เรามักตั้งคำถามว่า ทำไมกินยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแล้ว ไม่หายจากโรค (ติดเชื้อ) เสียที? หรือทำไมหายไปแล้ว เพียงระยะเวลาไม่นาน จึงกลับมาเป็นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่หายขาด? หลายท่านมักสงสัยว่า ทำไมถ้าเป็นยาปฏิชีวนะแล้ว จะต้องกินยาทุกวันจนครบกำหนด แม้ว่าจะไม่มีอาการของโรคก็ตาม อันนี้เป็นปัญหาสำคัญทีเดียว เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจ เกี่ยวกับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้บางครั้งหยุดยาก่อนกำหนด หรือไม่กินตามเวลาที่แพทย์สั่ง หรือกินผิดวิธี ทำให้ปริมาณยาที่ได้รับ ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ ทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียค่อนข้างมาก
แบคทีเรียคืออะไร?
ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวของการดื้อยา เรามาทำความรู้จักแบคทีเรียสักเล็กน้อยก่อนนะคะ แบคทีเรีย คือ จุลชีพหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีประโยชน์และมีโทษต่อมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มักจะให้ความสนใจกับการดื้อยาของแบคทีเรียก่อโรคเป็นลำดับแรก เพราะเห็นได้ชัดเจนจากการเกิดปัญหา ในการรักษาโรคติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อจะไม่ถูกยับยั้ง หรือทำลายด้วยยาปฏิชีวนะที่เดิมเคยใช้ได้ผล อย่างไรก็ตาม การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ อาจพบในแบคทีเรียกลุ่มจุลชีพประจำถิ่น (normal flora) ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์โดยไม่ก่อให้เกิดโรค แต่จะทำหน้าที่ในการป้องกันร่างกาย จากการติดเชื้อของแบคทีเรียก่อโรค การเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียเหล่านี้ อาจไม่เห็นผลโดยตรงต่อมนุษย์ แต่จุลชีพประจำถิ่นเหล่านี้ จะเป็นแหล่งสะสมของสารพันธุกรรม (gene) ที่ควบคุมการดื้อยา และพร้อมที่จะถ่ายทอดให้แก่เชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ตลอดเวลา และสำหรับยาปฏิชีวนะนั้น เป็นคำที่ใช้เรียกสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการยับยั้ง หรือทำลายเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยากลุ่ม penicillins
การออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ
การออกฤทธิ์อาจจะเป็นเพียงการยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อหรือฆ่าเชื้อ สำหรับการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ แบ่งเป็น 4 กลไก คือ
|
1. |
ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาในกลุ่ม beta-lactam เช่น penicillins และ cephalosporins |
|
|
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาในกลุ่ม quinolones |
|
3. |
ยับยั้งการสร้างโปรตีนของแบคทีเรีย (โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง หรือเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในการมีชีวิตของแบคทีเรีย) ได้แก่ ยาในกลุ่ม tetracyclines, chloramphenicals และ macrolides เป็นต้น |
|
4. |
ยับยั้งขบวนการสร้างสารอาหารและพลังงานของแบคทีเรีย ได้แก่ ยาในกลุ่ม sulfamethoxazole และ trimethoprim |
ทำไมใช้ยาแต่ไม่ได้ผล?
ความล้มเหลวของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
|
1. |
เลือกยาผิดชนิด คือยาไม่มีฤทธิ์ที่ครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรค |
|
|
ใช้ยาผิดขนาด คือขนาดหรือปริมาณยาที่ได้รับ ไม่เหมาะสมที่จะทำลายเชื้อก่อโรคได้ |
|
3. |
ใช้ยาปฏิชีวนะไม่นานพอที่จะทำลายเชื้อก่อโรค |
|
4. |
ใช้ผิดวิธี เช่น การกินไม่ถูกวิธี โดยยาบางชนิดต้องกินก่อนอาหาร ในขณะที่บางชนิดต้องกินหลังอาหาร ยาบางชนิดห้ามกินร่วมกับนม เป็นต้น ทำให้ปริมาณยาปฏิชีวนะที่ได้รับจริง ไม่เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อแบคทีเรีย |
|
5. |
เชื้อที่ก่อโรคเป็นเชื้อที่ดื้อยา |
การดื้อยาปฏิชีวนะ
แบคทีเรียมีการพัฒนาตนเอง ให้สามารถทนต่อการทำลายด้วยยาปฏิชีวนะ หรือที่เรารู้จักกันว่า การดื้อยา ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น เป็นตามเทคโนโลยีของการผลิต และการใช้ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ๆ การดื้อยาของแบคทีเรีย เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (mutation) ของแบคทีเรีย โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจเกิดขึ้นที่ส่วนของสารพันธุกรรมหลักของเชื้อที่เรียกว่า โครโมโซม โครโมโซมนั้นประกอบด้วยยีน (gene) ที่จะแสดงออกเป็นลักษณะต่างๆ ของเชื้อมากมายรวมทั้งการดื้อยา ยีนที่ควบคุมการดื้อยานี้ สามารถถ่ายทอดจากแบคทีเรียตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งได้ง่าย จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายการดื้อยา จากเชื้อหนึ่งไปสู่อีกเชื้อหนึ่งได้รวดเร็ว
การดื้อยาเกิดขึ้นได้อย่างไร?
การดื้อยาของแบคทีเรีย เชื่อกันว่าเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ
|
1. |
เกิดจากการเลือกสรรตามธรรมชาติ (Natural selection) แบคทีเรียแต่ละชนิด จะมีแบคทีเรียที่มียีนดื้อยาอยู่ในตัวปะปนอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่เป็นจำนวนน้อย โดยไม่เกี่ยวข้องกับการมียาปฏิชีวนะหรือไม่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าวมีการสัมผัสยาปฏิชีวนะมากและนานขึ้น ยาจะทำลายส่วนที่ไม่ดื้อยาให้หมดไป เหลือส่วนที่ดื้อต่อยาไว้ ซึ่งส่วนนี้ก็จะทำการเจริญเพิ่มจำนวน และแสดงออกเป็นแบคทีเรียดื้อยาอย่างสมบูรณ์ |
|
|
เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ กล่าวคือแบคทีเรียแต่ละชนิดนั้น จะมีความไวต่อยาอยู่เดิม (ไม่ดื้อยา) แต่เมื่อมีโอกาสสัมผัสกับยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะในขนาดและระยะเวลาในการให้ ที่ไม่เหมาะสมที่จะทำลายเชื้อได้หมด เชื้อก็จะพัฒนาการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมในตัวเอง ให้มีความสามารถทนทานต่อการทำลายของยาได้มากขึ้น |
เมื่อเชื้อดื้อยาแล้วจะเป็นอย่างไร?
เมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ ก็เท่ากับว่าเชื้อสามารถทนทานต่อการทำลายมากขึ้น ซึ่งหมายความว่า เชื้อมีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคมากขึ้น รักษาหายยาก และเมื่อเกิดการดื้อของเชื้อต่อยาชนิดหนึ่ง มักจะมีการดื้อต่อยาหลายๆ กลุ่มตามมา ทำให้มียาที่จะให้เลือกใช้น้อยมาก หรืออาจไม่มียาใดรักษาได้ในที่สุด
แก้ปัญหา...เชื้อดื้อยา
|
1. |
การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง ได้แก่ การใช้ยาเฉพาะกรณีมีการติดเชื้อแบคทีเรียจริง ใช้ยาในขนาดระยะเวลา และวิธีการที่ถูกต้อง |
|
|
การใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันควรใช้เมื่อจำเป็น และสั้นที่สุดภายใต้การคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร |
|
3. |
การมีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากผู้ที่ติดเชื้อ สู่ผู้อื่น หรือสู่สิ่งแวดล้อม |
จากที่กล่าวไปทั้งหมดจะเห็นว่า การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกหลักการ ทำได้ยากกว่ายารักษาโรคทั่วไป เนื่องจากมีหลายประเด็นที่ต้องอาศัยความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะ ดังนั้น เมื่อเกิดความเจ็บป่วยที่สงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ จึงไม่ควรลองรักษาตัวเองด้วยการซื้อยาปฏิชีวนะมากิน โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะหากเคราะห์ดีความเจ็บป่วยนั้น อาจจะบรรเทาลงได้ ตรงกันข้ามหากโชคร้ายการใช้ยาเพียงครั้งเดียว ก็อาจก่อความเสียหายกับตัวท่านได้มากมาย เช่น โรคลุกลามจนถึงขั้นรุนแรง เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกหลักการ ยังมีผลกระทบต่อสังคมด้วย เช่น การกระตุ้นให้เกิดเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ดื้อยาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคติดเชื้อนั้นในอนาคต เราทุกคนมีส่วนร่วมในการลดปัญหาดื้อยา ด้วยการใช้ยาให้ถูกต้องทั้งขนาดและเวลา ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร หากเราไม่ช่วยกันวันนี้ อนาคตเราไม่มียารักษาเลยก็ได้นะคะ
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
|
|
การกินยาปฏิชีวนะ ต้องกินตามเวลาที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ให้ครบขนาดและกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัด |
|
|
ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะเก็บไว้ใช้เองคราวละมากๆ เนื่องจากการติดเชื้อแต่ละประเภทนั้น จะต้องใช้ยาให้เหมาะกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ ซึ่งในแต่ละครั้งอาจต่างกันไป จึงควรไปพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง ที่สงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อเพื่อจะได้รับยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง |
|
|
เมื่อเกิดอาการที่สงสัยว่าเป็นการแพ้ยาให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรง ควรหยุดใช้ยาทันที แล้วรีบนำยาที่ใช้ขณะนั้นทั้งหมด ไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาหรือเภสัชกร เมื่อทราบว่าแพ้ยาใดแล้ว จะต้องจดจำไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงยาดังกล่าวในการรักษาโรคครั้งต่อๆ ไป |
|
|
ไม่ควรแบ่งยาปฏิชีวนะของตนเอง ให้กับผู้อื่นที่เป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากโรคของผู้อื่น อาจไม่ได้มีสาเหตุจากเชื้อตัวเดียวกับที่ตนเองเป็น |
|
|
ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะที่สงสัยว่าเสื่อมหรือหมดอายุแล้ว สังเกตุได้จากวันหมดอายุซึ่งพิมพ์อยู่บนแผง กล่อง หรือขวดยา หรือลักษณะโดยทั่วไปของยา เช่น เม็ดยาชื้นแฉะ มีสีซีดจาง หรือแตกร้าว เป็นต้น ถ้าเป็นยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง ที่ต้องละลายน้ำก่อนใช้ ควรเก็บยาที่ละลายแล้วไว้ในตู้เย็น และใช้ให้หมดภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เกิน 710 วัน |
|
|
ยาปฏิชีวนะบางอย่างมีข้อควรระวังพิเศษในการใช้ เช่น ทำให้คลื่นไส้อาเจียน มีผลพิษต่อตับหรือไต มีปฏิกิริยาต่อกันกับยาอื่น มีปฏิกิริยากับอาหารบางประเภท เป็นต้น กรณีเช่นนี้ เภสัชกรจะให้คำแนะนำกับผู้ใช้ยาเสมอ ถึงข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้อง |
ภญ. อัมพร อยู่บาง
|