ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
หรือเรียกว่า ภาวะหัวใจวาย คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้เพียงพอต่อความต้องการในขณะพัก หรือเมื่อต้องการออกกำลัง เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจทุกชนิด และยังเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ อีกหลายโรค
สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ
|
1. |
หัวใจต้องทำงานหนักเกินกำลัง จาก |
|
|
|
|
ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว |
|
|
ปริมาตรของเลือดในระบบไหลเวียนมากเกินไป |
|
|
มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด |
|
|
|
มีความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น |
|
|
|
|
กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ |
|
|
กล้ามเนื้อหัวใจตาย |
|
|
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ |
|
|
3. |
มีความผิดปกติของเยื่อบุหัวใจ |
|
|
|
|
มีน้ำ เลือด หรือ หนองภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ |
|
|
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ |
|
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
|
|
ไอตอนกลางคืน อาจมีเสมหะเป็นฟองสีชมพูร่วมด้วย |
|
|
หอบเหนื่อยตอนกลางคืน |
|
|
นอนราบหายใจไม่สะดวก |
|
|
หอบเหนื่อยง่ายหลังออกแรง |
|
|
ทำงานหนักไม่ได้ |
|
|
อ่อนเพลีย เหนื่อย เวียนศรีษะ |
|
|
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน |
|
|
บวมที่ปลายเท้า ข้อเท้า และกดบุ๋ม |
การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
|
1. |
สังเกตุอาการของตนเอง หากน้ำหนักเพิ่ม รู้สึกผิวหนังตึง ข้อเท้าบวม รองเท้าหรือผ้าคับ และไอบ่อยขึ้น รู้สึกเพลีย และการทำกิจวัตรประจำวันได้ช้าลง อาจเป็นอาการเริ่มแรกของภาวะหัวใจล้มเหลว ควรรีบมาพบแพทย์ |
|
|
ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจ เพราะโรคหัวใจบางอย่างสามารถป้องกันได้ เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
|
3. |
พักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนพักในช่วงกลางวันอย่างสม่ำเสมอ ลดชั่วโมงการทำงานให้สั้นลง |
|
4. |
หลีกเลี่ยงการทำให้อารมณ์เสียหรือความเครียด |
|
5. |
จำกัดกิจกรรมต่างๆ ลง ไม่ทำงานที่ออกแรงมากๆ อย่างหักโหม |
|
6. |
จำกัดอาหารเค็ม จำกัดน้ำดื่ม และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง |
|
7. |
มาพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างสม่ำเสมอ |
เอกสารเผยแพร่ รพ.พระมงกุฏฯ
|