การขยายหลอดเลือด |
|
การผ่าตัดบายพาส |
ปลอดภัยสูง ได้ผลดี ไม่ต้องมีแผลผ่าตัด ไม่ต้องวางยาสลบ |
|
ปลอดภัยสูง อัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ส่วนใหญ่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต้องผ่าตัดและวางยาสลบ |
|
|
|
สามารถทำในผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย |
|
สามารถทำในผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย แต่หากมีโรค ประจำตัวมาก ก็จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น โรคเบาหวาน ไม่ใช่ข้อห้ามในการผ่าตัด |
|
|
|
ขยายหลอดเลือดด้วยลูกโป่งเล็กๆ ผ่านทางหลอด เลือดแดงที่ขาหนีบ บางรายอาจใส่ขดลวดโลหะเล็กๆ เพื่อค้ำหลอดเลือดไว้ |
|
ทำทางเบี่ยงโดยใช้หลอดเลือดดำจากขา และ บางราย ใช้หลอดเลือดแดงจากผนังหน้าอกร่วมด้วย |
|
|
|
ไม่มีแผลผ่าตัด |
|
แผลผ่าตัดยาวจากหน้าอกถึงเหนือสะดือ และ แผลยาวที่น่อง |
|
|
|
บางรายมีการตีบหลายตำแหน่ง ไม่สามารถขยายได้ |
|
บางรายมีหลอดเลือดเล็กมาก ไม่สามารถต่อได้ |
|
|
|
อยู่รพ.สั้น เพียง 2-3 วัน กลับไปทำงานได้เร็ว |
|
อยู่รพ.ประมาณ 7-10 วัน หลังผ่าตัด 4-6 สัปดาห์ จึงกลับ ไปทำงาน |
|
|
|
มีโอกาสตีบซ้ำอีก ร้อยละ 10-30 พบบ่อยใน 6 เดือนแรก หากมีอาการ ยังขยายซ้ำได้ การใส่ขดลวดโลหะจะช่วย ลดการตีบซ้ำ แต่ยังคงเกิดได้ |
|
ประมาณ 10 ปี หลอดเลือดดำที่ต่อไว้อาจตันหมด ส่วนหลอดเลือดแดงอาจอยู่ได้นานกว่านั้น การผ่าตัด ครั้งที่สองมีความเสี่ยงสูงขึ้น ยังสามารถขยายหลอด เลือดที่ต่อไว้ด้วยลูกโป่งได้ |
|
|
|
หลังทำแล้วจะใช้ยาในการรักษาหัวใจน้อยลง และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
|
หลังทำแล้วจะใช้ยาในการรักษาหัวใจน้อยลง และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
|
|
|
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการตีบซ้ำ รับประทานยาสม่ำเสมอ |
|
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการตีบซ้ำ รับประทานยาสม่ำเสมอ |
|
|
|
สามารถทำได้ในสถาบันโรคหัวใจทั้งรัฐบาลและเอกชน ค่าใช้จ่ายของการขยายหลอดเลือดจะถูกกว่าการผ่าตัด แต่หากขยายหลายเส้น และ ใช้ขดลวดด้วย ค่าใช้จ่าย จะสูงจนใกล้เคียงกับการผ่าตัดบายพาส |
|
สามารถทำได้ในสถาบันโรคหัวใจทั้งรัฐบาลและเอกชน ค่าใช้จ่ายในรพ.รัฐบาลจะราคาถูกกว่าเอกชน ราคาในรพ. เอกชนปัจจุบัน เฉลี่ยประมาณ 300,000-500,000 บาท |