หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
สูตรธรรมชาติเยียวยากระเพาะอาหารอักเสบ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


กระเพาะอาหารอักเสบเป็นอย่างไร

กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) หรือ แผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือความต้านทานของผิวเยื่อบุอาหารลดลง ส่งผลให้มีอาการปวดแสบ ปวดตื้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ บางครั้งอาจมีเลือดออกหรือเป็นแผล ส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะถลอก ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภท คือแบบเฉียบพลันและเรื้อรังดังนี้

 
•
กระเพาะอาหารอักเสบแบบเฉียบพลัน มักเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารผิดเวลา กินมากเกินไป กินอาหารที่ติดเชื้อแบคทีเรีย กินอาหารประเภทครีม อาหารไม่สุก และอาหารค้างคืน นอกจากนี้การแพ้อาหาร หรือมีความเครียดสูงก็มีผลเช่นกัน
 
•
กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มักเกิดจากการกินอาหารที่ทำให้ระคายเคือง เช่น เหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม รวมถึงการใช้ยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบ ยาชุด หรือยาลูกกลอนชนิดที่ใส่สเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการอักเสบ หรืออาการปวดอื่นๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

บางรายอาจมีอาการปวดท้องเรื้อรังที่บริเวณลิ้นปี่ โดยจะรู้สึกปวดมากเวลาหิว บางครั้งก็จะปวดเวลาหลับตอนกลางคืน หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า และอาการปวดจะลดลงหลังจากได้กินอาหารเข้าไป

ในกรณีกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ควรระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น ปวดหัวรุนแรง มีไข้ และภาวะเลือดจาง ส่วนในรายที่มีอาการร้ายแรงอาจท้องเสีย ไม่สบายตัว อาเจียนมีเลือดปนเป็นสีแดงสด หรือสีน้ำตาลคล้ายกับสีของผงกาแฟ แต่ส่วนใหญ่มักตรวจพบขณะที่ตรวจโรคอื่น

ปรับพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงกระเพาะอักเสบ

 
1.
พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
 
2.
กินอาหารให้ตรงเวลา และกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ (ถ้ารู้สึกปวดมากในระยะแรก ควรกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก) กินทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้น นอกจากนี้พยายามสังเกตว่า อาหารประเภทใดที่ทำให้มีอาการ และพยายามหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ควรงดอาหารที่มีรสจัด อาหารมัน หรืออาหารทอดทุกประเภท
 
3.
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มจำพวกเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม เพราะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ และอาจจะทำให้โรคกำเริบได้
 
4.
หยุดยาแอสไพริน และยาแก้อักเสบที่ใช้สเตียรอยด์ ในกรณีจำเป็นที่ต้องใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาข้ออักเสบ ควรสอบถามแพทย์เพื่อความมั่นใจ
 
5.
คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย หรือรำกระบอง หรือทำสมาธิ เพราะคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้

ฝึกชี่กงบำบัดกระเพาะอักเสบ มีหลายวิธี แต่ที่นำมาเสนอนี้คุณหมอบอกว่าได้ผลดีและทำง่ายที่สุด 

 
1.
การฝึกหายใจ หายใจเข้าจนท้องพอง แล้วหายใจออกจนท้องยุบ (ในระยะแรกอาจทำในท่านอน โดยวางมือหรือกล่องเล็กๆ สักใบไว้บนสะดือ เวลาหายใจเข้า ท้องพองแล้วจึงจะสังเกตได้ชัดเจน) ในช่วงแรกๆควรทำสัก 15-20 นาที แบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าทำได้ถูกต้องจะมีความรู้สึกโล่งสบาย ฝ่ามือ เท้า และใบหน้าจะแดงขึ้น
 
2.
การเคลื่อนไหวท้องในท่านั่ง เริ่มด้วยการนั่งบนเก้าอี้ในลักษณะห้อยขา โดยให้หัวเข่าขนานกับพื้น จากนั้นก้มตัวลงมาจนหน้าผากจรดเข่า พร้อมกับหายใจออก เมื่อกลับมานั่งตรงก็เป็นจังหวะหายใจเข้า ทำช้าๆ ซ้ำกันประมาณ 5-10 นาที แต่ต้องระวังไม่ให้คอก้มหรือเงยมากจนเกินไป เพราจะทำให้เกิดอาการมึนงงได้

สมุนไพรใกล้ตัวเยียวยากระเพาะอักเสบ

 
1.
ผลมะไฟแห้ง 10 ลูก ต้มกับน้ำสะอาดในปริมาณที่พอเหมาะ ดื่มแต่น้ำ
 
2.
กล้วยน้ำว้า นำผลดิบหรือผลห่ามของกล้วยน้ำว้า มาฝานเป็นแว่น ตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกล้วยครั้งละ 1/2 - 1 ผลผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะกินแทนยา หรือนำผงกล้วยมาปั้นเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน
 
3.
ขมิ้นชัน นำเหง้าแก่สดของขมิ้นชันล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดประมาณ 1-2 วัน นำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ให้มิดชิดในขวดสะอาด กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
 
*หมายเหตุ สำหรับบางคนกินขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวควรหยุดและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน

Tip  อาการโรคกระเพาะที่ควรรีบไปพบแพทย์

 
1.
ปวดท้องไม่หายภายในเวลา 4 ชั่วโมง
 
2.
มีอาการมากกว่า 1-2 วันหรือเป็นบ่อยๆ
 
3.
มีเลือดปนในอาเจียน
 
4.
อาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรงร่วมด้วย

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 163

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เสียงครวญครางจากกระเพาะอาหาร
 
เมื่อกระเพาะเป็นแผล
 
เครียดลงกระเพาะ โรคฮิตของคนออฟฟิต
 
วิธีธรรมชาติแก้อาการอาหารไม่ย่อย
 
อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.