หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ยังยิ้มได้ แม้ลำไส้แปรปรวน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคไอบีเอส เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปรกติ ทำให้เกิดการปวดท้อง ร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปรกติอย่างอื่น เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้จะไม่มีอาการอักเสบ ไม่มีแผล ไม่มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น และการตรวจเลือดต่างๆไม่พบความผิดปรกติ

รวมทั้งไม่มีโรคของอวัยวะอื่นๆ ที่จะมีผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปรกติ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น ที่สำคัญโรคไอบีเอส เป็นๆหายๆ หรืออาจเป็นตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม โรคนี้จะไม่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม แม้จะเป็นมาหลายๆ ปี และไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ต้นเหตุอาการแปรปรวน

แม้โรคลำไส้แปรปรวน จะเป็นโรคที่พบบ่อยและมีการศึกษามานาน แต่ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด ขณะนี้อาจกล่าวได้ว่าโรคนี้มีปัจจัยในการเกิดที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

 
1.
การบีบตัวหรือเคลื่อนตัวผิดของลำไส้ปรกติ เป็นผลมาจากการหลั่งสาร หรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปรกติ นำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
 
2.
ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากกว่าปรกติ เช่น หลังกินอาหารซึ่งในคนปรกติ จะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัว หรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการตอบสนองมากกว่าปรกติ มีการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น จนมีอาการปวดท้องและท้องเสีย หรือท้องผูก
 
3.
ความผิดปรกติในการควบคุมการทำงานของแกน ที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อ และสมอง โดยเกิดจากความผิดปรกติของสารที่ควบคุมการทำงาน ซึ่งมีหลายชนิด และทำหน้าที่ต่างกัน

คำแนะนำในการดูแลตัวเอง

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคนี้ จึงมีแต่การรักษาตามอาการ โดยแพทย์จะให้ยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ เพื่อลดการปวดท้อง หรือให้ยาระบายในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตัวเรื่องอาหาร และการควบคุมความเครียด ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้

อาหาร

 
1.
ควรงดอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์หรือพืช เช่น เนื้อสัตว์ทุกชนิด หนังเป็ดหนังไก่ นม ครีม เนย น้ำมันพืช และอะโวคาโด
 
2.
เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้แทน เพื่อช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ แม้การเพิ่มอาหารในกลุ่มหลังนี้ จะทำให้เกิดแก้ส จนอาจท้องอืด แต่เมื่อผ่านไปสัก 1 - 2 สัปดาห์ ร่างกายจะปรับตัวได้เอง
 
3.
ควรกินอาหารทีละน้อยแต่บ่อยขึ้น ไม่ควรกินจนอิ่มมาก
 
4.
ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งกาแฟ ของดอง น้ำอัดลม และยาบางชนิด

ความเครียด

ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่กระตุ้นให้มีการเกร็งตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้สบาย จะช่วยควบคุมอาการให้ดีขึ้น

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 152

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรค ไอ บี เอส
 
อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร
 
สูตรธรรมชาติซ่อมท้องเสีย
 
ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี
 
อาหารชีวจิต ต้านริดสีดวงทวาร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.