้ ทางด้านช่องปากเหงือกและฟัน ผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีแต่เส้นใยและกาก ทำให้ไม่เกิดเป้นคราบอาหารหรือที่เรียกว่า “คราบพลัค” จับติดผิวฟัน เป็นการช่วยลด ต้นเหตุของการเกิดโรคฟันพุ และโรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทนต์ไปในตัว เพราะโรคฟันและโรคเหงือกที่เกิดขึ้น จะมีแต่อาการเจ็บปวดทรมาน และนำไปสู่การเกิดโรคทางระบบอื่นๆ ได้หรืออาจจะเสริมโรคอื่นๆ ให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจอีกด้วย

อาหารอีกประการหนึ่งคือ อาหารแป้ง น้ำตาลและของหวานต่างๆ ควรลดปริมาณในการบริโภค อาหารพวกนี้ ทำให้เกิดคราบพลัคเกาะติดฟันง่าย ทำให้เกิดคราบหินปูน เหงือกอักเสบ หรือฟันผุ และบางครั้ง ก็มีผลเสียต่อโรคทางระบบด้วย เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

อาหารหวานรับประทานได้แต่อย่าให้มาก หรืออย่ารับประทานเป็นประจำ ฟันปลอมมีชนิดใดบ้าง ฟันปลอมชนิดถอดได้ จะทำในรายที่เสียฟันไปหลายซี่ ฟันปลอมชนิดนี้ จะมีตะขอเกาะกับฟันจริง โดยไม่ต้องกรอฟันจริงเสีย มีส่วนของเพดานปลอมยึด เพิ่มความแน่นกระซับ ขณะใส่จะมีความรำคาญบ้างในระยะแรก แต่จะค่อยๆ เคยชินขึ้น ข้อดีก็คือ สามารถถอดออก ทำความสะอาดได้ด้วยตนเอง หลังรับประทานอาหาร ทำให้เกิดความสะอาด เศษอาหารไม่หมักหมม ผู้สูงอายุที่จะใส่ฟัน ควรปรึกษากับทันตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำว่า ควรจะใส่ชนิดใดจึงจะเหมาะสม โดยทั่วๆ ไปเท่าที่พบ ผู้สูงอายุส่วนมาก จะมีการเสียฟันไปแล้วหลายๆ ซี่ เพราะปัญหาโรคเหงือกที่เป็นมานานแล้ว หรือเพราะฟันผุแตกบิ่นต้องถอนออกไป ดังนั้น จึงมักจะต้องใส่ฟันปลอม ชนิดถอดได้หรือฟันปลอมทั่วปาก

มีข้อแนะนำว่า ควรใช้ฟันปลอมเคี้ยวอาหารด้วยความระมัดระวัง อย่ารีบ เพราะจะกัดแก้ม กัดริมฝีปาก หรือกัดลิ้นได้ง่าย เพราะฟันบริเวณนั้นๆ ไม่มีความรู้สึก เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ควรถอดฟันออกล้างทุกครั้ง อย่าปล่อยให้มีเศษอาหาร ติดค้างอยู่ใต้ฟันปลอม เพราะจะทำให้เหงือกอักเสบ เจ็บ และทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในปาก ขณะใช้ฟันปลอม ควรสังเกตดู ความแน่นกระซับกับเหงือกว่า เหมือนเมื่อแรกใส่หรือเปล่า ถ้าหลวม ไม่กระซับเหมือนเดิม ควรไปพบทันตแพทย์ใหม่อีกครั้ง เพื่อตรวจดูความปกติ ถ้าเป็นฟันปลอมที่มีตะขอเกาะ ถ้าตะขอหลวม ควรปรับความแน่นเสียใหม่ แต่ถ้าฟันปลอมทั้งปากเกิดหลวม มักเป็นเพราะฐานเหงือก และกระดูกมีการยุบตัว ควรเสริมฐานฟันปลอมใหม่ หรือถ้าหลวมมาก และใช้มานานแล้ว ควรทำชุดใหม่ ฟันปลอมแต่ละชุด มีอายุการใช้งาน ประมาณ 3-4 ปี ควรเปลี่ยนใหม่ ในกรณีที่เหงือกยุบแล้ว ถ้ายังฝืนใช้ฟันชุดเดิมอยู่ จะทำให้รูปทรงของ ใบหน้าส่วนล่างเสียไปด้วย แก้มจะตอบ คางจะหดสิ้น ริมฝีปากห่อ ทำให้ดูแก่โทรม ในเวลากลางคืนก่อนนอน ควรถอดฟันปลอมออก แปรงฟันที่มีอยู่ให้สะอาด และเอาฟันปลอมใส่แก้วแช่น้ำไว้ในที่ๆ ปลอดภัย ช่วงเวลาที่นอนหลับ จะเป็ช่วงที่เหงือกพักตัวด้วย เพราะไม่มีน้ำหนักของฟันปลอมกดอยู่ เหงือกจะสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

การใช้ฟันปลอม ต้องระมัดระวัง และดูแลตนเองอยู่เสมอด้วย เหงือกที่เป็นแผล หรือมีรอยเจ็บอยู่ตลอดเวลา ไม่หายขาด รวมทั้งส่วนอื่นๆ เช่น ริมฝีปาก เพดาน กระพุ้งแก้ม ลิ้น แผลที่เกิดขึ้นควรหายได้เองในเวลา 1 สัปดาห์ ถ้าเกินกว่านี้ ควรสงสัย และรีบไปตรวจกับทันตแพทย์ เพราะในวัยสูงอายุ ถ้าเนื้อเยื่อในช่องปาก ขูดกับฟันจริงหรือฟันปลอม จะทำให้เกิดแผลมะเร็งขึ้นได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีอันตราย และการรักษาก็ยุ่งยาก

 

ทพ.สมนึก   วัฒนสุนทร 
งานทันตกรรม รพ.ศิริราช

 
       
    แหล่งข้อมูล : Siriraj E-Public Library - www.si.mahidol.ac.th  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ฟันน่ารู้
 
คราบหินปูน
 
โรคฟันผุ
 
เลือดออกตามไรฟัน
 
การดูแลรักษา สุขภาพฟัน และเหงือก
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.