ความก้าวหน้าในการรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจ ในปัจจุบัน |
---|
มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง (Heart Attack) และส่วนมากอาการเจ็บหน้าอก จะไม่หายไปเมื่อหยุดพัก การอุดตันของเส้นเลือดเกิดขึ้น เมื่อผนังภายในของเส้นเลือดโคโรนารี่ปริหรือฉีกขาด ทำให้เกิดขึ้นเป็นลิ่มเลือดก้อนใหญ่ อุดตันหลอดเลือดทั้งหมด เลือดไม่สามารถไหลไปเลี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบางส่วน ในกรณีนี้การรักษาที่สำคัญคือ การพยายามทำลายลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุ ก้อนเลือดอาจถูกทำลายได้ 2 วิธี คือ ด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดทันที หรือด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางน้ำเกลือ ตัวอย่างของยาที่มีประสิทธิภาพ ละลายลิ่มเลือดได้คือ ยาStreptokinase ซึ่งการให้ยาชนิดนี้ จะต้องให้ทางเส้นเลือดเท่านั้น ไม่มียาชนิดรับประทานที่ใช้ได้ผล อาการเจ็บหน้าอกแบบ Angina มักเจ็บกลางหน้าอก หรือบริเวณใต้ลิ้นปี่ เจ็บร้าวแน่น อึดอัด อาการเจ็บ จะเจ็บนานเพียง 1-2 นาที และมักเจ็บในขณธที่ออกแรง เมื่อหยุดพักอาการเจ็บจะหายไป อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้ เกิดจากการตีบของเส้นเลือดโคโรนารี่ เส้นเลือดโคโรนารี่มีหลายเส้น อาจตีบเพียงเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้ ความก้าวหน้าในการวินิจฉัย โรคเส้นเลือดโคโรนารี่ตีบ มีหลายประการ เช่น การให้ผู้ป่วยเดินสายพาน (Stress Test) เพื่อหาความผิดปกติของคลื่นหัวใจไฟฟ้า ในขณะออกกำลัง หรือการใช้กัมมันตภาพรังสี ตรวจหาจุดที่ขาดเลือด ของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งได้แก่ การทำ Thallium หรือ MIBI Test นอกจากนี้การตรวจ เพื่อหาจุดที่ขาดเลือดของกล้ามเนื้อ ยังอาจทำได้ด้วยการใช้เครื่องตรวจหัวใจ คลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocar Diagram) การตรวจควรหาทันทีหลังการออกกำลัง หรือทำในขณะที่ใช้ยาบางชนิดกระตุ้นหัวใจ นอกจากนี้ ปัจจุบันเรายังอาจตรวจ หาความผิดปกติของผนังหลอดเลือดได้ ก่อนที่เส้นเลือดจะตีบ โดยใช้เครื่องมือพิเศษ IVUS เมื่อแพทย์วินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยมีเส้นเลือดโคโรนารี่ตีบจาก การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram) ผลที่ได้จากการฉีดสี บอกได้ว่า มีเส้นเลือดตีบหรือไม่ตีบกี่เส้น และที่ใดบ้าง ที่แพทย์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ ประกอบการพิจารณาว่า ควรจะรักษาผู้ป่วยอย่างไรดี เช่น อาจรักษาผู้ป่วยด้วยการแนะนำ ให้ทำผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (CABG) หรือแนะนำผู้ป่วย ให้ทำบอลลูนขยายเส้นเลือดหัวใจ (PTCA) และพร้อมๆ กับการทำบอลลูน ขยายเส้นเลือดหัวใจ แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (Stent) เพื่อช่วยถ่าง และพยุงเส้นเลือดที่ถูกขยายไว้ ไม่ให้ยุบลงมา ขดลวด Stent เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้การขยายเส้นเลือดได้ผลดี ในด้านการทำผ่าตัดต่อเส้นเลือดที่หัวใจ มีวิวัฒนาการของการทำผ่าตัด เพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น แพทย์นิยมนำเส้นเลือดแดง มาใช้ในการทำผ่าตัดต่อเส้นเลือดโคโรนารี่ แทนเส้นเลือดดำ หรือการทำการผ่าตัดต่อ เส้นเลือดโคโรนารี่ไม่ใช่เครื่องปอด-หัวใจเทียม ทำให้สามารถผ่าตัดได้ โดยไม่ต้องทำให้หัวใจหยุดเต้น ตามที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีความก้าวหน้าในการรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดขึ้น มากกว่าเมื่อ 20 ปีก่อน เป็นอย่างมาก
ขอเน้นว่า คนที่เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง ควรรีบไปโรงพยาบาล เพราะภายใน 6 ชั่วโมงแรก ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นช่วงเวลา ที่แพทย์อาจช่วยแก้ไขภาวะนี้ให้ได้เป็นอย่างมาก อาจแก้ไขด้วยการทำบอลลูน หรือด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่ปัญหาในขณะนี้คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Heart Attack) ยังไม่รีบมาโรงพยาบาลโดยทันที จึงมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไป ทำให้แพทย์ไม่สามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วย ควรพาผู้ป่วยมาดรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกขั้นรุนแรง เพื่อทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที รศ. พญ. คุณหญิงพึงใจ งามอุโฆษ |
|||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.heartandcholesterol.com | |||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |