|
|
ประโยชน์ทางการรักษา ยาใช้รักษาอะไร มีประโยชน์อย่างไร |
|
|
จำนวนยาที่ได้ครบตามกำหนดวันนัดครั้งต่อไปหรือไม่ เนื่องจากยาบางตัว หากคุณได้รับไม่ครบหรือขาดยาไป จะทำให้ผลการรักษาด้อยประสิทธิภาพลง อันได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ |
|
|
วิธีการรับประทานยา ครั้งละกี่เม็ด วันละกี่ครั้ง ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ยาไหม กินก่อนหรือหลังอาหาร มีวิธีใช้ยาพิเศษอะไรหรือไม่ |
|
|
หากลืมกินยาจะทำอย่างไร เนื่องจากยาบางตัว เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถกินเพิ่มเป็น 2 เท่าได้ในมื้อต่อไป ยาบางตัว เช่น ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาที่มีช่วงการรักษาแคบมีพิษสูง ห้ามกินเพิ่มเป็น 2 เท่าเด็ดขาด ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปเลย คุณจึงควรสอบถามให้ดี โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาเป็นประจำ การหลงลืมย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน |
|
|
จำเป็นต้องรับประทานยานี้จนหมดหรือไม่ จะหยุดยาได้เมื่อไหร่ หรือต้องใช้ต่อเนื่องจนกว่ายาจะหมด |
|
|
ยาหมดอายุเมื่อไหร่ ยาจะหมดอายุก่อนใช้หมดหรือไม่ หรือจะมีอายุหลังจากเปิดภาชนะบรรจุยาได้นานแค่ไหน |
|
|
วิธีการเก็บรักษายา ต้องเก็บในตู้เย็นหรือไม่ |
|
|
ยานี้ใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
ได้หรือไม่ จะทำให้ผลการรักษาโรคนั้นๆ แย่ลงหรือไม่ |
|
|
ยาที่ได้รับจะมีผลกับยาอื่นๆ ที่รับประทานเป็นประจำอยู่แล้วหรือไม่ รวมทั้งอาหาร เครื่องดื่มต่างๆทั้งที่มี และไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ |
|
|
ยามีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง อาการข้างเคียง คือ อาการไม่พึงประสงค์ ที่เกิดเมื่อใช้ยาในขนาดที่ใช้ในการรักษา
โดยไม่ได้รับประทานเกินขนาด หรือเป็นผลที่เกิดจากการรับประทานยาร่วมกับยาตัวอื่น เช่น อาการง่วงซึมจากการกินยาลดน้ำมูก ซึ่งคุณอาจต้องสังเกต ในขณะที่ใช้ยาตัวนั้นๆ ซึ่งหากเป็นมาก อาจต้องกลับมาแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อทำการปรับลดขนาดยาลง หรือหยุดยา |
|
|
เคยมีประวัติแพ้ยา
ใช่ยาตัวนี้ได้หรือไม่ ประวัติแพ้ยานั้น มีความสำคัญมาก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะแพ้ยาตัวนั้นๆ ไม่เหมือนกับผลข้างเคียงจากยา ที่สามารถเกิดได้กับทุกคน คุณต้องแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งที่รับยา เพราะการแพ้ยาหากเป็นรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ |
|
|
การปรับวิธีใช้ยา ให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน ในกรณีที่มีกิจวัตรประจำวัน วิธีการดำเนินชีวิตที่ผิดจากคนทั่วไป เช่น รับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ ทำงานเป็นกะ ควรปรึกษาเภสัชกรว่า ควรจะปรับเปลี่ยนวิธีใช้ยาอย่างไร ให้เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวันของคุณ |
อย่าเพิ่งท้อแท้ไปนะคะว่า จะจำไม่ได้กับรายละเอียดมากมาย เพียงจำได้ครึ่งหนึ่งของทั้งหมด โดยเฉพาะในเรื่องวิธีการใช้ยา ข้อบ่งใช้ของยา ระยะเวลาในการใช้ยา จำนวนยาที่ได้รับ และการแจ้งประวัติแพ้ยา เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วหละค่ะ ที่จะทำให้คุณได้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ต้องเสียเวลา กลับมาสอบถามที่โรงพยาบาลอีกครั้ง
ข้อมูลที่ท่านควรทราบเมื่อต้องการไปซื้อยาที่ร้านขายยา
เช่นเดียวกับการไปรับยาที่โรงพยาบาลหละค่ะ สำหรับผู้ที่ใช้ยาประจำ รู้จักหน้าตาของยาที่จะไปซื้อดีอยู่แล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไร จะต่างกันก็ตรงกรณีที่มีอาการเจ็บป่วยแล้ว ไปให้ที่ร้านยาจัดให้ คุณควรปฏิบัติดังนี้