มะเร็งตับอ่อน |
---|
สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับอ่อน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งตับอ่อนแต่พบว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้
อาการและอาการแสดง อาการของมะเร็งตับอ่อนเมื่อเริ่มเป็นมักไม่มีอาการต่อเมื่อก้อนมะเร็งโตมากขึ้นจะไปกดทับทางเดินน้ำดี ทำให้มีตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ ปวดหลังได้ ซึ่งมักเป็นอาการที่พบได้ในโรคทั่วๆไป ไม่ใช่อาการเฉพาะของมะเร็งตับอ่อน การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและหาระยะของโรค มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่วินิจฉัยโรคได้ยากแต่อย่างไรก็ตามจากการ ซักประวัติ อาการ อาการแสดง และการตรวจร่างกาย ถ้าแพทย์สงสัยว่าเป็นโรค ตับอ่อน มักจะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยการทำอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ดูพยาธิสภาพของตับอ่อน และตับเพราะมะเร็งตับอ่อนกระจายไปตับได้สูง และอาจมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสารที่เรียกว่า ซี อี เอ (CEA) หรือ ซี เอ 19-9 (CA 19-9) ถ้าภาพอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบมีก้อนเนื้อของตับอ่อนแพทย์มักทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออก เพื่อการรักษาและเพื่อนำก้อนเนื้อไปตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา (การตัดชิ้นเนื้อจากตับอ่อนก่อนผ่าตัดเพื่อการพิสูจน์ทางการพยาธิวิทยาก่อนการผ่าตัด มักทำไม่ได้เพราะมีอันตรายค่อนข้างสูง) ว่าใช่มะเร็งตับอ่อนหรือไม่ ก่อนผ่าตัดแพทย์จะมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม ตรวจปัสสาวะ และภาพเอกซเรย์ปอด เพื่อดูสภาพร่างกายผู้ป่วยและดูว่ามีโรคแพร่กระจายไปปอดและตับหรือยัง ระยะของโรคมะเร็งตับอ่อน แบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
การรักษามะเร็งตับอ่อน วิธีการรักษาที่ใช้รักษามะเร็งตับอ่อนมี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัดและรังสีรักษา โดยทั่วๆ ไป เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนแพทย์จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำผ่าตัดได้และกลุ่มที่ทำผ่าตัดไม่ได้ กลุ่มที่ทำผ่าตัดได้ คือ ผู้ป่วยที่โรคยังลุกลามไม่มากและมีสภาพร่างกาย แข็งแรง เมื่อผ่าตัดแล้วแพทย์จะนำก้อนเนื้อไปตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา และถ้ามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ก็จะมีการรักษาเพิ่มเติมโดย เคมีบำบัด หรือรังสีรักษาร่วมด้วย กลุ่มที่ทำผ่าตัดไม่ได้ คือ กลุ่มที่โรคลุกลามมากแล้วแต่ยังแข็งแรงมักให้การรักษา โดยเคมีบำบัด ร่วมกับรังสีรักษาแต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรงการรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ความรุนแรงของมะเร็งตับอ่อน ความรุนแรงของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับหลายปัจจัยที่สำคัญได้แก่
การติดตามผลการรักษา เมื่อให้การรักษาครบแล้ว แพทย์จะนัดตรวจติดตามโรคและดูแลผู้ป่วยต่อสม่ำเสมอ โดยภายใน 1-2 ปี หลังครบการรักษามักนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ในปีที่ 3-5 หลังการรักษามักนัดตรวจทุก 2-3 เดือน และในปีที่ 5ไปแล้วมักนัดตรวจทุก 6-12 เดือน ในการมาตรวจทุกครั้ง ควรนำญาติสายตรงหรือผู้ดูแลมาด้วย เพื่อร่วมพูดคุยปรึกษากับแพทย์โดยตรง และถ้ารับประทานยาอะไรอยู่ หรือมีการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ท่านอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อจะได้ให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |