โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่เกิดจากเบาหวาน เป็นอาการที่มักจะเกิดกับคนที่เป็นเบาหวานมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยสนใจในการดูแลตัวเองเท่าที่ควร เช่น อาจปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไม่ยอมออกกำลังกาย สูบบุหรี่ หรือปล่อยให้ตัวเองอ้วน เป็นต้น เรามาดูกันดีกว่าว่า โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่เกิดจากเบาหวานมีอะไรบ้าง
โรคแทรกซ้อนที่หลอดเลือดใหญ่
ปกติแล้วอวัยวะต่างๆในร่างกายของเรา จะได้รับสารอาหาร กลูโคส ออกซิเจน จากเลือดที่ไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เมื่อหลอดเลือดตีบ จะทำให้เลือดไหลเวียนช้า และทำให้อวัยวะนั้นๆ เสื่อมเร็วขึ้น การตีบของหลอดเลือดใหญ่ เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากผิดปกติ โดยมากจะเกิดในผู้สูงอายุ แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ถึงแม้จะอายุไม่มากมีความเสี่ยงเช่นกัน ซึ่งอาการหลอดเลือดใหญ่ตีบเนื่องจากเบาหวานนี้ ทำให้เกิดโรคตามมามากมาย เช่น
|
|
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการตีบแข็งที่หลอดเลือดหัวใจ จะทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั่นเอง หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวาย และเสียชีวิตได้ |
|
|
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดอุดตัน จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงมาก ต่อการเป็นอัมพฤกษ์หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีกในอนาคต |
|
|
โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะหลอดเลือดใหญ่ตีบ มักจะมีความดันโลหิตที่สูงมากร่วมด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจทำให้หลอดเลือดสมองแตก เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ |
|
|
โรคหลอดเลือดตีบที่เท้า เมื่อเบาหวานลงเท้า จะทำให้คนเป็นเบาหวานมีอาการปวดน่อง ในบางรายที่มีอาการอุดตันของหลอดเลือดขั้นรุนแรง อาจส่งผลให้ถึงเวลาเป็นแผลที่เท้าแล้วไม่รู้สึก และเกิดแผลติดเชื้อได้ง่ายอีกด้วย |
โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดเล็ก
เมื่อเบาหวานลุกลามไปถึงหลอดเลือดเล็ก ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเราได้เช่นกัน โดยทำให้เกิดโรคต่อไปนี้
|
|
โรคแทรกซ้อนทางตา (Retinopathy) เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกตินั่นเอง ทำให้เกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา ส่งผลให้หลอดเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเซลล์จอรับภาพอุดตัน มีเลือดออกในจอประสาทตา มีการรั่วไหลของน้ำเหลือง ทำให้ประสาทการมองเห็นเสื่อมสภาพ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ตาบอดได้ |
|
|
โรคแทรกซ้อนทางไต มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงไตตีบแข็ง และทำให้ไตกรองของเสียได้ไม่เต็มที่ และเสื่อมสภาพลงในที่สุด อาการไตเสื่อมจากเบาหวานจะไม่แสดงอาการ จนกว่าไตจะเสื่อมสภาพลงไปแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยจึงจะเริ่มมีอาการตัวบวม เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือ ออกจากร่างกายได้ทันกับน้ำและเกลือ ที่เรารับประทานเข้าไป ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และซึมเศร้า เป็นต้น |
โรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท
ระบบประสาทมีความสำคัญ ในการควบคุมระบบเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ การย่อยอาหาร การหายใจ และความรู้สึกนึกคิดของคนเรา เส้นประสาทจึงเปรียบเสมือนวงจรไฟฟ้า ที่หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แล้วมักจะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ในร่างกายตามมา ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานเกิน 25 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายตามมาดังนี้
|
|
เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานปวดตามเส้นประสาทต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่แขนและขา สูญเสียประสาทรับความรู้สึก ซึ่งอาการเหล่านี้ มักเริ่มจากปลายนิ้วเท้า และลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ และผลของอาการชาที่เป็นกับเท้านี่เอง ที่ทำให้กว่าผู้ป่วยเบาหวานจะรู้ว่าเป็นแผล ก็ต่อเมื่อเชื้อลุกลาม จนแผลมีเนื้อตาย เน่า จนอาจต้องตัดขาได้ในบางราย |
|
|
ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา ส่งผลให้หลอดอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เวลากลืนอาหาร รู้สึกติดขัดในคอ เกิดอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนั้นเบาหวาน ยังทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง ส่งผลให้มีอาหารค้างอยู่ในกระเพาะ เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง |
|
|
อันตรายต่อระบบปัสสาวะ เมื่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ของผู้ป่วยเบาหวานเสื่อมลง จะทำให้ความรู้สึกปวดปัสสาวะหายไป ถึงจะมีปัสสาวะเต็มกระเพาะ ก็ไม่รู้สึกปวดถ่าย ทำให้มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ และเกิดอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย |
ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
แม้เบาหวานจะเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคชนิดนี้ มีวิธีป้องกันและดูแล ให้เราสามารถอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข เพียงเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้
|
|
อย่าละเลยการออกลังกายโดยเด็ดขาด เพราะการออกกำลังกาย จะช่วยให้ตับผลิตอินซูลินได้มากขึ้น เพิ่มการสูบฉีดและการไหลเวียนของเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ลดคอเลทเทอรอลในเลือด และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้เป็นไปตามปกติอีกด้วย |
|
|
งดเค็มและอาหารรสจัด เนื่องจากอาหารเค็มและ อาหารรสจัด เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ความดันโลหิตในร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ และทำให้ไตทำงานหนัก ดังนั้น ทางที่ดีควรหันมารับประทานอาหารรสจืดแทน |
|
|
พยายามอย่าให้ร่างกายมีบาดแผล เพราะเวลาที่ผู้ป่วยเบาหวานมีบาดแผลตามร่างกาย แผลจะหายช้ากว่าคนทั่วไป และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าอีกด้วย เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะเกิดบาดแผล |
|
|
งดครียด ความเครียดสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ความดันโลหิตของเราเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ียง ต่อโรคแทรกซ้อนที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นได้ มากขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงความเครียด โดยทำกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ หรือทำงานอดิเรกอื่นๆ |
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 210
|