การให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหาร จัดเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งไม่ควรละเลย นายแพทย์จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ เลขามูลนิธิเพื่อพัฒนาแพทย์ทางเลือกเคยกล่าวไว้ว่า แนวคิดในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบแพทย์ทางเลือกนั้น เกิดจากพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การกระตุ้นให้ร่างกายเกิดสภาวะที่จะรักษาตนเอง (Homeostasis), การดูแลสุขภาพในลักษณะองค์รวม (Holistic Care) และการสร้างสภาวะที่สมดุลให้กับร่างกาย (Balancing Status) รวมทั้งการเอาใจใส่กับการบริโภค ซึ่งสารอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สารอาหารต้องห้ามที่จะเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และสารอาหารที่จะทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อตัวลง
ในปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แนะนำแนวทาง ในการจัดโภชนาการให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายรูปแบบ ทั้งแมคโครไบโอติกส์ (macrobiotic), ชีวจิต, มังสวิรัติ หรืออาหารเจ ซึ่งโดยมากมักจะมีแนวคิดจากหลักการที่ใกล้เคียงกัน โดยคุณหมอจักรกฤษณ์ ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้
|
|
อาหารปลอดสารพิษ ซึ่งบางประเภทนั้นจัดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) รวมทั้งอาหารที่เกิดจากการปนเปื้อนสารพิษอื่นๆ |
|
|
อาหารที่ปลอดสารเคมีและสารปนเปื้อนอื่นๆ |
|
|
อาหารที่มีความสมดุลและเป็นกลาง |
|
|
การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ |
การเกิดโรคทั้งหลายในมนุษย์ปัจจุบันนั้น มีสาเหตุหลักมาจากการที่ร่างกายเกิดการเสียความสมดุล ระหว่างกลไกการทำลายกับกลไกการป้องกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อมขึ้น ดังนั้น โรคความเสื่อม โรคความดัน หัวใจ หลอดเลือด ปวดข้อ และแม้กระทั่งมะเร็ง ล้วนแล้วแต่มาจากการเสียสมดุลของร่างกายทั้งสิ้น โดยมีปัจจัยเสริมจากลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละคนว่ามีความบกพร่องมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม หลักการง่ายๆ ในการดูแลโภชนาการสำหรับผู้ป่วยนั้นจะประกอบด้วย
|
|
เลือกรับประทานอาหารสดที่ปรุงสุกใหม่ๆ |
|
|
หลีกเลี่ยงอาหารที่เกิดจากกระบวนการการผลิตในระบบอุตสาหกรรม เช่น น้ำตาล กาเฟอีน |
|
|
เลือกบริโภคอาหารที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติ |
|
|
เลือกรับประทานอาหารที่มีความสมดุลของรสชาติและส่วนประกอบ |
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีสารอาหารที่คุณหมอจักรกฤษณ์ แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงได้แก่ น้ำตาล, อาหารเป็นสารก่อมะเร็ง, ยาปฏิชีวนะ, ฮอร์โมน, น้ำมันทอด, อาหารจำพวกนมและผลิตภัณฑ์ของนม โดยอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
|
|
มีปริมาณเอนไซม์ที่เพียงพอ |
|
|
วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน |
|
|
อาหารที่ประกอบด้วยสารที่มีส่วนในการทำลายเซลล์มะเร็ง เช่น
สมุนไพร สารสกัดต่างๆ ได้แก่ Arabinoxylan, Beta D
Glucan, Glutathion, Ganoderic acid |
เมื่อกล่าวถึงคุณสมบัติของอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งนั้น ผักผลไม้ดูจะเป็นอาหารที่มีคุณสมบัติดังกล่าวค่อนข้างครบถ้วน เพราะพืชผักผลไม้นั้นจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และสารต้านอนุมูลอิสระ การรับประทานอาหารที่หลากหลายในแต่ละวัน สามารถต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ ดร. พรทิพา พิชา ได้สรุปคุณประโยชน์ของผักและผลไม้ที่มีงานวิจัย ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบำบัดหรือป้องกันโรคมะเร็งดังนี้
ผักและผลไม้ |
ประโยชน์ |
อโวคาโด |
ต้านมะเร็งตับ |
บร็อกโคลี่ |
ลดการเกิดมะเร็งเต้านม |
กะหล่ำปลี |
ป้องกันมะเร็ง |
ต้นกะหล่ำดอก |
ลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกในหนูทดลอง |
แครอท |
ช่วยต้านมะเร็งปอด มะเร็งลำคอ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่มีคำเตือนว่า ไม่ควรรับประทานเป็นสารสกัด เพราะมีรายงานว่า ก่อให้เกิดมะเร็งได้ |
พริก |
ลดการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร |
ผักจำพวกกะหล่ำ |
ช่วยต้านมะเร็งต่อมลูกหมากและอื่นๆ |
มะเดื่อหวาน |
ฆ่าแบคทีเรีย และทำให้เซลล์มะเร็งลดลง |
กระเทียม |
กระเทียมช่วยเพิ่มภูมิต้านทานต่อสู้กับมะเร็ง ทำให้การเจริญเติบโตของมะเร็งที่กระเพาะอาหารช้าลง |
ผลไม้จำพวกส้ม |
ช่วยกวาดล้างสารมะเร็ง และยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม |
องุ่น |
ป้องกันมะเร็ง |
ขิง |
ช่วยป้องกันมะเร็ง |
เห็ด |
เพิ่มภูมิคุ้มกัน และช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง |
เห็ดหลินจือ |
ช่วยต้านมะเร็ง และเป็นยาอายุวัฒนะ |
ถั่ว |
มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และลดการเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก |
ส้ม/มะนาว |
ป้องกันการเกิดมะเร็ง |
มะละกอ |
ยับยั้งการเกิดมะเร็งปากมดลูก |
สาหร่ายทะเล |
ลดการเกิดมะเร็งเต้านม มีสารป้องกันการกระจายของเซลล์มะเร็ง |
ชา |
ต้านมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน |
ถั่วเหลือง |
ลดการเกิดมะเร็งเต้านม และต่อมลูกหมาก |
มะเขือเทศ |
ช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งเต้านม |
ขมิ้นชัน |
ป้องกันมะเร็งลำไส้/ลำไส้ใหญ่ |
|