เบาหวาน - การใช้ยา |
---|
จะใช้ยาต่อเมื่อการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายไม่ได้ผล ยาที่ใช้มีทั้งยาเม็ด และยาฉีด คือ อินซูลิน ยาเม็ดรับประทาน แบ่งเป็น
ยาเม็ดรับประทานทั้งหมดนี้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์อินซูลินต้องใช้ฉีดเท่านั้น เนื่องจากอินซูลินถูกทำลาย โดยน้ำย่อยในกะเพาะอาหาร ได้มีผู้พยายามค้นคว้าหาวิธีการให้อินซูลินด้วย วิธีอื่นเช่น พ่นทางจมูก และกินทางปาก พบว่าให้ผลไม่ดีนัก และยังอยู่ในขั้นทดลองใช้ อินซูลินมีทั้งที่ได้จากสัตว์ คือ หมู และวัว (pork & beef insulin) และอินซูลินที่มีโครงสร้างเหมือนของคน (Human insulin) ปัจจุบันนิยมใช้อินซูลินที่เหมือนของคนมากกว่า อินซูลินยังแบ่งออกเป็นหลายชนิด ตามระยะเวลาที่ออกฤทธิ์คือ
ความเข้มข้นของอินซูลิน = 100 ยูนิตต่อ 1 มิลลิลิตรบรรจุมาในขวด 10 มิลลิลิตร หรือหลอด 1.5 และ 3 มิลลิลิตร สำหรับใช้ฉีดจากปากกา ควรเก็บอินซูลินไว้ในตู้เย็นนอกช่องแช่แข็ง เนื่องจากอินซูลินมีฤทธิ์อยู่ได้ไม่นาน จึงต้องใช้ฉีดทุกวัน จะฉีดบ้าง หยุดบ้างไม่ได้ ผู้ป่วยบางคนต้องฉีดถึงวันละหลายครั้ง การฉีดอินซูลินอาจใช้กระบอกยาฉีด หรือใช้ฉีดจากปากกา ข้อดีของปากกาคือ ไม่ต้องดูดยาเอง และพกพาได้สะดวก ควรเปลี่ยนที่ฉีดอินซูลินทุกวัน ไม่ควรฉีดซ้ำๆ ที่เดิม จะทำให้การดูดซึมยาไม่ดีเท่าที่ควร และมีปฏิกิริยาที่ผิวหนังได้ หน้าท้อง ต้นแขน หน้าขา และสะโพกเป็นที่สำหรับฉีดอินซูลิน พบว่ายาดูดซึมได้ดีที่สุด ทางหน้าท้อง (และเจ็บน้อยกว่าด้วย) เนื่องจากเบาหวานเป็นโรค ที่รักษาไม่หายขาด จึงต้องมีการพยายามค้นคว้าวิจัยต่อไป เพื่อหาวิธีการและตัวยาใหม่ๆ ที่ดีกว่า รวมทั้งการทดลองปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งคือตับอ่อน และเซลล์ที่สร้างอินซูลินจากตับอ่อน ในอนาคต เราคงมีวิธีรักษาเบาหวาน ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
แพทย์หญิงวนิดา พยัคฆพันธ์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 5 - www.ram-hosp.co.th/books | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |