หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคไต การป้องกันและการรักษา
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ไต มี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร
ไตประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” (nephron) หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข

ไตทำหน้าที่อะไร ?

 
1.

กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน

   
 
•
เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
 
•
ขับยา และสารแปลกปลอมอื่นๆ
 
2.
ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้
   
 
•
สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น น้ำ ฟอสเฟด โปรตีน
 
3.
รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
   
 
•
ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ
 
•
ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
 
4.
รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
   
 
•
ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด
 
•
แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
 
5.
รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
   
 
•
ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน
 
•
ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง   
 
•
ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด  
 
6.
ควบคุมความดันโลหิต
   
 
•
ความดันโลหิตสูง เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือ รวมถึงสารบางชนิด
 
•
ผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง
 
•

ถ้าความดันโลหิตสูงมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก เป็นอัมพฤกษ์และิัอัมพาตได้

 
7.
สร้างฮอร์โมน
   
 
•
ไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด
 
•
ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป

ตัวอย่างฮอร์โมนที่สร้างจากไต

 
•
ฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน (erythropoietin) ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ผู้ป่วยจะมี อาการซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจทำงานหนัก วิงเวียน หน้ามืด เหนื่อย ใจสั่น เป็นลมบ่อย
 
•
วิตามินดีชนิด calcitriol ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งการที่วิตามินดี และแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้ต่อมพาราธัยรอยด์ หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ เป็นผลเสียต่ออวัยวะหลายอย่างในร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก ทำให้ไม่แข็งแรง

ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ   

ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต

 
1.
  อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไตจะเริ่มเสื่อม
 
2.
  ความดันโลหิตสูง
 
3.
  โรคหัวใจ  เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ
 
4.
  โรคหลอดเลือดสมอง
 
5.
  โรคเบาหวาน
 
6.
  โรคเก๊าท์
 
7.
  โรคไตอักเสบชนิดต่างๆ เช่น โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก ไตอักเสบ เอส-แอล–อี โรคไตเป็นถุงน้ำ นิ่ว เนื้องอก หลอดเลือดฝอยอักเสบ
 
8.
  มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
 
9.
  โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
 
10.
  ใช้ยาแก้ปวด หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิด ติดต่อกันเป็นเวลานาน

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต

 
•
อาการแสดง
 
•
การสืบค้น

อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต

 
1.
หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
6.
ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
 
2.
ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่/น้ำล้างเนื้อ
7.
ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
 
3.
การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
8.
เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
 
4.
ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
9.
ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท
 
5.
ความดันโลหิตสูง    

อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม

ไตเริ่มเสื่อม

 
•
อาการบวม
•
ซีด
•
อ่อนเพลีย
 
•
เหนื่อยง่าย
•
ความดันโลหิตสูง    

ไตวายเรื้อรัง

 
•
ซีดมากขึ้น
•
เบื่ออาหาร
•
คันตามตัว

อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม

 
1.
อาการบวมที่หน้า และหนังตา
 
2.
อาการบวมที่ขา
 
3.
อาการบวมที่เท้า
 
4.
ปัสสาวะเป็นเลือด


  โรคไตวาย
  โรคไตจากเบาหวาน


ศจ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ    
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคไต : อาการ สาเหตุ และข้อแนะนำ
 
โรคไต ภาวะไตวาย อาการและสัญญาณ
 
โรคไต
 
ไตวายเรื้อรัง
 
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.