หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคเก๊าท์
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือด มีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือด ในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอน สะสมอยู่ตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น  เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้า ทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอนไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อ เมื่อกรดยูริคในเลือดสูงไป ประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์งดอาหารใดๆ ที่มียูริคสูงเลย และการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใด และเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วย ที่มีอายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น  เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่าๆ

อาการ

อาการของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียว และมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใดๆ ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้น หลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย

การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่

 
1.
การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด

การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศ ที่ว่าให้กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวด หรือจนเกิดผลข้างเคียง คือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกราย และมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4  เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบ เป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้
     
 
2.
การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้  การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง  ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ ละลายออกจนหมด ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ
 
•
ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กินๆ หยุดๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
 
•
เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด

ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา

มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริค เมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย  แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้

 

 

นพ. สุเมธ เถาหมอ

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์และการดูแลอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
 
โรคข้อเสื่อม
 
อาหารกับโรคเก๊าต์
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.