ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น คาดว่าสิ้นปี 2549 ประเทศไทย จะมีผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ประมาณ 30,000 ราย ในจำนวนนี้ รวมไปถึง ผู้ป่วยเด็กไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วย
ร่างกายคนเรา มีไตอยู่สองข้าง บริเวณเอวด้านหลัง โดยไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ ทำหน้าที่รักษาสมดุลน้ำ เกลือแร่ และกรดด่างในร่างกาย นอกจากนั้น ไตยังทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง คือ สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง กำจัดของเสีย ขับยา และสารพิษออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตเสื่อม ระยะแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น จนกว่าการทำงานของไต ลดลงไปกว่าร้อยละ 70-80 จึงเป็นการยาก ที่จะช่วยชะลอการเสื่อมการทำงานของไต หรือแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ
ผู้ป่วยที่มีไตวายเรื้อรัง ในที่สุดจะเข้าสู่ ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คือ ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ต้องหาไตใหม่ มาปลูกถ่ายแทนที่ ซึ่งต้องผ่านหลายขั้นตอน และยังมีผล ทั้งร่างกาย จิตใจ ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม
สาเหตุ ของภาวะไตวายเรื้อรัง หรือไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในเด็ก มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก มักเกิดจากความผิดปกติ ทางโครงสร้างของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่กำเนิด เช่นภาวะไตเล็ก และเนื้อไตผิดปกติ ภาวะอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะ และโรคทางพันธุกรรม ขณะที่ในเด็กโต มักเกิดจากโรคไตอักเสบเรื้อรัง กลุ่มอาการเนโฟรติก และโรคเอสแอลอี
อาการ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคไตวาย เช่น ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน สิ่งเหล่านี้ เกิดจากความผิดปกติของหลอดไต ในการดูดกลับสารน้ำและเกลือแร่ ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ มีอาการหน้าและหนังตาบวม หรือเท้าบวมทั้งสองข้าง ซึ่งสังเกตได้ง่าย เวลาตื่นนอนตอนเช้า และการกดบุ๋มที่หน้าแข้งทั้งสองข้าง ความดันโลหิตสูง
อาการที่บ่งบอกว่า เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คือ ตัวซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว ผิวหนังแห้ง คันตามตัว ตามัว บวม เหนื่อยหอบ ถ้าเป็นมากขึ้นจะซึมลง ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยผู้ป่วยเด็กมีอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น การเจริญเติบโตช้า จากการขาดสารอาหาร และความผิดปกติของฮอร์โมน ช่วยการเจริญเติบโต หรือติดเชื้อบ่อยๆ รวมทั้ง การเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ
การสืบค้นที่จำเป็น และสามารถบอกได้ว่า มีภาวะไตวายหรือไม่ คือ การตรวจปัสสาวะและเลือด เพื่อประเมินการทำงานของไต
การปลูกถ่ายไตมี 2 ประเภท ดังนี้
|
1. |
จากผู้บริจาคที่เสียชีวิต |
|
|
|
|
|
จากผู้บริจาคที่มีชีวิต โดยต้องมีหมู่เลือดที่เข้ากันได้ และเนื้อเยื่อเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผลการปลูกถ่ายไตออกมาดี การปลูกถ่ายไตในเด็ก มักได้จากผู้บริจาคที่มีชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบิดา หรือมารดา จากข้อกำหนดว่า การปลูกถ่ายไต จากผู้บริจาคที่มีชีวิต ต้องมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด ได้แก่ |
|
|
|
|
บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา พี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ที่สามารถพิสูจน์ได้ โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือทางกฎหมาย |
|
|
ลุง ป้า น้า อา หลาน ลูกพี่ลูกน้องในลำดับแรก หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ ทางสายเลือดครึ่งหนึ่ง เช่น พี่น้องต่างบิดาหรือมารดา |
|
|
สามี ภรรยา ต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส จนถึงวันผ่าตัดปลูกถ่ายไต ไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น กรณีที่มีบุตรหรือธิดาด้วยกัน ซึ่งสามารถตรวจพิสูจน์ได้ |
|
ทั้งนี้ ผู้บริจาค ต้องไม่ถูกบังคับ หรือได้รับการจ้างวาน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อมทั้งสิ้น
ส่วนค่าใช้จ่าย ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตของ รพ.ศิริราช หากผู้ป่วยไม่มีโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จะอยู่ราว 150,000 - 300,000 บาท หากมีโรคแทรกซ้อน ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโรค และชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา นอกจากนี้ หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยยังต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธไต ที่ได้รับใหม่ไปตลอดชีวิต สำหรับค่ายาในระยะแรกหลังผ่าตัด จะประมาณเดือนละ 10,000 - 30,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ในการใช้ยา และจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ
แม้วันนี้ บัตรประกันสุขภาพถ้วน (30 บาท) จะยังไม่ครอบคลุมการรักษา แต่ทางหน่วยไตเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ดำเนินการปลูกถ่ายไต ครั้งแรกไปเมื่อ 10 ปีก่อน (พ.ค. 2539) จนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยอีกหลายราย ที่รอการปลูกถ่ายไต ซึ่งท่านสามารถเป็น 1 ในหลายล้านคน ที่ช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ ให้ได้รับการรักษา อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม ด้วยการบริจาคเข้า กองทุนปลูกถ่ายไตเด็ก รหัส D 002714 ในศิริราชมูลนิธิ ที่ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 หรือ 0- 2419-7658 - 60
ท้ายนี้ มีวิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพไตมาฝาก เริ่มด้วย
|
1. |
หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด และภาวะเครียด |
|
|
ดื่มน้ำสะอาดวันละ 1.5 - 2 ลิตรในผู้ใหญ่ และลดลงตามส่วนสำหรับเด็ก |
|
3. |
พักผ่อนให้เพียงพอ |
|
4. |
ไม่ใช้ยาใดประจำ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร |
ผศ. นพ. สุโรจน์ ศุภเวคิน
กุมารแพทย์ทางไต
|