หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ส่วนผู้ที่มีอาการท้องผูกมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยร่วมด้วย เวลาเข้าห้องน้ำต้องออกแรงเบ่งมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับถ่าย เป็นริดสีดวงทวาร หรือแม้กระทั่งไส้ติ่งอักเสบ ที่สำคัญ อาการท้องผูกมักเป็นอาการหนึ่ง เมื่อระบบลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงลำไส้ เป็นต้น

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อาการท้องผูกส่วนใหญ่มาจาก การมีพฤติกรรมการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวันผิดๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำต่อไปนี้ดูนะคะ

 
1.
ดื่มน้ำ กินผัก ผลไม้ทั้งสดและแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมากๆ รวมทั้งข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเส้นใยช่วยการขับถ่ายได้
 
2.
ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หรือกินมะละกอสุกก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมากๆ นักธรรมชาติบำบัดเชื่อว่า การกินอาหารจากธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งอาจทำได้โดยการกินรำข้าวเสริม โดยโรยลงไปบนอาหาร
 
3.
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร และกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น
 
4.
อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด หรือหลังจากที่กินอาหารเช้าที่เป็นธัญพืช โดยพยายามนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลาย ประมาณ 10 นาที หรือฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง
 
5.
สำหรับทารกหากมีอาการ ท้องผูก อาจเพิ่มน้ำตาลประมาณ 1 ช้อนชา ในนม 1 ขวด จะช่วยให้ถ่ายบ่อยขึ้น แต่ถ้าให้น้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย ส่วนในผู้สูงอายุควรถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ถ้าจำเป็นอาจต้องให้ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ ยาระบาย ใช้ยาเหน็บ หรือสบู่เหน็บ จนกว่าการขับถ่ายเป็นปกติ
 
6.
ถ้าท้องผูกจนต้องเบ่ง และทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจทำให้อุจจาระนุ่มลง โดยใช้ยาเหน็บกลีเซอริน (ขนาดสำหรับเด็ก) หรือสบู่ชิ้นเล็กยาว 13 มิลลิเมตร สอดเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที

แก้ท้องผูกด้วยสมุนไพร

 
•
มะขาม กินมะขามฝักแก่ หรือมะขามเปียก 10-20 ฝัก จิ้มเกลือ หรือคั้นเป็นน้ำดื่ม
 
•
ขี้เหล็ก นำแก่น 50 กรัม ราก ลำต้น ดอก ใบ และผลของขี้เหล็ก รวมทั้งหมด 20-25 กรัม ไปต้ม เอาแต่น้ำ ดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
 
•
มะเฟือง ขณะท้องว่างประมาณ 1 ชั่วโมง กินมะเฟืองที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ลูก นอกจากจะเป็นยาระบายได้แล้ว มะเฟืองยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
 
•
เมล็ดชุมเห็ดไทย นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1 กำมือ มาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาดปริมาณ 1-2 แก้วจนเดือด นอกจากจะช่วยระบายท้องแล้ว เมล็ดชุมเห็ดไทยยังมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย

ดูแลตัวเองด้วยการแพทย์แผนไทย

ศาสตร์ทางด้านการแพทย์แผนไทยก็มีสูตรที่น่าสนใจให้ลองปฏิติบัติเช่นกันค่ะ

 
1.
รำข้าว สามารถดูดซับน้ำไว้ได้ถึงเก้าเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง จึงช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี การเติมรำข้าวลงไปในอาหาร จะช่วยให้ถ่ายสะดวก แต่ต้องดื่มน้ำตามให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ควรกินรำข้าววันละ 1-3 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามเสมอ
 
2.
สำหรับการรักษาในระยะยาว ไม่ควรพึ่งรำข้าวเพียงอย่างเดียว เพราะรำข้าวมีส่วนประกอบบางอย่าง ที่ขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมเกลือแร่บางชนิด และยังทำให้ท้องมีลมมากหรือท้องอืด แต่อาการนี้จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
 
3.
กินอาหารหมักดองต่างๆ เช่น ผักเสี้ยนดอง หน่อไม้ดอง หัวหอมดอง หรืออาหารหมักดองโบราณ ที่ใช้น้ำซาวข้าวในการดอง

ท่าแถม...ทำง่ายถ่ายคล่อง

การรำกระบอง นอกจากจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของต่อมลูกหมากในผู้ชาย รังไข่ และมดลูกในผู้หญิงแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากจุดประสาทบริเวณก้นกบ จะบังคับระบบขับถ่าย การเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่

 
1.
ยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย
 
2.
นำกระบองไว้ด้านหลัง ลำตัวบริเวณบั้นเอว โดยใช้วงแขนสองข้างคล้องกระบองเอาไว้ ฝ่ามือประสานกันไว้ด้านหน้า หรือฝ่ามือแนบวางราบกับหน้าท้องก็ได้
 
3.
เขย่งให้ส้นเท้าขึ้นสูงสุดเท่าที่จะทำได้
 
4.
ลด ตัวลงนั่ง โดยยังคงเขย่งส้นเท้าอยู่ ตามองตรง ไม่ก้มหน้า ไหล่ตรงผึ่งผาย ลำตัวตั้งตรง แล้วขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง จากนั้นยืนขึ้น โดยเขย่งส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา
 
5.
เมื่อตัวตั้งตรงแล้ว ลดส้นเท้าลงสู่พื้น นับเป็นหนึ่งครั้ง
 
6.
ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 3 - 5 ให้ครบ 30-50 ครั้ง


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 151

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรค ไอ บี เอส
 
วิธีธรรมชาติแก้อาการอาหารไม่ย่อย
 
อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร
 
ปรับนิสัย ช่วยแก้ไขโรคกรดไหลย้อน
 
อาหารชีวจิต ต้านริดสีดวงทวาร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.