|
|
การดื่มน้ำน้อย เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้น เพราะบริเวณริมฝีปากจะสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงได้ง่าย |
|
|
ลม ฟ้า อากาศ อากาศร้อนลมแรงทำให้สูญเสียความชุ่มชื้น ขณะที่อากาศที่เย็นและแห้งอย่างในฤดูหนาว ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี แม้แต่คนที่นั่งทำงานในสำนักงาน ที่เปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ก็มีริมฝีปากแห้งแตกได้เหมือนกัน |
|
|
แสงแดด การถูกแสงแดดเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน หรือบ่อยครั้ง ทำให้ริมฝีปากสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) ซึ่งเป็นตัวทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดรอยเหี่ยวย่น |
|
|
ลิปสติกและลิปบาล์ม ลิปสติกโดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติ ทาติดทนนานอยู่ได้ทั้งวัน อาจมีสี น้ำหอม ลาโนลิน (ที่ให้ความชุ่มชื้น) และสารกันบูดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ แห้งแตกได้ ลิปบาล์มทั่วไปมีสารสำคัญ ที่เป็นตัวดูดความชื้นจากริมฝีปาก นี่เองที่ทำให้เราต้องทาลิปบาล์มอยู่บ่อยๆ หากใช้จนติดเป็นนิสัยหรือในระยะยาวนาน อาจทำให้ริมฝีปากแตกแห้งมากขึ้น |
|
|
ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก การแห้งแตกอาจเกิดจากการแพ้ฟลูออไรด์ (ซึ่งพบได้น้อย) แพ้แอลกอฮอล์ สารที่ทำให้เกิดฟอง สารที่ให้ความสดชื่นหรือให้รสซ่าก็ได้ |
|
|
การเลียริมฝีปาก วิธีนี้อาจทำให้รู้สึกว่าริมฝีปากหายแห้งได้ (ชั่วคราว) แต่เมื่อความชื้นจากน้ำลายระเหยไปหมด ริมฝีปากจะแห้งมากขึ้น เพราะเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารในน้ำลาย จะยิ่งรบกวนริมฝีปากให้แห้งมากยิ่งขึ้น |
|
|
ภาวะขาดวิตามิน คนที่ขาดวิตามินบี ริมฝีปากจะแตกง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะวิตามินบีมีความสำคัญต่อผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ |
|
|
อาการร้อนใน เมื่อมีอาการร้อนใน ริมฝีปากมักแห้งแตก ซึ่งอาจมีแผลในปากเกิดร่วมด้วยก็ได้ |
|
|
ดื่มน้ำให้เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่ ทุกส่วนของผิวหนัง ซึ่งรวมถึงริมฝีปากแห้งๆ ของเราด้วย ข้อนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะคุณๆ ที่อายุเริ่มมากขึ้น เพราะเซลล์ในร่างกายจะเก็บความชุ่มชื้นได้น้อยลง |
|
|
หลีกเลี่ยงแสงแดด ทำได้สารพัดวิธี ไม่ว่าจะกางร่ม ใส่หมวก หรือใช้ผ้าคลุมก็ได้ เลือกใช้กันได้ตามความสะดวก และความเหมาะสม |
|
|
เพิ่มความชื้นภายในห้อง แนะนำให้วางน้ำสักแก้วไว้ใกล้ๆ เครื่องปรับอากาศ (ถ้าทำได้) เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับห้อง |
|
|
เปลี่ยนลิปติก เลือกใช้สีอ่อนๆ เนื่องจากจะมีปริมาณของสีน้อยกว่าลิปสติกสีเข้ม โอกาสแพ้จะได้น้อยลง หรือรุนแรงน้อยกว่า ส่วนลิปบาล์มนั้น ไม่ควรทาอยู่ตลอดเวลา |
|
|
เปลี่ยนยาสีฟัน เป็นยาสีฟันสมุนไพร ฟองน้อยลง รสอ่อน หรือลองเปลี่ยนมาใช้ยาสีฟันเด็ก หรือก่อนแปรงฟันอาจทาปิโตเลียมเจลลีเคลือบริมฝีปาก เพื่อป้องกันการระคายเคือง |
|
|
อย่าเลียริมฝีปาก ต้องยอมรับว่าข้อนี้อาจจะทำยากกันสักหน่อย แต่ควรระวังตัวเองไม่ให้เผลอบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ปากแห้งแตกยิ่งขึ้น |
|
|
รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี อย่างเช่น ธัญพืชไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ผักใบเขียว เช่นผักโขม บร็อคโคลี คะน้า และถั่วเปลือกแข็ง เช่น พวกเมล็ดอัลมอนด์ ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ |