หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เตือน เบาหวานเล่นงานเด็กและวัยรุ่น
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


จากการสำรวจภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานของเด็กอ้วน ในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ที่อายุระหว่าง 6-18 ปี ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 125 คน พบว่า มีภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าเด็กปกติถึง 60 เปอร์เซ็นต์ มีความดันโลหิตสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มว่าจะอ้วนลงพุงในอนาคตกว่า 36  เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า เด็กกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกายอีกหลายแห่ง เป็นต้นว่า กระดูกและข้อเสื่อม ตับและไตทำงานผิดปกติ เป็นต้น อาจเรียกได้ว่าเบาหวานที่เกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่น อันตรายไม่แพ้ที่เกิดกับผู้ใหญ่

เหตุที่เด็กไทยป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทที่หนึ่ง (ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่ได้) และประเภทที่สอง (ร่างกายสามารถสร้างสารอินซูลินได้บ้าง แต่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ) มาจากหลายปัจจัยดังนี้

 
•
กรรมพันธุ์ ในกรณีของเด็กและวัยรุ่นที่เป็นเบาหวานประเภทที่หนึ่ง พบว่าหากพ่อแม่หรือญาติ มีประวัติเป็นเบาหวาน เป็นโรคอ้วน ลูกที่เกิดมาก็มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันพบมากในเด็กที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ กรรมพันธุ์ไม่ได้มีผลสำคัญมากเท่ากับพฤติกรรมการกิน เพราะหากพ่อแม่ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการควบคุมอาหาร เมื่อมีลูก ลูกก็จะกินตามแม่ ทำให้เป็นเบาหวานได้ง่ายขึ้น
 
•
การกินเกินสมดุล เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เด็กและวัยรุ่นในยุคนี้เป็นเบาหวานมากขึ้น โดยเฉพาะเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสืบเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็ก จากการที่พ่อแม่ไม่ได้ปลูกฝัง ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปล่อยให้กินขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวาน รสเค็ม กินอาหารจังค์ฟู๊ด (ซึ่งได้รับความนิยมมากในยุคนี้) รับประทานแป้งขัดขาว กินนมวัวที่มีส่วนผสมของน้ำตาลปริมาณมาก เป็นต้น การกินโดยไม่ควบคุมปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเป็นโรคอ้วนในที่สุด เมื่อเด็กอ้วน จะทำให้มีไขมันและตะกรันน้ำตาล สะสมอยู่ตามผนังเส้นเลือดในร่างกาย มีความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน และเป็นเบาหวานในที่สุด
 
•
ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม การปล่อยให้เด็กติดเกมส์คอมพิวเตอร์ ติดโทรทัศน์ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุครับที่ทำให้เด็กไม่ออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลให้เด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน มีอาการของโรคเร็วขึ้น เนื่องจากการนั่งอยู่กับที่ หรือทำกิจกรรมเดิมๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้รับประทานอาหารกรุบกรอบมากขึ้น ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกายน้อยลง

แนวทางในการดูแลรักษาเบาหวานในแต่ละวัย

สำหรับเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นเบาหวาน สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขได้ ด้วยการปฎิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้

การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวานที่อายุน้อยกว่า 5 ปี

เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจว่า ตัวเองเจ็บป่วยเป็นเบาหวาน ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องมีความรู้ เรื่องเบาหวานพอสมควร ตลอดจนถึงใส่ใจเป็นพิเศษ เริ่มจาก

 
•
ให้รับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรให้รับประทานนมที่มีความหวานมากเกินไป ควรสอนให้เด็กหัดกินผัก โดยเริ่มจากผักที่มีความหวานก่อน งดขนมกรุบกรอบที่มีรสหวาน รสเค็ม และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน หรือมีน้ำตาลชนิดดูดซึมเร็ว เป็นต้น
 
•
รักษาความสมดุลของอินซูลิน เนื่องจากเด็กในวัยนี้ ยังไม่รู้จักวิธีการดูแลตัวเอง จึงไม่ทราบว่าควรรับประทานอะไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ผู้ปกครองควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยการตรวจปริมาณของน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากปล่อยให้ทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกายหนักเกินไป หรือกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาจทำให้ชักและเสียชีวิตได

การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวานที่อายุ 5-10 ปี

เด็กในวัยนี้ จะเริ่มเข้าใจความผิดปกติของร่างกายตัวเองบ้างแล้ว ผู้ปกครองจึงควรอธิบายให้เด็กเข้าใจ ถึงข้อจำกัดในการรับประทานอาหารบาง ประเภท โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และควรอธิบายให้ครูที่โรงเรียน รับทราบถึงข้อจำกัดในการร่วมกิจกรรมบางอย่าง กับทางโรงเรียน เช่น การแข่งกีฬาที่ใช้แรงมากๆ นอกจากนั้น ผู้ปกครองควรสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเด็ก เช่น สอนว่าการเป็นเบาหวานไม่ใช่เรื่องร้ายแรง และไม่ควรอายเพื่อน  เป็นต้น

การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวานในวัยรุ่น

เนื่องจากคนในวัยนี้ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจมากกว่าวัยอื่นๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง ใจร้อน มีกิจกรรมที่หลากหลาย กินอาหารไม่เป็นเวลา รวมทั้งยังเป็นวัยที่ฮอร์โมนต่างๆ ในร่างการมีการเพิ่มขึ้นและลดลงไม่คงที่ ซึ่งทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากกว่าวัยอื่น ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยการให้คำแนะนำวัยรุ่นที่ป่วยเป็นเบาหวาน ให้รู้จักการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง เพื่อเรียนรู้การปรับอินซูลินของตัวเอง ให้อยู่ในระดับที่พอดีอยู่เสมอ

เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ทั้งนี้ ควรงดอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล คาร์โบไฮเดรต (จำพวกแป้งขัดขาว) ไขมันย่อยยาก และเปลี่ยนมารับประทานผักให้มากขึ้น ทั้งนี้ ควรมีข้อมูลผลของระดับน้ำตาลในเลือด ชนิดของอาหารที่รับประทาน และกิจวัตรประจำวันติดตัวไว้เป็นประจำ เพื่อใช้ในการปรับปริมาณอินซูลินของตัวเอง นอกจากนั้น ควรกำหนดมื้ออาหารให้ชัดเจน เช่น กินอาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มือ และไม่ควรกินจุบกินจิบ เพราะจะยิ่งทำให้อ้วน และมีผลเสียต่อระดับอินซูลินในเลือดตามมาได้

 

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 212

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
เบาหวาน ... น่ารู้
 
รู้ทันเบาหวาน
 
เบาหวานกับโรคแทรกซ้อน : โรคแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน
 
เบาหวานกับโรคแทรกซ้อน : โรคแทรกซ้อนเรี้อรัง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.